สืบค้นงานวิจัย
ผลของการใช้รำเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ
สว่าง กุลวงษ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้รำเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Job’s tear bran in diets on growth performances in broiler
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สว่าง กุลวงษ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sawang Kullawong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชัยพฤกษ์ หงษ์ลัดดาพร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Chaiyapruek Hongladdaporn
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนะของรำเดือย และผลการใช้รำเดือยในอาหารต่อ สมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ การศึกษาประกอบด้วย 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 เป็นการศึกษาคุณค่า ทางโภชนะของรำเดือย โดยวิเคราะห์โภชนะโดยประมาณ และวิเคราะห์กรดอะมิโน โดยวิธี High performance liquid chromatography (HPLC) พบว่า รำเดือยมีปริมาณโปรตีน และไขมัน 16.72 และ 20.26 % ตามลำดับ ปริมาณกรดอะมิโน พบว่า รำเดือยมีลิวซีนมากที่สุด รองลงมาเป็นไลซีน เท่ากับ 2.25 และ 2.18 % ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของ การใช้รำเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ใช้ไก่เนื้ออายุ 1 วัน จำนวน 20 ตัว แบ่งไก่ออกเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 4 ซ้ำ ๆ ละ 1 ตัว โดยให้อาหารแบบจำกัด และให้น้ำแบบเต็มที่ ไก่เนื้อได้รับอาหารที่มีการใช้รำเดือยในอาหารต่าง กัน 5 ระดับ คือ 0, 5, 10, 15 และ 20 % จัดแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ผลการทดลอง พบว่า อัตราการเจริญเติบโต ของไก่เนื้อที่ได้รับสูตรที่มีการใช้รำเดือย 15, 10 และ 5 และ 0 % มีค่าสูงกว่าสูตรอาหารที่ใช้รำเดือย 20 % มีค่าเท่ากับ 38.25, 36.94, 36.63, 36.59 และ 33.65 กรัม/ตัว/วัน ตามลำดับ (P<0.05) ประสิทธิภาพการใช้อาหาร ของไก่เนื้อที่ได้รับ รำเดือย15, 10, 5 และ 0 % มีค่าดีกว่าสูตรอาหารที่ใช้รำเดือย 20 % มีค่าเท่ากับ 2.09, 2.17, 2.18, 2.19 และ 2.38 ตาม ลำดับ (P <0.05) จากการศึกษาซี้ให้เห็นว่าสามารถใช้รำเดือยในอาหารได้ 15 % ของสูตรอาหาร
บทคัดย่อ (EN): The objectives of experiment were to determine the nutrient composition of Job’s tear bran and the effects of Job’s tear bran in diets on growth performances in broiler chickens. This study consisted of 2 experiments. The first experiment was to study the nutrient composition in the Job’s tear bran. Proximate analysis and amino acid profile (High performance liquid chromatography, HPLC) were used. The result showed that protein and fat contents were 16.72 and 20.26 % respectively. Amino acid content of leucine and lysine were 2.25 and 2.18 % respectively. The second experiments were to study effects of Job’s tear bran in diets on growth performances in broiler. Twenty broilers at 1 day of age were used in this experiment. The completely randomized designed was experimental design which consisted of 5 treatments and each treatment consisted of 4 replications and in each replication contained 1 broiler. Feeding was restricted and water provided ad libitum. The broilers were fed diets containing one of the following Job’s tear bran levels: 0, 5, 10, 15 and 20 %. The chickens fed 15 % Job’s tear bran in diet showed highest value of average daily gain. This was similar to chickens that fed 10, 5 and 0 % of Job’s tear bran in diet and higher than the chickens fed of 20 % Job’s tear bran. The values were 38.25, 36.94, 36.63, 36.59 and 33.65 g/b/d, respectively (P<0.05). In term of feed conversion ratio, the low feed conversion ratio values were found in chickens fed at 15, 0, 5 and 10 % Job’s tear bran which were 2.09, 2.17, 2.18, 2.19 and 2.38 respectively. The high values in the chickens fed 20 % Job’s tear bran in diets (P<0.05). The results of this study indicated that Job’s tear bran at 15 % in broiler diets.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=72P-ANI-059.pdf&id=901&keeptrack=7
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการใช้รำเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของปลายเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ผลของการใช้รำ เดือยทดแทนรำ ข้าวในอาหารต่อสมรรถนะ การเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ผลของการใช้แหล่งโปรตีนจากไส้เดือนป่นต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของไก่เนื้อ ผลของอาหารไก่เนื้อและอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ของไก่พื้นเมืองไทย (ประดู่หางดำ ชั่วรุ่นที่ 5) ผลของอาหารผสมเสร็จหมักจากเศษเหลือสับปะรดต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและการย่อยได้โภชนะในแพะลูกผสม ผลของการเสริมใบพญาวานรในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตในไก่เนื้อ ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ชี ผลของลิวซีนในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และการสะสมไขมันในซาก ศึกษาผลการใช้ข้าวโพดที่มีปริมาณกรดไฟติคต่ำต่อสมรรถนะการผลิตและการย่อยได้ของโภชนะในสุกรและไก่เนื้อ ผลของระดับเมทไธโอนีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ชี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก