สืบค้นงานวิจัย
ข้าวเจ้า พันธุ์พิษณุโลก 80
อภิชาติ เนินพลับ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ข้าวเจ้า พันธุ์พิษณุโลก 80
ชื่อเรื่อง (EN): Phitsanulok 80
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อภิชาติ เนินพลับ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Apichart Noenplab
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกได้ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวนนาน้ำฝน จนได้ข้าวพันธุ์ พิษณุโลก 80 ซึ่งได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 90 และ IR56 กับ กข27 ตั้งแต่ พ.ศ. 2534 ปลูกและคัดเลือกได้สายพันธุ์ PSL92147-1-2-4 นำเข้าปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ระหว่างสถานี ในนาราษฎร์ ทดสอบผลผลิตในนาเกษตรกร และทดสอบเสถียรภาพของผลผลิต พบว่าข้าวสายพันธุ์นี้ให้ผลผลิตเฉลี่ยในนาราษฎร์ 642 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ กข27 ที่ให้ผลผลิต 589 กิโลกรัมต่อไร่ และขาวตาแห้ง 17 ที่ให้ผลผลิต 488 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็น 9 และ 31 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ข้าวสายพันธุ์นี้มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดี ความแปรปรวนของสภาพแวดล้อมมีผลกระทบต่อผลผลิตน้อย สามารถนำไปปลูกในท้องที่ต่างๆในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางได้ มีการตอบสนองต่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจน ในระดับ 8 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่ ลักษณะเป็นข้าวเจ้า ไวต่อช่วงแสง อายุปานกลาง เก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม ลักษณะทรงกอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย ใบธงตั้งตรง คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ความสูงเฉลี่ย 141 เซนติเมตร คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี คือ มีท้องไข่น้อย เมล็ดข้าวกล้องยาว 7.45 มิลลิเมตร รูปร่างเรียว คุณภาพการสีดีมาก สามารถทำเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้ คุณภาพทางเคมีจัดเป็นข้าวที่มีเปอร์เซ็นต์อมิโลสต่ำ ความคงตัวของแป้งสุกอ่อน อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวที่หุงสุกแล้วอ่อนนุ่ม ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ในจังหวัดพิษณุโลก และค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง
บทคัดย่อ (EN): Phitsanulok Rice Research Center have concentrated the research on improvement of rainfed rice varieties in order to serve the farmers' need. This resulted in a variety called Phitsanulok 80 obtaining from the three-way cross of Supanburi 90/IR56//RD27 since 1991. Characteristic selection was carried out continuously and the promising line, PSL92147-1-2-4, was finally selected. The lines was gone through the steps of intra-station, inter-station, farmers' field yield trial and yield stability. It was found that the line provided an average of 642 kg/rai (4.01 t/ha) in the farmers' field which was 9 percent higher than 589 kg/rai (3.68 t/ha) obtained from RD27 and 31 percent greater than Khao Ta Haeng 17 which yielded 488 kg/rai (3.05 t/ha). It had a high yield stability and could be widely grown in the lower north and the central. The rate of N response was 8 kg N/rai ( 50 kg/ha). It is a non-glutinous, photoperiod sensitive, medium maturity that is ideal to be harvested approximately in early December. The plant type and flag leaf are erect with strong stem, long neck and compact panicle. The height is 141 cm on average. It has low chalkiness. The brown rice has a slender shape with 7.45 mm long. It has an excellent milling quality, low amylose, low gel consistency with low gel temperature, therefore resulted in a soft cooked rice. There are a few disadvantages i.e. susceptible to Brown Planthopper, moderately susceptible to blast and bacterial blight.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2534
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
เอกสารแนบ: https://agkb.lib.ku.ac.th/rd/search_detail/result/155773
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Summaries only
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ข้าวเจ้า พันธุ์พิษณุโลก 80
กรมการข้าว
2550
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
การแสดงออกของพันธุ์และสายพันธุ์ถั่วฝักยาวในการปลูกแบบอินทรีย์และแบบใช้สารเคมี โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝนในภาคใต้: การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นเมืองให้บริสุทธิ์ การเพิ่มระดับความต้านทานต่อโรคไหม้ในพันธุ์ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 โดยใช้โมเลกุลเครื่องหมาย พันธุ์ข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง "ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1" การคัดเลือกและการศึกษาพันธุ์ขั้นต้นของสายพันธุ์ข้าวที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ข้าว กข15 ขาวดอกมะลิ 105 และสังข์หยดพัทลุงที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นสูง/ต้นเตี้ย ข้าวเจ้า/ข้าวเหนียว พันธุ์ข้าวเจ้าชัยนาท 1 พันธุ์ข้าวรับรองพันธุ์ใหม่ ความสามารถในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่สัมพันธ์ กับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวาน การคัดพันธุ์ปลานิลสายพันธุ์ “GIFT” การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวสายพันธุ์แม่โจ้ 2 จากข้าวเจ้าพันธุ์ปทุมธานี 1 ด้วยวิธีผสมกลับ เเละใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก การปรับปรุงเนื้อสัมผัสหลังการหุงต้มของข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 และ พันธุ์พิษณุโลก 2 ให้ใกล้เคียงข้าวขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก