สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อย 3: การวิจัยและส่งเสริมการผลิตและการตลาดเฮมพ์ภายใต้ระบบการควบคุม
สริตา ปิ่นมณี - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อย 3: การวิจัยและส่งเสริมการผลิตและการตลาดเฮมพ์ภายใต้ระบบการควบคุม
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development on Cultivation and Processingof Products from Hemp Subproject 3: Research and Extension on Hemp Production and Marketing Control System
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สริตา ปิ่นมณี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนาการปลูกเฮมพ์ในเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้น เนื่องจากด้านกฎหมายนั้นเฮมพ์ยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มพืชเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการสนับสนุนการปลูกเฮมพ์เชิงพาณิชย์ ดังนั้น จึงมุ่งวิจัยและพัฒนาระบบควบคุมการปลูกเฮมพ์ทั้งเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ และเพื่อผลิตต้นสดเชิงพาณิชย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุมต้องมีการขออนุญาตในการผลิต และมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการจัดทำระบบเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายจึงเริ่มตั้งแต่ 1) ระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์เฮมพ์ 4 พันธุ์ ให้มีปริมาณสาร THC น้อยกว่า 0.3% 2) ระบบควบคุมการปลูกเฮมพ์ โดยมีการลงทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกเฮมพ์ แสดงผังแปลงปลูกเฮมพ์ กำหนดการปลูก และการเก็บเกี่ยวเฮมพ์ ซึ่งในระหว่างการปลูก และหลังเก็บเกี่ยวจะมีการตรวจสอบจากสถาบันสำรวจและติดตาม การปลูกพืชเสพติด (ป.ป.ส) เพื่อตรวจสอบการปนของพืชเสพติดชนิดอื่นๆ ส่วนสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่การให้คำแนะนำการทำเอกสารขออนุญาตปลูก เทคโนโลยีการปลูก และจัดทำรายงานการปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว แปรรูปของเกษตรกรต่อ อย. ซึ่งจากการทดลองส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุมเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ในพื้นที่โครงการหลวง 2 สถานี และ 3 ศูนย์ เป็นพื้นที่ 67 ไร่ และการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุมเพื่อผลิตต้นสดเชิงพาณิชย์ ในพื้นที่นำร่อง อ. พบพระ จ.ตาก มีเกษตรกรลงทะเบียนปลูกเฮมพ์จำนวน 36 ราย เป็นพื้นที่ 100 ไร่ ซึ่งการดำเนินงานตามระบบดังกล่าวสามารถดำเนินการได้จริงตามขั้นตอนและแผนการปลูก เก็บเกี่ยวของระบบควบคุม นอกจากนั้นไม่พบพืชเสพติดชนิดอื่นปนในแปลงปลูกเฮมพ์ สำหรับการทดสอบและสาธิตระบบเกษตรยั่งยืนในการปลูกเฮมพ์ พบว่าการปลูกพืชตระกูลถั่วและปุ๋ยคอกและการเขตกรรมที่ดีส่งผลให้มีปริมาณการตายของเฮมพ์น้อยกว่าไม่ปลูกพืชตระกูลทั้งนี้ ผลผลิตของเฮมพ์แต่ละพื้นที่มีการตอบสนองแตกต่างกัน เนื่องจากสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกเฮมพ์ที่มีความแตกต่างกัน ยิ่งถ้าเป็นช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุก (เข้าฤดูมรสุมในช่วงเดือน กรกฎาคม) ส่งผลให้มีการระบาดของโรคโคนเน่า เกิดความเสียหายต่อต้นเฮมพ์และทำให้ผลผลิตเสียหาย ดังนั้นควรมีการวางแผนการปลูกให้ดีและทันต่อช่วงฤดูปลูกที่มีความเหมาะสม การศึกษาและส่งเสริมการผลิตและการตลาดเฮมพ์ภายใต้ระบบการควบคุมเพื่อให้สามารถเพาะปลูกเฮมพ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยการวางแผนกระบวนการผลิต วางแผนจัดเก็บ แปรรูปให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาด สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ได้ดำเนินงานส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุม 2 รูปแบบ คือ (1) ส่งเสริมเพื่อใช้ในครัวเรือน และ (2) ส่งเสริมการปลูกเฮมพ์เชิงพาณิชย์ โดยมีกระบวนการดำเนินงานตั้งแต่ การขออนุญาตผลิต การประเมินศักยภาพการผลิต การประชุมชี้แจง และจัดทำข้อตกลงร่วมกับเกษตรกร และเมื่อเพาะปลูกแล้ว มีการจัดทำพิกัดแปลงปลูกและแผนที่แปลงปลูก ควบคุมและติดตามการเพาะปลูกไม่ให้มีการปลูกพืชเสพติดปนในแปลงเฮมพ์ และก่อนเก็บเกี่ยวมีการเก็บตัวอย่างใบยอดเพื่อตรวจวัดปริมาณสารเสพติด ซึ่งสามารถส่งเสริมการเพาะปลูกเฮมพ์เพื่อใช้ในครัวเรือน 6 พื้นที่ รวมพื้นที่เพาะปลูก 5 ไร่ และส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุมเชิงพาณิชย์ 1 พื้นที่ รวมพื้นที่เพาะปลูก 100 ไร่ จากการวิจัยและทดสอบการปลูกเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุม พบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตเฮมพ์ภายใต้ระบบควบคุมในเชิงพาณิชย์ ได้แก่ พื้นที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งมีพื้นที่ส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ในระบบควบคุมทั้งหมดในปี 2557 พื้นที่เดียว จำนวน 100 ไร่ นอกจากนี้ได้มีการวางแผนการตลาดสำหรับการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์เชิงพาณิชย์ โดยมีเครื่องลอกเปลือกขนาดใหญ่ที่สามารถลอกเปลือกวันละ 4 ตันต่อไร่ เพื่อลดระยะเวลาในการแปรรูปและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งนี้ในปี 2557 สามารถสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรจำนวน 1,302,915 บาท การศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมีในการป้องกันกำจัดเชื้อราบนเปลือกเฮมพ์ พบว่า ketoclonazole และ ไคโตซาน อัตรา 2,4 และ 6 กรัมต่อลิตร ไม่สามารถป้องกันกำจัดเชื้อราบนเปลือกเฮมพ์ได้ ส่วนการใช้คลอรีน ความเข้มข้น 200 และ500 ppm สามารถกำจัดเชื้อราที่อยู่ในเปลือกได้ดีตามลำดับ ซึ่งเส้นใยที่ผ่านการแช่คลอรีน 200 และ 500 ppm เมื่อทิ้งเปลือกไว้เป็นระยะเวลา 10 วัน เปลือกไม่มีการกลับมาเกิดของเชื้อราอีก และการศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดเชื้อราเบื้องต้นโดยใช้แสงยูวี พบว่า การใช้แสงอุลตราไวโอเลต (ยูวี) 5 ชั่วโมงต่อวันและติดต่อกัน 4 วัน สามารถพบการเจริญเติบโตของเชื้อ Fusarium spp. Verticilium spp. และ Acremonium spp. เมื่อส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ การผลิตเส้นด้ายเฮมพ์เชิงพาณิชย์ได้รับความสนใจจากภาคเอกชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเฮมพ์เป็นพืชที่มีศักยภาพสูง สามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ซึ่งจากการหารือร่วมกันกับภาคเอกชน พบว่าสามารถใช้กระบวนการผลิตเส้นด้ายจากพืชชนิดอื่นมาปรับใช้กับการผลิตเส้นด้ายเฮมพ์ได้ โดยได้รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์กระบวนการผลิตเส้นด้ายเฮมพ์เบื้องต้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการทดลองผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อย 3: การวิจัยและส่งเสริมการผลิตและการตลาดเฮมพ์ภายใต้ระบบการควบคุม
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 4: การสร้างเครือข่ายวิจัยและพัฒนาเฮมพ์ โครงวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ ๔: โครงการวิจัยและพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและการตลาดเฮมพ์บนพื้นที่สูงภายใต้ระบบการควบคุม การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 7: การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพจากเฮมพ์ โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 8: การวิจัยและพัฒนาบ้านที่สร้างด้วยส่วนผสมของเฮมพ์ ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 3 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสมของเฮมพ์ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเฮมพ์: โครงการย่อยที่ 6 การวิจัยและทดสอบยืนยันสายพันธุ์ด้วยวิธีชีวโมเลกุลของเฮมพ์ โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนากลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์จากใยเฮมพ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก