สืบค้นงานวิจัย
การประเมินและอนุรักษ์พันธุกรรมยางพารา
กรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: การประเมินและอนุรักษ์พันธุกรรมยางพารา
ชื่อเรื่อง (EN): Collection and Evaluation of Hevea Germplasm
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรรณิการ์ ธีระวัฒนสุข
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การประเมินและอนุรักษ์พันธุกรรมยางพารา เป็นการเก็บรวบรวมพันธุ์ยางทั้งพันธุ์ป่าและพันธุ์ปลูกเพื่อการใช้ประโยชน์ในการขยายฐานพันธุกรรมของโครงการปรับปรุงพันธุ์ยาง ได้ดำเนินการโดยเก็บรวบรวมเชื้อพันธุ์ป่าที่นำเข้าจากแหล่งกำเนิดในประเทศบราซิล พันธุ์ยางทั้งพันธุ์ปลูกในอดีต – ปัจจุบันและสายพันธุ์ยางที่อยู่ในระหว่างการทดลอง นำมาติดตาในแปลงกิ่งตาและปลูกในแปลง โดยในแปลงกิ่งตามีการรวบรวมไว้ในพื้นที่ศูนย์วิจัยยาง 3 แห่ง เป็นพันธุ์ป่าจำนวน 1,687 สายพันธุ์ พันธุ์ปลูกจำนวน 111 พันธุ์และสายพันธุ์ยางลูกผสมของไทยจำนวน 2,901 สายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 5 ต้น และในแปลงปลูกได้ดำเนินการรวบรวมพันธุ์และประเมินลักษณะทางการเกษตร โดยปลูกในแปลงสายพันธุ์ละ 4 – 5 ต้น ที่ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตระนองจำนวน 1,314 สายพันธุ์ ศูนย์วิจัยยางหนองคายจำนวน 230 สายพันธุ์ และเริ่มปลูกในปี พ.ศ. 2546 ที่ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานีจำนวน 711 สายพันธุ์ ซึ่งจากการประเมินลักษณะทางการเกษตรในแปลงปลูก พบว่าพันธุ์ป่าโดยส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำมาก แต่มีบางสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตน้ำยางสูง เช่น MT/C/2 10/59 RO/C/8 24/192 MT/IT/17 27/86 RO/C/9 23/254 ดังนั้นสายพันธุ์ยางที่เก็บรวบรวมเหล่านี้ เมื่อผ่านการประเมินลักษณะต่าง ๆ แล้ว กล่าวได้ว่าบางสายพันธุ์มีศักยภาพในการที่จะนำไปใช้เป็นแม่-พ่อพันธุ์ผสมกับพันธุ์ปลูก เพื่อขยายฐานพันธุกรรมในโครงการปรับปรุงพันธุ์ในอนาคตได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินและอนุรักษ์พันธุกรรมยางพารา
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว การวิจัยเชิงนโยบายการจัดทำคาร์บอนเครดิต และการประเมินความต้องการการใช้น้ำจากการดำเนินการปลูกสร้างสวนยางพารา ระยะที่ 3 ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก 250,000 ไร่ ประเมินผลการดำเนินงานของตลาดกลางยางพารา การวิเคราะห์พันธุกรรมระดับโมเลกุลของยางพารา [Hevea brasiliensis Muell.Arg.] เพื่อประยุกต์ใช้ในการศึกษาอาการเปลือกแห้ง การรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ข้าว พยากรณ์ราคายางพารา โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก