สืบค้นงานวิจัย
ผลของอายุการตัดที่มีต่อส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าไนล์
อุดร ศรีแสง - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: ผลของอายุการตัดที่มีต่อส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าไนล์
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of cutting intervals on chemical composition of nile grass (Acroceras Macrum)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุดร ศรีแสง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Udorn Srisaeng
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาผลของอายุการตัดที่มีต่อส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าไนล์ (Acroceras macrum) ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ชัยนาท อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ระหว่างปี 2550 - 2551 วางแผ่นการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) มี 4 ซ้ำ สิ่งทดลองคืออายุการตัดหญ้าทุกๆ 30 45 60 และ 90 วัน ผลการทดลอง พบว่า การเพิ่มอายุการตัดของหญ้าไนส์ทำให้ค่าโปรตีนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) โดยลดลงจาก 16.33 เป็น 15.28 13.47 และ 11.25 เปอร์เซ็นต์ เมื่อตัดหญ้าทุกๆ 30 45 60 และ 90 วัน ตามลำดับ การตัดหญ้าทุกๆ 30 วัน จะมีปริมาณเยื่อใย ADF และ NDF ต่ำสุด คือ 36.27 และ 64.45 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่า (P< 0.05) การตัดทุก 45 60 และ 90 วัน ซึ่งปริมาณเยื่อใยทั้ง 2 ชนิดไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือมีค่า ADF และ NDF อยู่ในช่วง 38.64 - 39.50 และ 67 . 12 - 69.19 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ปริมาณไนเตรทและไนไตรท์พบในระดับที่ไม่เป็นพิษกับโค-กระบือ ความสูงของต้นหญ้าจะเพิ่มขึ้นตามการขยายอายุการตัด เท่ากับ 41 63 94 และ 120 เซนติเมตร เมื่อตัดทุกๆ 30 45 60 และ 90 วัน ตามลำดับ (p<0.05) จำนวนแขนงต่อพื้นที่สูงสุดเมื่อตัดที่อายุ 60 วัน เท่ากับ 245 แขนงต่อตารางเมตร
บทคัดย่อ (EN): The effect of cutting intervals on chemical composition of nile grass (Acroceras macrum) was studied. The study was carried out at Chainat Animal Nutrition Research and Development Center during 2007–2008. The experimental design was randomized complete block design with 4 replications. Treatments consisted of 4 cutting intervals i.e. 30 45 60 and 90 days, respectively. The results showed that increasing cutting intervals resulting in reduce protein content from 16.33 % at 30 days cutting interval to 15.28 13.47 and 11.25 % at 45 60 and 90 days cutting intervals, respectively. The lowest ADF and NDF contents, 36.27 and 64.45%, were found in the grass cutting at 30 days while the grass cutting at 45 60 and 75 day were higher and not significant different, ranging from 38.64 to 39.50 and 67.12 to 69.19 %, respectively. The nitrate-nitrogen and nitrite-nitrogen contents found in nile grass at each cutting intervals were in the non-toxic level to cattle. The average height of nile grass was increased as cutting intervals extended, i. e. from 41 cm to 63 94 and 120 cm. when cutting intervals was increased from 30 days to 45 60 and 90 days, respectively. The highest tiller number, 245 tillers per square meter, was found in the grass cutting every 60 days.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: สำนักพัฒนาอาหารสัตว์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของอายุการตัดที่มีต่อส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าไนล์
อุดร ศรีแสง
กรมปศุสัตว์
2556
เอกสารแนบ 1
กรมปศุสัตว์
โครงการวิจัย อิทธิพลของระยะปลูกและอายุการตัดที่มีต่อผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าอาลาฟัล (วิจัยประยุกต์) (สาขาเกษตรศาสตร์กลุ่มวิชาสัตวศาสตร์) ต.ค.53-ก.ย.54 ผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้า Andropogon gayanus CIAT 621 * เมื่อได้รับการตัดช่วงระยะเวลาต่างกัน ผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าสกุล Brachiaria spp. 6 ชนิด ผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าสกุล Brachiaria spp. ในพื้นที่ต่าง ๆ(2) การทดสอบผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าสกุล Brachiaria spp. 6 ชนิด ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าแห้งโดยใช้หญ้าไคโรปลูกผสมถั่วลายในอัตราต่างๆ กัน การเปรียบเทียบส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าเจ้าชู้ต้นใหญ่และหญ้ามอริชัสในสภาพดินชุดบ้านทอน อิทธิพลของการตัดที่มีต่อผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าเนเปียร์ 3 สายพันธุ์ อิทธิพลของปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่มีต่อผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้ารูซี่ การทดสอบผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้าสกุล Brachiaria spp.ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ระยะปลูกและความถี่ของการตัดต่อผลผลิตและส่วนประกอบทางเคมีของหญ้ากินนีสีม่วงในชุดดินบ้านทอน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก