สืบค้นงานวิจัย
ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา พื้นที่ภาคเหนือตอนบน
วิลาสลักษณ์ ว่องไว - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา พื้นที่ภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Test on Appropriated Technologies for Rubbers (Hevea brasiliensis) Production in the Upper North
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิลาสลักษณ์ ว่องไว
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนดำเนินการที่ สวนยางของเกษตรกร จังหวัดพะเยา น่าน และเชียงใหม่ ระหว่างปี 2554-2556 เพื่อหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยสำหรับยางพาราทั้งช่วงก่อนเปิดกรีด และหลังเปิดกรีด คัดเลือกพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานวิจัย จังหวัดละ 8 ราย รวม 24 ราย เป็นยางก่อนเปิดกรีด จังหวัดละ 4 ราย หลังเปิดกรีด จังหวัดละ 4 ราย สำรวจสภาพพื้นที่ การปลูกยาง การจัดการปุ๋ยยางพาราของเกษตรกร เก็บตัวอย่างดิน วิเคราะห์สมบัติทางเคมี นำไปประเมินระดับธาตุอาหารและทดสอบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยการผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง อัตราตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง (2554) เปรียบเทียบกับการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร จากผลการดำเนินงานในยางพาราก่อนการเปิดกรีดพื้นที่จังหวัดพะเยา น่าน และเชียงใหม่ พบว่า การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ทำให้ยางมีการเจริญเติบโต วัดจากเส้นรอบลำต้น เพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทดลอง 14.87 เซนติเมตรหรือเฉลี่ย 7.44 เซนติเมตรต่อปี มากกว่าการใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีเกษตรกรร้อยละ 1.8 แต่ลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ ร้อยละ 16.2 หรือไร่ละ 202 บาทต่อปีส่วนยางหลังการเปิดกรีด การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินจะให้ผลผลิตยางสูงกว่าการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกรทั้ง 2 ปีการทดลอง โดยได้ผลผลิตสูงกว่า ร้อยละ 10.1 4.11 และ 4.6 สำหรับจังหวัดพะเยา น่าน และเชียงใหม่ตามลำดับ ทำให้เกษตรกรได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 6.27 รายได้เพิ่มขึ้น 2,060 บาทต่อไร่ ผลผลิตยาง ปี 2555 ส่วนใหญ่ให้ผลผลิตมากกว่าในปี 2554 โดยแปลงปลูกยางพันธุ์ RRIT 251 ให้ผลผลิตสูงสุด 627 กิโลกรัม/ไร่/ปี เมื่อใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เปรียบเทียบกับ 563 กิโลกรัม/ไร่/ปีเมื่อใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร สามารถพัฒนาเป็นแปลงตัวอย่างพะเยามีค่าเฉลี่ยมากกว่า ผลผลิตยางจาก จังหวัดน่าน และ จังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยให้เพียงพอกับความต้องการของพืช โดยทำการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินก่อน พิจารณาใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมกับค่าวิเคราะห์ดินเพื่อทำให้ยางมีการเจริญเติบโตดี ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนด้วย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา พื้นที่ภาคเหนือตอนบน
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสม ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา จังหวัดสกลนคร การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เพื่อเพิ่มผลผลิตและการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตภาคเหนือตอนบน ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน และผักอนามัยของเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตยางพาราในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยโดยวิธีเส้นพรมแดนการผลิตเชิงเฟ้นสุ่ม การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก