สืบค้นงานวิจัย
การเพิ่มศักยภาพพื้นที่ดินเค็มด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105
นิภาพร ศรีบัณฑิต - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มศักยภาพพื้นที่ดินเค็มด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105
ชื่อเรื่อง (EN): Increasing potential of saline soil with chemical fertilizer, green manureand Bio-fertilizer for rice KDML 105 product
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นิภาพร ศรีบัณฑิต
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ภัทรานิษฐ์ ช่วยสระน้อย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการการเพิ่มศักยภาพพื้นที่ดินเค็มด้วยปุ้ยเคมีร่วมกับปุ้ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิต ข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ดินเค็มโดยการใช้ปุยเคมี ปุยพืช สด และปุยชีวภาพ และเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินจากการใช้ปุ๋ยเคมี ปุยพืชสด และปุ๋ย ชีวภาพ ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเอกสาร ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ จาก หนังสือ วารสาร และเอกสารงานวิจัยต่างๆ ที่เป็นสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในและต่างประเทศ นำ ข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ วิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง และสรุปผล จากการศึกษาพบว่า การผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มโดยการใช้ปุ๋ยเคมี N P K ใน อัตราต่างๆ กัน โดยเฉพาะการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในอัตราที่สูงขึ้น ทำให้การเจริญเติบโตของข้าวและผลผลิต ข้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีโดยแบ่งใส่ 3 ครั้ง มีผลให้ค่าความเค็มของดินต่ำกว่าการใส่ปุ๋ยเคมี ครั้งเดียว โสนอัฟริกันเหมาะสมที่จะใช้เป็นพืชปุยสดในดินเค็ม เพราะช่วยทำให้ผลผลิตของข้าวขาวดอก มะลิ 105 เพิ่มขึ้น และมีแนโน้มทำให้ความเค็มของดินลดลง ส่งผลให้การสะสมธาตุอาหารในดินมี แนวโน้มสูงขึ้น การปลูกเชื้อไรโซเบียมที่เหมาะสมกับโสนส่งผลให้ข้าวมีการเจริญเติบโตเร็ว เพิ่ม ประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจน ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น การใช้เชื้อไรโซเบียมกับโสนอัฟริกันเมื่อสับ กลบลงดินจะทำให้ความเค็มของดินลดลง ค่า P H อยู่ในระดับที่เหมาะสม และยังช่วยเพิ่มประโยชน์ของ ธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสให้แก่ดิน นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ้ยพืชสด หรือปุ๋ยชีวภาพ สำหรับ ปลูกข้าวในดินเค็ม จะช่วยให้สมบัติทางเคมีของดินดีขึ้น ค่ำความเค็มลดลง และได้ผลผลิตสูงอีกด้วย ซึ่ง เกษตรกรสามารถนำข้อมูลที่ได้นี้ไปปรับปรุงพื้นที่ดินเค็มเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ด้วยวิธีการที่เหมาะสมต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพิ่มศักยภาพพื้นที่ดินเค็มด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2557
ผลของปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม การจัดการดินด้วยแกลบร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มมวลชีวภาพพืชปุ๋ยสด และคุณภาพผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในดินเค็มปานกลาง การย่อยสลาย และปลดปล่อยธาตุอาหารของพืชปุ๋ยสดภายใต้สภาพดินร่วนปนทราย อิทธิพลของระดับความเค็มต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดของข้าวขาวดอกมะลิ105 ผลของการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ แกลบ และพืชปุ๋ยสดบางชนิดร่วมกับยิปซั่มต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวในพื้นที่ดินเค็ม การเพิ่มผลผลิตข้าวนาหว่านน้ำตมภายใต้การจัดการปุ๋ยในชุดดินพัทลุง ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาอิทธิพลของดินเค็มต่อการผลิตสารสร้างความหอมในข้าวหอมมะลิ และคุณภาพของข้าวขาวดอกมะลิ 105 การตอบสนองของความหอมและผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในชุดดินบางชุดดินในทุ่งกุลาร้องไห้ การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก