สืบค้นงานวิจัย
ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิต โปรตีนและปริมาณสารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลือง
ละอองดาว แสงหล้า - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิต โปรตีนและปริมาณสารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลือง
ชื่อเรื่อง (EN): The correlation of yield, protein, and total isoflavone content in soybean
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ละอองดาว แสงหล้า
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Laongdown Sangla
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ไอโซฟลาโวนในเมล็ดถั่วเหลืองเป็นสารพฤกษเคมีที่มีความสำคัญในการป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหัวใจ อาการ วัยทองผู้สูงอายุ และภาวะโรคกระดูกพรุนในสตรี การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณสารไอโซฟลาโวน และ ความสัมพันธ์กับผลผลิตและโปรตีนของถั่วเหลือง ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เพื่อเพิ่มปริมาณสาร ดังกล่าวและการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองในอนาคต ดำเนินการในฤดูแล้ง และปลายฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2551 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2552 วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ใช้พันธุ์ถั่วเหลือง 5 พันธุ์/สายพันธุ์ คือ MJ9518-2 MJ9520-21 CM9513-3 และพันธุ์มาตรฐาน เชียงใหม่ 60 และ สจ.5 ทำการวิเคราะห์ปริมาณไอโซฟลาโวน รวมโดยวิธี HPLC ผลการทดลองในฤดูแล้ง พบว่า ถั่วเหลืองทั้ง 5 พันธุ์/สายพันธุ์ มีปริมาณไอโซฟลาโวนรวม/ก. เมล็ด และปริมาณไอโซฟลาโวนรวม/ไร่ มีค่า 35.0-43.8 มคก./ก. เมล็ด และ 13.7-18.7 กก./ไร่ ตามลำดับ ส่วนในช่วงปลาย ฤดูฝน มีค่าอยู่ในช่วง 29.5-34.8 มคก./ก. เมล็ด และ 12.0-15.4 กก./ไร่ ตามลำดับ และพบว่า ผลผลิตถั่วเหลืองมีความ สัมพันธ์กับปริมาณไอโซฟลาโวนรวมไร่ และมีแนวโน้มว่าปริมาณโปรตีนมีความสัมพันธ์กับปริมาณไอโซฟลาโวนรวมต่อไร่ แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตถั่วเหลืองกับปริมาณโปรตีนในเมล็ด และระหว่างปริมาณไอโซฟลาโวนรวม/ก.เมล็ด กับปริมาณโปรตีนในเมล็ด
บทคัดย่อ (EN): Soy isoflavones are phytochemical compounds that are important for human health and is being studied intensively in their physiological effects which may help reduce the risk for certain diseases, like cancer, heart disease, menopause, and osteoporosis. The study was aimed to investigate isoflavone content and its correlations with soybean yield and seed protein that can be important for isoflavone enhancement technology and for soybean breeding programs. The experiment was conducted in the dry season and the late rainy season during November 2008 to November 2009. Five soybean cultivars/lines, MJ9518-2, MJ9520-21, CM9513-3, CM 60 and SJ 5, were assigned in a randomized complete block design with four replications. Total isoflavone content was analyzed by high-performance liquid chromatography (HPLC) method. The results illustrated that total isoflavone contents ranged from 35.0-43.8 µg/g of seeds and 13.7-18.7 kg/Rai in the dry season and 29.5-34.8 µg/g of seeds and 12.0-15.4 kg/Rai in the late rainy season. Soybean yield had positive correlation with total isoflavones/Rai. Protein content also had positive correlation with total isoflavones/Rai (only late rainy season). However, soybean yield had no correlation with protein content. This was similar to protein content that had no correlation with total isoflavones/g of seeds.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=212.pdf&id=592&keeptrack=5
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิต โปรตีนและปริมาณสารไอโซฟลาโวนในถั่วเหลือง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2554
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ช่วงเก็บเกี่ยวที่มีผลต่อปริมาณโปรตีนและคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองสายพันธุ์โปรตีนสูง ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์ สารประกอบฟีนอลิก และฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระกับค่าดัชนีความเขียวในผลผลิตของผักเชียงดาภายใต้อัตราปุ๋ยไนโตรเจนที่ต่างกัน สาธิตการใช้น้ำชลประทานที่มีต่อผลผลิตถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ในเขต พื้นที่ของกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทาน เขตโครงการส่งน้ำและบำรุง-รักษาแม่แตง (ปีที่2) ผลของปุ๋ยมูลไก่ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าปักกิ่ง ผลของระดับของการให้นํ้าชลประทานที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของหญ้าหวาน ผลของความเข้มแสงต่อการเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต และปริมาณสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพบางชนิดของกระชายดำ ผลของโปรตีนที่กินได้ต่อศักยภาพในการเจริญเติบโตและความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะในโคเนื้อลูกผสมบราห์มัน การศึกษาสถานภาพการผลิต และความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิต คุณภาพและปริมาณสาร capsaicin ในพริกพันธุ์การค้าในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ความสัมพันธ์ระหว่างค่าสี (L*, a* และ b*) กับปริมาณแอนโทไซยานินในเชื้อพันธุกรรมข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตของถั่วลิสง และข้าวโพดเมื่อปลูกพืชทั้งสองร่วมกัน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก