สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาโครงสร้างการผลิตและวิถีการตลาดยางพาราไทย
อัญญาณี มั่นคง - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาโครงสร้างการผลิตและวิถีการตลาดยางพาราไทย
ชื่อเรื่อง (EN): The Structure of Rubber Production and Marketing Channels
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัญญาณี มั่นคง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงสร้างการผลิตและวิถีการตลาดยางพาราไทย เป็นการศึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูลด้านปริมาณผลผลิตยางเบื้องต้นของเกษตรกร และรวบรวมข้อมูลช่องทางการขายยางของเกษตรกร ในแต่ละพื้นที่ของประเทศ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการสำรวจ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ และร้อยละ ผลการสำรวจพบว่า ชนิดผลผลิตเบื้องต้นที่เกษตรกรผลิตมี 3 ชนิดหลัก คือ ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย และน้ำยางสด ในสัดส่วนร้อยละ 56.77 29.23 และ 14.00 ตามลำดับ โดยแต่ละพื้นที่มีรูปแบบผลผลิตแตกต่างกันโดยในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนปริมาณผลผลิตส่วนใหญ่อยู่ในรูปยางยางก้อน ร้อยละ 97.11 และ 64.33 ตามลำดับ ที่เหลือเป็นผลผลิตในรูปยางแผ่นดิบ โดยในพื้นที่ภาคเหนือผลผลิตส่วนใหญ่ยังขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนผลผลิตส่วนใหญ่จะขายเข้าตลาด/ลานประมูล และสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีโครงสร้างการผลิตและวิถีการตลาดยางใกล้เคียงกัน คือ ส่วนใหญ่ผลิตเป็นยางแผ่นดิบ ที่ร้อยละ 76.86 82.51 และ 77.24 ตามลำดับ ที่เหลือเป็นยางก้อนถ้วยและน้ำยางสด แต่ปริมาณผลผลิตส่วนใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกจะถูกขายผ่านสหกรณ์/กลุ่ส่วนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนจะถูกขายผ่านพ่อค้าคนกลางเป็นส่วนใหญ่ ในพื้นที่ภาคใต้ตอนกลางปริมาณผลผลิตส่วนใหญ่ที่เกษตรกรขายคือน้ำยางสด รองลงมาเป็นยางก้อนถ้วย และยางแผ่นดิบ ที่ร้อยละ 42.39 35.72 และ 21.89 ตามลำดับ ช่องทางการขายส่วนใหญ่เป็นการขายผ่านพ่อค้าคนกลาง และในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ผลผลิตส่วนใหญ่อยู่ในรูปร้อยละ 56.71 แต่ก็มีสัดส่วนการผลิตน้ำยางสดสูงถึงร้อยละ 41.33 มีเพียงร้อยละ 1.96 ที่ผลิตเป็นยางก้อนถ้วย และในการขายส่วนใหญ่จะขายผ่านตลาดกลางหน่วยงานรัฐ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาโครงสร้างการผลิตและวิถีการตลาดยางพาราไทย
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การผลิตและการตลาดน้ำผึ้งในจังหวัดขอนแก่น การผลิต การตลาด และความต้องการใช้ดาหลาในพื้นที่ภาคใต้ การผลิตและการตลาดไข่ไก่ในประเทศไทย การผลิตและการตลาดข้าวสังข์หยดของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง ศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการผลิตและการตลาดกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออก การเปรียบเทียบการผลิตและการตลาดยางพารา ระหว่างจังหวัดขอนแก่นกับจังหวัดหนองคาย ปี 2549 โครงการศักยภาพการผลิต การตลาดและขีดความสามารถในการแข่งขันของยางพาราในเวียดนามและไทย โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก