สืบค้นงานวิจัย
การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มผลผลิตของพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ไพบูลย์ รัตนประทีป - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มผลผลิตของพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่อง (EN): Green Manures for Soil Fertility and Crop Yield Improvement in Northeast Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไพบูลย์ รัตนประทีป
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Paiboon Ratnapradipa
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาการใช้ปุ๋ยพืชสดเพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มผลผลิตของพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 4 การทดลอง ซึ่งมีลักษณะการวิจัยดังนี้ การทดลองที่ 1 เป็นการเปรียบเทียบผลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่มีต่อผลผลิตข้าวโพด การทดลองนี้ได้ทำซ้ำในที่เดิมเป็นเวลา 5 ปี ติดต่อกัน พบว่าปุ๋ย อินทรีย์ต่างๆ ที่ใช้ ได้แก่ ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยคอก ช่วยให้ผลผลิตข้าวโพดสูงกว่าแปลงที่ไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 50, 23, 23 และ 25% ตามลำดับ และปุ๋ยพืชสดให้ผลดีที่สุดในระหว่างปุ๋ยอินทรีย์ทุกชนิด การทดลองที่ 2 เป็นการนำผลจากการทดลองแรกมาศึกษาต่อ เนื่องจากผลวิจัยที่ผ่านมา 3 ปี มีแนวโน้มว่าปุ๋ยพืชสดช่วยให้ผลผลิตของข้าวโพดเพิ่มขึ้นสูงกว่าเมื่อใช่ปุ๋ยคอยและปุ๋ยหมัก ดังนั้น จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบผลของปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยเคมีที่มีต่อผลผลิตข้าวโพด พบว่าแปลงที่ใช้ปุ๋ยพืชสดใฟ้ผลผลิตข้าวโพดสูงกว่าแปลงเปรียบเทียบ 25-43% และชนิดของพืชปุ๋ยสด ซึ่งได้แก่ ถั่วพุ่ม ปอเทือง และโสน ไม่ทำให้ผลผลิตข้าวโพดแตกต่างกัน และน้ำหนักสดของปุ๋ยพืชสดก่อนไถกลบจะมีอิทธิพลต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวโพด การทดลองที่ 3 เป็นการนำเอาผลของการทดลองที่ 2 มาศึกษากับพืชหลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวคือ การนำเอาปอเทืองและถั่วพุ่มซึ่งให้น้ำหนักก่อนการไถกลบสูงมาเป็นปุ๋ยพืชสด ในการปลูกมันสำปะหลัง พบว่า ทั้งถั่วพุ่มและปอเทืองมีแนวโน้มในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังสูงกว่าแปลงเปรียบเทียบ และระหว่างปอเทืองและถั่วพุ่มไม่มีผลทำให้ผลผลิตของมันสำปะหลังแตกต่างกัน ส่วนการศึกษาสุดท้ายได้แก่การทดสอบการใช้ปุ๋ยพืชสดในนาข้าว โดยเลือกใช้โสนอัฟริกันเป็นพืชปุ๋ยสด พบว่า ปุ๋ยพืชสดทำให้ผลผลิตของข้าวสูงกว่าแปลงเปรียบเทียบ และการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กก./ไร่ ให้ผลผลิตข้าวใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยพืชสดอย่างเดียว และการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับ การใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กก./ไร่ มีผลผลิตข้าวสูงสุด แต่มีบางท้องที่การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 12.5 กก./ไร่ สามารถเพิ่มผลผลิตของข้าวใกล้เคียงกับการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กก.ไร่
บทคัดย่อ (EN): Four studies were undertaken to compare and examine the use of green manure crops, organic and chemical fertilizers, on crop yield in Northeast Thailand. In the first study undertaken over five years, the effects on corn yield of four treatments were compared (untreated control, farmyard manure, compost, and Crotalaria juncea as a green manure crop) in combination with N:P:K chemical fertilizer at rates ranging from zero to 625 kg/ha. In each year of the study the organic fertilizer treatments and green manure improved corn yields by between 24 to 74 percent; among these treatments the yield from the C. juncea incorporated plots was generally better than from the other two treatments. The response to the N:P:K levels varied with type of organic fertilizer treatment. A second study compared the effectiveness of four green manure crops over two years. The green manure treatments were C. juncea, Canavalia gladiata, Vigna sinensis and Sesbania rostrata. The relative response as measured in terms of improved maize yield was generally closely related to the biomass of the respective green manure crops when incorporated. A third study compared the effects of V. sinensis and C. juncea as green manure crops, when cassava was the cash crop grown. The comparison also included a comparison of N:P:K at rates varying from zero to 625 kg/ha. Cassava tuber yields did not differ significantly between the use of the green manure crops and the use of inorganic fertilizer. Increasing levels of fertilizer application did not result in further increases in tuber yield. In the fourth and final study, the use of S. rostrata for improving rice yields was examined and compared with and without combinations of N:P:K fertilizer. Highest rice yields were obtained with the combination of green manure and chemical fertilizer. The use of S. rostrata alone resulted in an improvement in rice yield the equivalent of the application of 156 kg/ha of 16:16:8 compound fertilizer.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2531
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2531
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ปุ๋ยพืชสดปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มผลผลิตของพืชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมวิชาการเกษตร
2531
เอกสารแนบ 1
การใช้ปุ๋ยเคมี มูลสัตว์ และโสนแอฟริกันเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ธาตุอาหารรองและสารปรับปรุงดินแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสด ในดินชุดสตึก ศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ธาตุอาหารรองและสารปรับปรุงดินแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสดในชุดดินโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ศึกษาการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ธาตุอาหารรองและสารปรับปรุงดินแบบบูรณาการ เพื่อเพิ่มผลผลิตหม่อนผลสดในชุดดินโคราช (มุกดาหาร) การเพิ่มผลผลิตหญ้ามอริชัสโดยการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตในดินชุดบ้านทอน ศึกษาการใช้หินปูนฝุ่น ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์แบบบูรณาการเพื่อเพิ่มผลผลิต หม่อนผลสด ในดินเปรี้ยวจัดชุดดินระแงะ จังหวัดนราธิวาส การย่อยสลาย และปลดปล่อยธาตุอาหารของพืชปุ๋ยสดภายใต้สภาพดินร่วนปนทราย การศึกษาวิจัยการจัดการเพิ่มผลผลิตพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม ตำบลเขาชะงุ้ม(2)การตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมของพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่ดินเสื่อมโทรม การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินพื้นที่ทุ่งหมาหิวจังหวัดอุบลราชธานี การทดลองปุ๋ยยูเรียแคลเซี่ยมไนเตรทในการเพิ่มผลผลิตของข้าวไร่และข้าวสาลีและผลที่มีต่อคุณสมบัติทางเคมีของดิน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก