สืบค้นงานวิจัย
การผลิตกรดแอล(+) แลคติกจากแป้งมันสำปะหลังโดยใช้ราทนความร้อน
ฒาลิศา ยุวอมรพิทักษ์ - มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชื่อเรื่อง: การผลิตกรดแอล(+) แลคติกจากแป้งมันสำปะหลังโดยใช้ราทนความร้อน
ชื่อเรื่อง (EN): Production of L(+) Lactic Acid from Cassava Starch by Thermotolerant Fungi
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ฒาลิศา ยุวอมรพิทักษ์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การคัดแยกราจากดิน 9 ตัวอย่างจากแหล่งต่าง ๆ กันดาเนินการที่สองอุณหภูมิคือที่ 30 และ 35oC สามารถคัดแยกราที่เจริญบนอาหารแป้ง ณ อุณหภูมิทั้งสองจานวนทั้งสิ้น 20 และ 23 สายพันธุ์ตามลาดับ ราส่วนใหญ่ที่แยกได้เป็นราในกลุ่มของ Rhizopus บางส่วนเป็น Aspergillus และ Penicillium คัดเลือกได้รา 2 สายพันธุ์ซึ่งสร้างกรดแลคติกในปริมาณสูงเพื่อศึกษาในหัวข้อต่อไป ได้แก่รา Rhizopus สายพันธุ์ BCTH4 และ LTH23 ซึ่งแยกได้ ณ อุณหภูมิ 30 และ 35 oC ตามลาดับ การศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการผลิตกรดแลคติกด้วยเชื้อราทั้งสองสายพันธุ์ดังกล่าว พบว่าราทั้งสองสายพันธุ์สามารถผลิตกรดแลคติกได้ดีกว่าเมื่ออาหารมีสภาพกรด-ด่าง 9 อุณหภูมิ 40 oC และอาหารแป้งร้อยละ 5 ได้มีการศึกษาผลของแหล่งไนโตรเจนต่อการผลิตกรดแลคติก พบว่าราทั้งสองสายพันธุ์มีการตอบสนองต่อแหล่งไนโตรเจนแตกต่างกัน ราสายพันธุ์ BCTH4 ให้ผลผลิตกรดแลคติกในปริมาณใกล้เคียงกันในอาหารที่มีแอมโมเนียมซัลเฟต 1.5 – 7.5 g/l แต่อาหารที่มียูเรีย 1.5 g/l ให้ผลผลิตกรดแลคติกสูงกว่าอาหารที่มียูเรียสูงกว่านี้ ราสายพันธุ์ LTH23 ให้ผลผลิตกกรดแลคติกสูงกว่าในอาหารที่มีแอมโมเนียมซัลเฟตหรือยูเรียเป็น 1.5 g/l หรือ 7.5 g/l ตามลาดับ ผลการศึกษาการเติมแคลเซียมคาร์บอเนตเพื่อสะเทินกรดแลคติกขณะที่ราสร้างขึ้น พบว่าเติมแคลเซียมคาร์บอเนตในอาหารเข้มข้นร้อยละ 1 ให้ผลผลิตกรดแลคติกสูงที่สุด เปรียบเทียบการผลิตกรดแลคติกในอาหารที่ปรับเป็น pH 9 กับเติมแคลเซียมร้อยละ 1 ในอาหารพบว่าการเติมแคลเซียมคาร์บอเนตให้ผลผลิตกรดแลคติกดีกว่าปรับ pH 9 เล็กน้อย อย่างไรก็ตามผลการเปรียบเทียบการผลิตกรดแลคติกของราทั้งสองสายพันธุ์พบว่ารา LTH23 ให้ผลผลิตกรดแลคติกในปริมาณสูงกว่ารา BCTH4 ประมาณ 10 เท่า การศึกษาผลของอัตราการกวนต่อผลผลิตกรดแลคติกในถังหมักพบว่ารา LTH23 ให้ผลผลิตกรดแลคติกสูงที่สุดเมื่อมีอัตราการกวน 200 รอบ/นาที มีการให้อากาศ 0.5 vvm และควบคุมอุณหภูมิที่ 40 oC ประมาณ 20 g/l ในชั่วโมงที่ 60 ระบบการหมักแบบเฟชแบชเป็นวิธีการหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตก็ได้ถูกนามาใช้ พบว่าระบบเฟชแบชโดยเติมอาหารร้อยละ 25 ในชั่วโมงที่ 10 ของการหมักได้ผลผลิตกรดแลคติกสูงกว่าแบบแบช 3 เท่า การพิสูจน์สายพันธุ์รา LTH23 ด้วยลาดับเบสของ ITS พบว่ามีความเหมือนร้อยละ 99 กับรา Rhizopus microspores (Accession no. JX661044.1) ของฐานข้อมูล GenBank ดังนั้นจึงได้ให้ชื่อรานี้ว่า Rhizopus microspores LTH23
บทคัดย่อ (EN): Various sources of soil samples were screened for lactic acid producing fungi at two different temperature 30 and 35OC. Twenty and twenty three strains of fungi were screened on starch medium at those two temperature respectively. Most of fungi were the genus of Rhizopus some in Aspergilus and Penicillium. Two strains of fungi that produced high lactic acid were selected for further studied. They were Rhizopus strains BCTH4 and LTH23 that were screened at 30 and 35oC respectively. Effect of various parameters on lactic acid production were conducted. It was found that those two strains can produced higher lactic acid at pH 9, at temperature 40oC and 5% starch. Effect of N-sources on lactic acid production were also studied. The results found that those two fungal strains had difference responding. Fungal strain BCTH4 produced the same amount of lactic acid at concentration of NH4(SO4)2 between 1.5 – 7.5 g/l. But lactic acid was higher produced at the medium contained urea 1.5 g/l than the higher concentration. The fungal strain LTH23 higher produced lactic acid in the medium contained NH4(SO4)2 and urea at 1.5 and 7.5 g/l respectively. The result of CaCO3 effect on neutralizing acid during fungal fermentation was found that highest lactic acid was produced at 1% CaCO3 adding adding in the medium. The comparative of pH 9 and 1% CaCO3 adding on lactic acid production was investigated. This results found that slightly higher lactic acid was achieved by adding CaCO3 adding than pH 9 adjustment. However, the comparative of lactic acid production from these two strains fungi found that LTH23 produced higher than BCTH4 around 10 times. The effect of agitation speed on lactic acid production by LTH23 in batch fermentation were studied. The results found that the highest lactic acid 20 g/l was produced at 200 rpm, air flow at 0.5 vvm at 40oC in the time of 60 hours. Fed-batch fermentation system is a method for improving higher production yield was conducted. The result showed that higher lactic acid production by adding 25% fresh medium at 10 hour of fermentation process was around 3 times higher than batch system. Fungal identification by ITS region sequence was proved. It revealed that this fungi 99% similar to Rhizopus microspores (Accession no. JX661044.1) of GenBank data base. Then named it as Rhizopus microspores strain LTH23.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตกรดแอล(+) แลคติกจากแป้งมันสำปะหลังโดยใช้ราทนความร้อน
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
30 กันยายน 2555
การผลิตกรดแอล(+) แลคติกจากแป้งมันสำปะหลังโดยใช้ราทนความร้อน อาหารจากมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตกรดแอล-แลคติกจากกลีเซอรอลของเสียจากการผลิตไบโอดีเซลโดยราทนความร้อน Rhizopus sp. LTH23 ผ่าเหล่าด้วยสารเคมี การใช้แบคทีเรียกรดแลคติกในในการเปลี่ยนรูปเชิงชีวภาพของวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อผลิตกรดแกมมาอะมิโนบิวไทริค การปรับปรุงคุณภาพและยืดอายุการเก็บรักษาปลาช่อนแดดเดียวโดยใช้สารต้านจุลชีพจากกรดอะซิติก กรดซิตริก และกรดแลคติก การใช้ผงแบคทีเรียกรดแลคติกจากหญ้าหมักเป็นสารโพรไบโอติกในการเลี้ยงไก่ การผลิตกรดแลคติกจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อการแข่งขัน (ระยะที่ 2) การผลิตไส้กรอกอีสานเพื่อสุขภาพโดยใช้แบคทีเรียกรดแลคติกสายพันธุ์บริสุทธิ์ที่สามารถผลิตสารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด (กาบา) การใช้แบคทีเรียกรดแลคติกในน้ำมันพืชหมักเป็นเชื้อตั้งต้นในอาหารผสมครบส่วนหมัก การศึกษาและพัฒนาสูตรน้ำหมักชีวภาพจากผลและใบตะลิงปลิงหมักโดยแบคทีเรียกรดแลคติก เพื่อผลิตยางก้อนถ้วย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก