สืบค้นงานวิจัย
สร้างและทดสอบ เครื่องผลิตไบโอดีเซลแบบใช้จุลินทรีย์
วิทยากร ฤทธิมนตรี, พิทยา อำพนพนารัตน์, ชวกร มุกสาน, อังคณา ใสเกื้อ, วิทยากร ฤทธิมนตรี, พิทยา อำพนพนารัตน์, ชวกร มุกสาน, อังคณา ใสเกื้อ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ชื่อเรื่อง: สร้างและทดสอบ เครื่องผลิตไบโอดีเซลแบบใช้จุลินทรีย์
ชื่อเรื่อง (EN): Construction and Development Biodiesel Machine : Microorganism Type
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: บทคัดย่อ ราคาพลังงานที่สูงขึ้นและการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม พลังงาน ความกังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันดิบที่ลดลงดึงดูดความสนใจที่จะหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ ที่ได้จากเชื้อเพลิงชีวภาพ.น้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งเป็นส่วนผสมของกรดไขมันพวก methyl esters ที่ทำมาจากไขมันสัตว์หรือน้ำมันพืชได้รับการสนใจอย่างรวดเร็วในการที่จะนำมาทำเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก อย่างไรก็ตามน้ำมันไบโอดีเซลที่ทำมาจากวิธีการดั้งเดิม หรือทำมาจากพืชน้ำมัน หรือไขมันสัตว์ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงได้ ได้เพียงแค่ใช้สำหรับส่วนเล็กๆของระบบขนส่ง ยิ่งไปกว่านั้นราคาที่ดินที่แพง และต้องใช้ที่ดินจำนวนมากในการผลิตเมล็ดพืชน้ำมันหรือราคาที่สูงขึ้นของอาหารสัตว์ ที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล เพราะฉนั้นจึงเป็นความเหมาะสมที่จะใช้จุลินทรีย์ในการผลิตไบโอดีเซล แทนที่การผลิตแบบดั้งเดิม จุลินทรีย์ส่วนใหญ่เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา ยีสต์ สามารถนำมาใช้ในการผลิตไบโอดีเซลได้ การผลิตไบโอดีเซลแบบใช้จุลินทรีย์จึงมีความเหมาะสม มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการผลิตน้ำมันดีเซลจากน้ำมันดิบ การวิจัยครั้งนี้สามารถใช้จุลิทรีย์มาช่วยในการผลิตไบโอดีเซลได้ผลดีพอสมควร ไบโอดีเซลที่ได้มีคุณสมบัติตามที่กระทรวงพลังงานกำหนด และสามารถใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลโดยไม่ทำให้เครื่องยนต์มีปัญหา
บทคัดย่อ (EN): High energy prices, energy and environment security, concerns about petroleum supplies are drawing considerable attention to find a renewable biofuels Biodiesel, a mixture of fatty acid methyl esters (FAMEs) derived from animal fats or vegetable oils, is rapidly moving towards the mainstream as an alternative source of energy. However, biodiesel derived from conventional petrol or from oilseeds or animal fat cannot meet realistic need, and can only be used for a small fraction of existing demand for transport fuels. In addition expensive large acreages for sufficient production of oilseed crops or cost to feed animals are needed for raw oil production. Therefore, oleaginous microorganisms are available for substituting conventional oil in biodiesel production.Most of the oleaginous microorganisms like microalgae, bacillus, fungi and yeast are all available for biodiesel production. Regulation mechanism of oil accumulation in microorganism and approach of making microbial diesel economically competitive with petrodiesel are discussed in this review This research can be used oleaginous microorganisms to produce biodiesel is good enough. The results showed that the biodiesel produced almost had standard properties set by Department of Energy Business, Ministry of Energy except. Biodiesel can be used in diesel engines without any engine problems.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สร้างและทดสอบ เครื่องผลิตไบโอดีเซลแบบใช้จุลินทรีย์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
30 กันยายน 2556
การใช้จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพเพื่อผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันที่สกัดได้จากสาหร่ายขนาดเล็ก การคัดแยกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการผลิตเอ็นไซม์ไลเปสจากกากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันพืช: เพื่อใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพในการผลิตไบโอดีเซล การศึกษาศักยภาพของสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อการผลิตไบโอดีเซล การผลิตน้ำมันจากยีสต์ไขมันสูงโดยใช้กลีเซอรอลดิบจากโรงงานผลิตไบโอดีเซลและศักยภาพในการผลิตเป็นไบโอดีเซล การผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดสำโรง การผลิตไบโอดีเซลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีทางชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน การผลิตไบโอดีเซลจากเมล็ดยางพาราเป็นพลังงานทดแทน และการทดสอบสมรรถนะกับเครื่องยนต์ การผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียโรงงานผลิตไบโอดีเซล การผลิตไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทน : กระบวนการผลิตทางเคมีและชีวภาพ : การควบคุมคุณภาพ : การใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันเมล็ดยางพารา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก