สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา (เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา)
อรุณา เมืองหมุด - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การศึกษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา (เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา)
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Water Quality in the Chaopraya River
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรุณา เมืองหมุด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): ARUNA MUANGMUD
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา โดยการสำรวจภาคสนาม 12 จุดสำรวจ เก็บตัวอย่างน้ำในเดือนธันวาคม 2550 เดือนมีนาคม เดือนมิถุนายน และเดือนกันยายน 2551 เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ตามจุดสำรวจและเดือนสำรวจ และการวิเคราะห์การจัดกลุ่มด้วยสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงแบบ Normalised Euclidean Distance มีผลการศึกษา ดังนี้คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตามจุดสำรวจมีค่า ดังนี้ อุณหภูมิน้ำมีค่าระหว่าง 28.3-33.0 องศาเซลเซียส ความโปร่งแสงมีค่าระหว่าง 30.0-31.6 เซนติเมตร ความเร็วกระแสน้ำมีค่าระหว่าง 384.0-862.0 รอบต่อนาที ความเค็มของน้ำ 0.1-0.2 ส่วนในพัน ความนำไฟฟ้า 56.24-193.96 ไมโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตร ปริมาณออกซิเจนละลาย 4.6-5.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเป็นกรดเป็นด่าง 8.0-8.1 คาร์บอนไดออกไซด์อิสระ 6.00 – 9.17 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเป็นด่าง 90.92-110.50 มิลลิกรัมต่อลิตร ความกระด้าง 66.67-151.25 มิลลิกรัมต่อลิตร แอมโมเนีย-ไนโตรเจน 0.2744-0.3394 มิลลิกรัมต่อลิตร ไนเตรท-ไนโตรเจน 0.0114 -0.0715 มิลลิกรัมต่อลิตร ออร์โธฟอสเฟต 0.1414-0.0976 มิลลิกรัมต่อลิตร ฟอสเฟตทั้งหมด 0.2199-0.5116 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณสารแขวนลอยทั้งหมด 15.03-19.03 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าสารละลายที่ได้ทั้งหมด 26.78-133.83 มิลลิกรัมต่อลิตร และคลอโรฟิลล์ เอ 8.5641-22.8978 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยระดับความเข้มข้นสูงสุดของสารพิษและคุณภาพน้ำบางประการยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ยินยอมให้มีอยู่ในน้ำโดยไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ผลการวิเคราะห์การจัดกลุ่มด้วยสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงแบบ Normalised Euclidean Distance ดัชนีคุณภาพน้ำที่เป็นตัวแปรที่ทำให้มีความแตกต่างกันระหว่างจุดสำรวจ ในแต่ละช่วงเวลาที่สำรวจ ได้แก่ ความเค็ม ความนำไฟฟ้า ความขุ่นใส ความเป็นด่าง ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์อิสระ และความเป็นกรดเป็นด่าง โดยคุณภาพน้ำในจุดสำรวจที่ 1-10 ไม่แตกต่างกันตลอดการสำรวจ จุดสำรวจที่ 11-12 พบคุณภาพน้ำมีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาสำรวจที่ได้รับอิทธิพลจากมวลน้ำทะเล
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-03-31
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา (เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา)
กรมประมง
31 มีนาคม 2552
กรมประมง
การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในบึงโขงหลง จังหวัดหนองคาย คุณภาพน้ำ องค์ประกอบชนิด และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอน ในแม่น้ำเพชรบุรี การศึกษาสัตว์พื้นท้องน้ำเพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำ บริเวณรอยต่อ แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำแควน้อย และแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในแม่น้ำจันทบุรี โครงการศึกษาอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงที่มีต่อการไหลของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากแม่น้ำถึงอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในแม่น้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาคุณภาพน้ำและแนวทางการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนของเมือง จังหวัดนนทบุรี ความหลากหลายทางชีวภาพกับคุณภาพน้ำ บริเวณรอยต่อแม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำแควน้อย และแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี ความชุกชุมและความหลากหลายของสัตว์หน้าดินในแม่น้ำเจ้าพระยา
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก