สืบค้นงานวิจัย
ศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยและจุลินทรีย์โปรไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันของปลานิลในระบบการผลิตปลานิลอินทรีย์
เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: ศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยและจุลินทรีย์โปรไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันของปลานิลในระบบการผลิตปลานิลอินทรีย์
ชื่อเรื่อง (EN): Potential of Thai herbs and probiotics on growth and nonspecific immune response in organic Tilapia culture system
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาการใช้สารสกัดจากพืช มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) หอมแดง (Allium ascalonicum)และ ดอกแค (Sesbania grandiflora) และการใช้ Lactobacillus acidophilus และ ยีสต์ Saccharomyces cerevisiae เสริมในอาหารทดลอง ต่อประสิทธิภาพการเติบโต องค์ประกอบทางเคมีใน เนื้อปลา และภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ในการเลี้ยงปลานิล การทดลองแรก ใช้อาหารทดลอง 4 สูตร ได้แก่ อาหารเสริมวิตามินซี (VC) เป็นอาหารควบคุม, อาหารเสริมด้วยมะขามป้อม (MP), อาหารเสริม ด้วยหอมแดง (HD) และ อาหารเสริมด้วยดอกแค (DK) เลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 53 ก จำนวน 3 ซ้ำ ในกระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วย VC, MP และ HD มี น้ำหนักสุดท้าย, น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น, อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วย DK อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการแลกเนื้อ (FCR) ของปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริม DK และ HD มี ค่าต่ำกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารควบคุม VC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างกับปลาที่ เลี้ยงด้วยอาหารเสริม MP (p>0.05) อัตราการรอดตาย ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในอาหาร ทดลองทุกสูตรกับชุดควบคุม (p>0.05) หลังเสร็จสิ้นการทดลอง พบว่า ปริมาณโปรตีนในเนื้อปลาที่ เลี้ยงด้วยอาหาร HD มีค่าต่ำสุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร สูตรอื่น แต่ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร MP มีปริมาณโปรตีนในเนื้อปลาไม่แตกต่างจากอาหารควบคุม (VC) นอกจากนี้ยังพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร MP มีปริมาณฮีมาโตครีต และปริมาณโปรตีนในซีรัม สูง กว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร DK อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่าง (p>0.05) จากชุดควบคุม (VC) สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อ ปริมาณ ซีรัมไลโซไซม์ ปริมาณเม็ด เลือดแดง และปริมาณเม็ดเลือดขาว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การทดลองที่สอง ใช้อาหาร ทดลอง 4 สูตร ได้แก่ อาหารเสริมวิตามินซี (VC) เป็นอาหารควบคุม, อาหารเสริมด้วย L. acidophilus 0.2% (LB) อาหารที่เสริมด้วยยีสต์ (S. cerevisiae) 0.2% (YS) และอาหารที่เสริมด้วย L. acidophilus 0.2% ผสม ยีสต์ (S. cerevisiae) 0.2% (LY) ตามลำดับ เลี้ยงปลานิลขนาดเริ่มต้นเฉลี่ย 54.4 กรัม จำนวน 3 ซ้ำ ในกระชัง ระยะเวลาทดลอง 90 วัน ผลการทดลองพบว่า ปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร YS และ LY มี น้ำหนักสุดท้ายเพิ่มขึ้น และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร VC และ LB อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการแลกเนื้อ (FCR) และ อัตราการรอดตาย ของปลาที่เลี้ยง ด้วยอาหารทดลองในการทดลองครั้งนี้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) หลังเสร็จสิ้น การทดลอง พบว่า ปริมาณโปรตีนและไขมันในเนื้อปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร LY มีค่าสูงกว่าปลาที่เลี้ยง ด้วยอาหารควบคุม (VC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่แตกต่างจากปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร LB และ YS (p>0.05) และปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหาร YS และ LY มีปริมาณฮีมาโตครีต และปริมาณ โปรตีนในซีรัม สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหาร VC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า สูตรอาหารที่ต่างกันในการทดลองครั้งนี้ไม่ส่งผลต่อปริมาณ ซีรัมไลโซไซม์ ปริมาณเม็ดเลือดแดง และ ปริมาณเม็ดเลือดขาว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการทดลองในครั้งนี้สรุปได้ว่า สามารถใช้ สารสกัดจากมะขามป้อม (MD) เสริมในอาหารทดลองเลี้ยงปลานิลแทนการใช้วิตามินซี และ การใช้ ยีสต์ S. cerevisiae และ การใช้ S. cerevisiae ร่วมกับ L. acidophilus ผสมในอาหารทดลอง ช่วยเสริม ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะในการเลี้ยงปลานิลโดยไม่ส่งผลกระทบต่อ การเจริญเติบโต องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อปลา และภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ
บทคัดย่อ (EN): The effect of plant extracts (Phyllanthus emblica Allium ascalonicum and Sesbania grandiflora) and the effect of Lactobacillus acidophilus and yeast, Saccharomyces cerevisiae on growth performance, carcass composition and non-specific immune of tilapia was investigated. The first trial, tilapia fingerlings (initial weight 53 g) were allocated into triplicate nylon net hapas and were fed one of four treatment diets: diet supplemented with vitamin C (control), diet supplemented with Phyllanthus emblica (MP), diet supplemented with Allium ascalonicum (HD) and diet supplemented with Sesbania grandiflora (DK) for 90 days. The results showed that fish fed diet of MP HD and VC significantly (p<0.05) enhanced growth performance (final weight, weight gain, average daily weight gain – ADG) compared with DK group. There were no significant differences on survival rate among groups fed with different diets. The carcass protein content was significantly (p<0.05) lower in fish fed DK diet. The hematocrit and plasma protein levels were significantly higher (p<0.05) when fish fed with MP than those fed DK. However, serum lysozyme red blood cell and white blood cell levels were not influenced by the treatments. The second trial, tilapia fingerlings (initial weight 54.4 g) were allocated into triplicate nylon net and were fed one of four treatment diets: diet supplemented with vitamin C (control), diet supplemented with Lactobacillus acidophilus 0.2% (LB) Saccharomyces cerevisiae 0.2% (YS) and L. acidophilus 0.2% + S. cerevisiae 0.2% (LY) for 90 days. The results showed that fish fed diet of YS and LY significantly (p<0.05) enhanced growth performance (final weight, weight gain, average daily weight gain – ADG) compared with VC and LB group. There were no significant differences on feed conversion ratio (FCR) and survival rate among groups fed with different diets. The hematocrit and plasma protein levels were significantly higher (p<0.05) when fish fed with YS and LY than those fed control diet (VC). However, serum lysozyme red blood cell and white blood cell levels were not influenced by the treatments. The results presented in the current study demonstrated that Phyllanthus emblica extract can supplement in diet replaced vitamin C and diets supplemented with Saccharomyces cerevisiae 0.2% (YS) and Lactobacillus acidophilus 0.2% + Saccharomyces cerevisiae 0.2% (LY) without adverse effects on growth parameters, non-specific immune response and carcass compositions of tilapia.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-62-01-011.4
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศักยภาพของพืชสมุนไพรไทยและจุลินทรีย์โปรไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและภูมิคุ้มกันของปลานิลในระบบการผลิตปลานิลอินทรีย์
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2562
ผลของจุลินทรีย์โปรไบโอติกส์เฉพาะถิ่นต่อการเจริญเติบโต ระบบการย่อยอาหาร และการยับยั้งโรคติดเชื้อในปลานิล (Nile tilapia: Oreochromis niloticus) ผลของซิงเกิลเซลล์โปรตีนในอาหารปลานิล ผลการเสริมฝุ่นผงน้ำส้มในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิล และปลาดุกลูกผสม การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดกระเทียมเสริมอาหารในการเลี้ยงปลานิลเพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อลักษณะทางสัณฐานบางประการและการเจริญเติบโตของปลานิล ผลของสารสกัดใบมังคุดต่อการผลิตปลานิลเพศผู้ ผลของการใช้กากถั่วเหลืองที่ย่อยด้วยน้ำคั้นจากสับปะรดในสูตรอาหารปลานิลต่อการเจริญเติบโต ความทนทานต่อสภาพเครียด และเชื้อก่อโรค การใช้เทคนิคชีวะวิถีในระบบกรองน้ำของบ่อเลี้ยงปลานิลระบบปิดเพื่อผลผลิตปลานิลในเชิงพาณิชย์ (24 เดือน) ผลของสารสกัดสมุนไพรไทยต่อการยับยั้งเจริญเติบโตของเชื้อ Aromonas hydrophila ผลของการใช้กากถั่วเหลืองหมักต่อการเจริญเติบโตและการรอดตายของปลานิล

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก