สืบค้นงานวิจัย
การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 2. ไก่เนื้อ
สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์ - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 2. ไก่เนื้อ
ชื่อเรื่อง (EN): UTILIZATION OF FULL FAT SOYBEAN IN POULTRY DIETS 2. BROILER
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Suchon Tangtaweewipat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมัน (Full-fat soybean, FFSB) at soybean, FFSB) แต่นำไปผ่านขบวนการให้ความร้อนแบบต่าง ๆ คือการนึ่งด้วยไอน้ำที่มีแรงดัน 40 ปอนด์ / ตารางนิ้วเป็นเวลา 5, 10 และ 15 นาทีการอบในตู้อบขนมปังที่มีอุณหภูมิภายในตู้ 180 ซ เป็นเวลา 20, 30 และ 40 นาทีหรือการผ่านเครื่องเอ็กซ์ทรุดเปรียบเทียบกับการใช้กากถั่วเหลืองเลี้ยงไก่เนื้อแบบคละเพศพันธุ์เอเอ 707 จำนวน 800 ตัวแบ่งออกโดยสุ่มเป็น 8 กลุ่มกลุ่มละ 4 ซ้ำเพื่อเลี้ยงด้วยอาหารทดลองที่มีส่วนประกอบของ FFSB ชนิดต่าง ๆ ข้างต้นเป็นเวลา 6 สัปดาห์โดยสูตรอาหารแบ่งออกเป็น 3 ระยะให้มีโปรตีนระดับ 21, 19 และ 17% ในช่วงไก่อายุ 1-3, 6 และ 7 สัปดาห์ตามลำดับส่วนค่าพลังงานใช้ประโยชน์และไขมันปล่อยให้เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ FESB ในอาหารผลปรากฏว่าการนึ่งสามารถทำลายสารยับยั้งทริพซิน (Trypsin inhibitor activity, TIA) ได้เกือบหมด (76-92%) โดยเฉพาะเมื่อใช้เวลานึ่ง 15 นาทีจะเหลือ TIA ต่ำมากใกล้เคียงกับ FSB ชนิดเอ็กซ์ทรุดต่างจากวิธีการอบซึ่งยังคงเหลือ TIA เป็นจำนวนมากโดยทำลายไปได้เพียง 13-28% เท่านั้นเมื่อนำไปเลี้ยงไก่เนื้อทำให้สมรรถภาพการผลิตเลวกว่าชนิดนึ่งและเอ็กซ์ทรูดอย่างมีนัยสำคัญ (P <0.05) และยังทำให้ตับอ่อนขยายใหญ่ขึ้นอีกด้วยสำหรับ FFSB ชนิดนึ่งเป็นเวลา 5 นาทีการเจริญเติบโตยังไม่ดีพอ แต่ถ้าเพิ่มเวลานึ่งนานขึ้นเป็น 10-15 นาทีสมรรถภาพการผลิตไม่ต่างจากกลุ่มควบคุมที่ใช้กากถั่วเหลืองและกลุ่มที่ใช้ FSB ชนิดเอ็กซ์ทรุดโดยกลุ่มที่ใช้เอ็กซ์ทรูดจะให้ประสิทธิภาพการใช้อาหารดีที่สุด ซึ่งอาจเนื่องจากกรรมวิธีการผลิตที่ทำให้มีขนาดเม็ดถั่วเล็กละเอียดมาก
บทคัดย่อ (EN): The efficient use as a protein source for poultry of full fat soybean(FFSB) treated under various processes, i. e. steaming under pressure 40lbs/sq. inch for 5, 10 or 15 minutes or roasting in a baking oven at 180째C for 20, 30 or 40 minutes or extruding was compared with that of soybean meal. Eight hundred straight run broiler chicks(AA 707) were randomly allotted into 8 treatments of 4 replicates, fed with rations containing either kind of the above mentioned FFSB for 6 weeks (Wks 1-7). The protein content of the diets for chicks during 1-3, 3-6 and 6-7 weeks of age was 21, 19 and 17% respectively. The result revealed that steaming can destroy 76-92% of the trypsin inhibitor activity(TIA) in soybean, particularly that at 15 minutes, while roasting can get rid of only 13-28% TIA. Chicks fed roasted FFSB had an enlarged pancreas and showed inferior performances to the steaming and the extruding products. Steaming should be at least 10-15 minutes in order to obtain the comparable performances to those of the extrusion or of the soybean meal. The extruded FFSB showed the best feed conversion ratio. This might be due to the very fine particle of the product.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2535
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2536
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/joacmu/article/view/247587/169399
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 2. ไก่เนื้อ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2536
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การใช้เมล็ดถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการสกัดน้ำมันเป็นอาหารสัตว์ปีก 1. นกกระทาไข่ และไก่สาว การใช้ใบถั่วอาหารสัตว์ในอาหารลูกโคนม ผลการถอดถอนพรีมิกซ์ในอาหารต่อสมรรถภาพในการผลิตไก่เนื้อ ผลของการใช้กากสาโทต่อคุณภาพเนื้อของไก่เนื้อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวจากน้ำนมถั่วเหลือง ผลการใข้มันเส้นและถั่วเหลืองทั้งเมล็ดเป็นอาหารสุกรขุน สัดส่วนเศษปลาหมักผงที่เหมาะสมในการทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลืองในอาหารปลานิลแดง การใช้ถั่วเหลืองเพื่อลดต้นทุนในการผลิตเป็ดปักกิ่ง สภาวะที่เหมาะสมของการสกัดน้ำมันออกจากกากผลปาล์มเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ด้วยวิธีพื้นผิวตอบสนอง ประสิทธิภาพการใช้กากถั่วเหลืองที่ผ่านการย่อยด้วยเอนไซม์ (HP AviStart®) ในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถนะการผลิตและคุณภาพซาก เมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งโปรตีนอื่น

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก