สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 5การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชชนิดน้ำควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช obligate parasites กลุ่ม latent infection และสารสกัดพืชชนิดผงกำจัดแมลงศัตรูพืชในดิน
อรุณ โสตถิกุล - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 5การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชชนิดน้ำควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช obligate parasites กลุ่ม latent infection และสารสกัดพืชชนิดผงกำจัดแมลงศัตรูพืชในดิน
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Agricultural Bio-products in order to Reduce Agro-Chemical on highland Plantations Subproject 5Bio-product efficacydevelopment for control chili anthracnose and white grab
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรุณ โสตถิกุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ผลการดำเนินงานทดลองที่ผ่านมาพบว่าสารสกัดจากทองพันชั่งและใบพลูที่สกัดด้วยเอทธานอลให้ผลในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสพริกได้ดีทั้งในห้องปฏิบัติการและในแปลงทดลอง แต่ยังมีประสิทธิภาพไม่ถึง 80% จึงมีการหาพืชอื่นๆ เพิ่มเติมอีก20 ชนิด เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสูตรผสมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พบว่า สารสกัดจาก หางไหล เจตมูลเพลิงแดง ไพล ข่า เสนียด ผักไผ่น้ำ และลำโพง มีการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเท่ากับ 54.58 48.06 43.19 41.11 40.83 40.56 และ 40.00 % เรียงตามลำดับ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้จึงนำพืชเหล่านี้มาพัฒนาเป็นสูตรผสมสองชนิด พบว่า สารผสมระหว่างทองพันชั่งกับหางไหลยังคงสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ 53.98% ดีกว่าสูตรผสมอื่น ทองพันชั่งผสมเจตมูลเพลิงแดง, ทองพันชั่งผสมไพล, ทองพันชั่งผสมใบพลู, ทองพันชั่งผสมว่านน้ำ, ทองพันชั่งผสมข่า, ทองพันชั่งผสมรากหม่อน มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง 50.43 45.97 45.56 40.69 40.00 และ 39.31 เรียงตามลำดับ แต่ประสิทธิภาพยังคงไม่เพิ่มขึ้น จึงมีการปรับใช้สารสกัดมากกว่าสองชนิดขึ้นไปเพิ่มเติมจัดได้สามสูตรพบว่า พบว่า สารสกัดจาก สูตรทองพันชั่งผสมกับใบพลูและหางไหล สูตรสารสกัดไพลผสมใบพลูและทองพันชั่ง และสูตรใบพลูผสมกับไพลและหางไหล สามารถควบคุมเชื้อราได้ 42.62 40.62 และ 38.32% เรียงตามลำดับ ซึ่งให้ผลไม่ถึงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จึงมีการศึกษาผลของสารสกัดที่ทำให้เข้มข้นสูงขึ้น พบว่า ทองพันชั่งยังคงมีประสิทธิภาพมากที่สุด รองลงมาเป็น หางไหล ใบพลูและไพล การทดสอบอายุการเก็บรักษาในปัจจุบันจึงเลือกสารสกัด 3 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 ทองพันชั่งผสมหางไหล สูตรที่ 2 ทองพันชั่งผสมกับไพล สูตรที่ 3 ทองพันชั่งผสมกับใบพลู หลังจากการเก็บไว้ 3 เดือน ยังคงมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราไม่แตกต่างจากเดิม ได้นำสารสกัดจากพืชที่เป็นสูตรผสมสองชนิดไปใช้ควบคุมโรคแอนแทรคโนสในแปลงพริก ได้แก่ 1.ทองพันชั่งผสมกับหางไหล 2.ทองพันชั่งผสมกับไพล 3.ทองพันชั่งผสมกับรากหม่อน 4.ทองพันชั่งผสมกับเจตมูลเพลิงแดง 5.ทองพันชั่งผสมกับใบพลู พบว่า สามารถลดการเกิดโรคแอนแทรคโนสบนผลพริกได้ทุกกรรมวิธีแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากกรรมวิธีควบคุม สำหรับวิธีการสกัดอย่างง่ายโดยใช้น้ำ พบว่า สารสกัดจากทองพันชั่งผสมกับใบพลูและหางไหลสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดีโดยยับยั้งการเจริญของเส้นใยมีค่าเท่ากับ 52.22% ส่วนการควบคุมหนอนด้วงแก้วมีรากหางไหล หนอนตายหยากเป็นพืชที่มีผลในการควบคุมหนอนด้วงแก้วอยู่ในระดับดีในห้องปฏิบัติการแต่ยังต้องพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีในสภาพการใช้ในแปลงโดยนำจุลินทรีย์และพืชชนิดอื่นๆ มาเป็นส่วนผสมและทดสอบเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาเป็นสูตรผงสำเร็จรูปในการใช้ป้องกันกำจัดหนอนด้วงแก้ว พบว่า สารสกัดจากยาสูบมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเข้าทำลายของหนอนด้วงแก้วดีในสภาพแปลง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 5การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชชนิดน้ำควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช obligate parasites กลุ่ม latent infection และสารสกัดพืชชนิดผงกำจัดแมลงศัตรูพืชในดิน
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชชนิดน้ำควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช obligate parasites กลุ่ม latent infection และสารสกัดพืชชนิดผง กำจัดแมลงศัตรูพืชในดิน (ปีที่ 3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชชนิดน้ำควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืชกลุ่ม obligate parasites กลุ่ม latent infection และสารสกัดพืชชนิดผง กำจัดแมลงศัตรูพืชในดิน การรวบรวมข้อมูลโรคพืชและเชื้อราสาเหตุชนิดต่างๆด้วยระบบดิจิตอล ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง วิธีดูแลตนเองจากเพลิงไหม้สารเคมี การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เกษตรและผลิตภัณฑ์สำหรับการปลูกพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 4 การวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์เชื้อราสาเหตุโรคและแมลงสารไล่แมลงเพื่อควบคุมหนอนมลงวันเจาะลำต้ การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญสำหรับจำแนก Species ของ Chaetomium

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก