สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2)
ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการเมล็ดพันธุ์และมาตรฐานพันธุ์อัญชลี ประเสริฐศักดิ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2)
ชื่อเรื่อง (EN): Production Development of Rice Seed Produced by Farmers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการเมล็ดพันธุ์และมาตรฐานพันธุ์อัญชลี ประเสริฐศักดิ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Rice Seed Production
บทคัดย่อ:            สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้ให้การสนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2)” แก่กรมการข้าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่และเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีกระจายสู่เกษตรกรในพื้นที่ และถ่ายทอดสู่เกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ผลจากงานวิจัยจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ในการผลิตข้าวของไทย           จากการดำเนินโครงการในปีที่ 2 สามารถพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกรเชิงบูรณาการ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีกระบวนการผลิตที่ผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรของแต่ละพื้นที่ มีการตรวจรับรองโดยการตรวจประเมินหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และมีการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ มีการประชาสัมพันธ์เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้จากโครงการ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ โดยการดำเนินงานในฤดูที่ 1 ผลผลิตที่ได้จากโครงการ จำนวน 102,528 กิโลกรัม คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรทั้ง 4 จังหวัด มีองค์ประกอบหลักผ่านมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ผลผลิตที่ผ่านมาตรฐานทุกองค์ประกอบ คิดเป็นร้อยละ 51.63 54.75 62.46 และ 100 ของผลผลิตทั้งหมด ที่จังหวัดปทุมธานี สุพรรณบุรี สกลนครและสุรินทร์ ตามลำดับ สำหรับสาเหตุที่ไม่ผ่านมาตรฐานเนื่องจาก มีสิ่งเจือปนสูงเกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สามารถปรับปรุงได้โดยแนะนำให้เกษตรกรทำความสะอาดใหม่ก่อนบรรจุถุง และเพิ่มความเข้มงวดในการทำความสะอาดให้มากขึ้น ผลจากการทำประชาสัมพันธ์แหล่งผลิตตามโครงการ เพื่อเพิ่มโอกาสการจำหน่ายและกระจายเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้จากโครงการ ในฤดูที่ 1 กลุ่มเกษตรกรสามารถกระจายเมล็ดพันธุ์ได้หมดไม่มียอดคงเหลือ ผลผลิตจำนวนนี้ จำหน่ายให้กับเกษตรกรภายในกลุ่มและชุมชนของตนเอง ศูนย์ข้าวชุมชนในบริเวณใกล้เคียง เอกชน และเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อไป จำนวน 39,504 26,288 22,858 และ 13,878 กิโลกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 38.53 25.64 22.29 และ 13.54 ตามลำดับ เกษตรกรผู้ผลิตทุกกลุ่ม ยกเว้นที่ จังหวัดสุรินทร์ มีรายได้จากการผลิตสูงกว่าการจำหน่ายผลผลิตเข้าสู่การแปรรูปตามโครงการรับจำนำของรัฐบาล ที่ตั้งราคารับจำนำข้าวขาวทั่วไป ราคากิโลกรัมละ 15.00 บาท ส่วนข้าวหอมมะลิ ราคากิโลกรัมละ 20 บาท โดยเกษตรกรสามารถจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ในราคา กก.ละ 22.00 บาท สำหรับข้าวขาวทั่วไป และราคากิโลกรัมละ 25.00 บาท สำหรับข้าวหอมมะลิ ในฤดูที่ 2 ได้ผลผลิตข้าวจำหน่ายรวมทุกสถานที่ดำเนินการจำนวน 157,366 กิโลกรัม คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในจังหวัดปทุมธานี สุพรรณบุรี สกลนคร และสุรินทร์ ผ่านมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 100 ของผลผลิตทั้งหมด กลุ่มเกษตรกรสามารถกระจายเมล็ดพันธุ์ได้เกือบหมด รอจำหน่ายบางส่วน เนื่องจากสถานการณ์เมล็ดพันธุ์ไม่ปกติ เกษตรกรสามารถจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ในราคากิโลกรัมละ 18 และ 25 บาท สำหรับข้าวขาวและข้าวหอมมะลิตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าราคาจำหน่ายข้าวทั่วไป กิโลกรัมละ 8.85 และ 16บาท สำหรับข้าวขาว และข้าวหอมมะลิ ตามลำดับ           ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนี้คือ ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ใช้ในชุมชน และจำหน่ายให้ผู้ประกอบการค้าเมล็ดพันธุ์ รวมถึงรูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้และเป็นต้นแบบการดำเนินงานสำหรับพื้นที่อื่นๆ อีกทั้งได้พัฒนาการเรียนรู้ของนักวิจัยรุ่นใหม่
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-09-13
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-12
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2)
กรมการข้าว
12 กันยายน 2557
กรมการข้าว
การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร (ต่อเนื่องปีที่ 2) การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกร การพัฒนารูปแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเกษตรกรเชิงบูรณาการ จังหวัดปทุมธานี การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2) การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2) การพัฒนาศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพและการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมต่อพื้นที่โดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ในภาคเหนือของประเทศไทยงบประมาณ 3 ปี 2,500,000.- บาท (ปีที่ 2) การพัฒนาระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อพึ่งพาตนเองที่ยั่งยืนของจังหวัดน่าน (ปีที่ 2) เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเชิงพาณิชย์ในแปลงเกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก