สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาเทคนิคเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสนิปในยีนตัวแทนลักษณะการเจริญเติบโตสำหรับกุ้งกุลาดำที่ทำการปรับปรุงพันธุ์
บวรลักษณ์ คำน้ำทอง - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเทคนิคเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสนิปในยีนตัวแทนลักษณะการเจริญเติบโตสำหรับกุ้งกุลาดำที่ทำการปรับปรุงพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Development of the detection techniques for examining association between SNPs of representative growth-related genes of genetically improved giant tiger shrimp Penaeus monodon
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: บวรลักษณ์ คำน้ำทอง
คำสำคัญ: ไมโครแซทเทไลต์ สนิป การเติบโต กุ้งกุลาดำ
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: กุ้งกุลาดำเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย การคัดเลือกเพื่อการผสมพันธุ์เพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตของสัตว์เศรษฐกิจชนิดนี้มีความสำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเครื่องหมายพันธุกรรมที่สามารถนำมาใช้คัดเลือกสัตว์ระยะวัยรุ่นหรือพ่อแม่พันธุ์ที่มีอัตราการเติบโตเร็วจึงมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ<br />สนิปเป็นการเปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์หนึ่งนิวคลีโอไทด์บนดีเอ็นเอตำแหน่งเดียวกันของสิ่งมีชีวิตแต่ละตัว ซึ่งอาจเกิดจากการแทนที่ การเติม หรือการขาดหายไปของนิวคลีโอไทด์ สนิปที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกับลักษณะภายนอกที่มีความสำคัญเชิงพาณิชย์ เช่น การเติบโตและความต้านทานโรค เป็นต้น ซึ่งสนิปเป็นแนวทางหนึ่งที่ใช้ค้นหาจีนที่ถ่ายทอดลักษณะภายนอกที่สำคัญของสัตว์ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ<br />ในงานวิจัยก่อนหน้านี้ได้ทำการสืบค้นจีนที่สร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเติบโต เช่น calcitonin gene-related peptide-receptor component protein-like (PmCGRP-RCP) และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับวัฎจักรของเซลล์ เช่น cyclin C (PmCyC) และ cell division cycle 25 (PmCdc25) โดยการวิเคราะห์อีเอสที ทำการประเมินภาวะพหุสัณฐานของจีนต่างๆที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเติบโต ในกลุ่มตัวอย่างกุ้งกุลาดำวัยรุ่นอายุ 3 เดือนจากฟาร์ม และ กุ้งกุลาดำวัยรุ่นอายุ 3 เดือนที่เป็น half-sibs จากโครงการคัดพันธ์ ซึ่งพบความสัมพันธ์เบื้องต้นระหว่างสนิปของจีนต่างๆ กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเติบโต (น้ำหนักตัวเฉลี่ย และ/หรือ ความยาวลำตัวเฉลี่ย) ของกุ้งกุลาดำ หลังจากนั้นได้การเพาะพันธุ์กุ้งจำนวน 5 ครอบครัว (Dam3, Dam48, Dam58, Dam103 และ Dam111) จากกุ้งกุลาดำที่ทำการคัดพันธุ์รุ่นที่ 5 และทำการประเมินยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างสนิปของจีนต่างๆ เช่น PmCGRP-RCP, PmCyC และ PmCdc25 กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเติบโต (น้ำหนักตัวเฉลี่ย และ/หรือ ความยาวลำตัวเฉลี่ย) ของกุ้งกุลาดำอายุ 3 เดือน ซึ่งพบว่ากุ้งวัยรุ่นที่มีสนิปต่างกันมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตที่ต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่ากุ้งวัยรุ่นที่มีสนิปต่างกันมีแนวโน้มที่มีการแสดงออกของจีนดังกล่าวที่แตกต่างกัน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสนิปและการแสดงออกของจีนดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เนื่องจากค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานของตัวอย่างแต่ละกลุ่มมีค่าสูง อย่างไรก็ดีพบว่ากุ้งกุลาดำที่มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยในกลุ่มขนาดใหญ่ มีการแสดงออกของจีน PmCGRP-RCP, PmCyC และ PmCdc25 ในตับที่แตกต่างจากกุ้งกุลาดำที่มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยในกลุ่มขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<br />ในงานวิจัยนี้จะทำการพัฒนาการตรวจวิเคราะห์ไมโครแซทเทไลต์ในลักษณะ multiplex PCR สำหรับการตรวจจีโนไทป์ของครอบครัวอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้จะทำการวิเคราะห์ยืนยันสนิปของจีน PmCGRP-RCP, PmCyC และ PmCdc25ที่แสดงความสัมพันธ์กับการเติบโตของตัวอย่างกุ้งกุลาดำคัดพันธุ์รุ่นที่ 5 จำนวน 5 ครอบครัว โดยทำการวิเคราะห์ในตัวอย่างกุ้งรุ่นที่ 7 จำนวน 22 ครอบครัว นอกจากนี้จะทำการพัฒนาการตรวจสอบสนิปจาก PCR-cloning sequencng มาเป็นวิธี polymerase chain reaction-restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP) และ/หรือ bi-directional PCR allele-specific amplification (bi-PASA) นอกจากนี้ยังตรวจสอบรูปแบบการแสดงออกของจีน PmCGRP-RCP, PmCyC และ PmCdc25 ในขาว่ายน้ำและเม็ดเลือด แทนการตรวจสอบการแสดงออกของจีนดังกล่าวในตับ เพื่อหลีกเลี่ยงการฆ่าตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง</p>
บทคัดย่อ (EN): The giant tiger shrimp (Penaeus monodon) is one of the major cultured species in Thailand. Selection for increased juvenile growth rates is feasible in this species. Accordingly, genetic markers that allow selection of juveniles and broodstock with a high breeding value for growth rates would be useful for the aquaculture industry.<br />Single nucleotide polymorphism (SNP) is one base changes including substitutions, insertion or deletion (indels) occurring in the same genomic position of the DNA segments of different individuals. Informative SNP may link with commercially important phenotypes, for example, growth and disease resistance. SNP is one of the efficient approaches for discovery of genes which significantly contribute in production traits of commercially important species.<br />In our previous studies, several gene homologues encoding growth-related factors (e.g. calcitonin gene-related peptide-receptor component protein-like) and cell-cycle regulating proteins (e.g. cyclin C and cell division cycle 25) were identified and characterized by EST analysis. Subsequently, preliminary association between single nucleotide polymorphism (SNP) and growth-related parameters (average body weight and total length) in 3-month-old juveniles from a commercial farm and two half-sib families of the domesticated program was found. After that five full-sib families (Dam3, Dam48, Dam58, Dam103 and Dam111) of partially domesticated P. monodon were established. Relationships between SNPs of P. monodon calcitonin gene-related peptide- receptor component protein-like (PmCGRP-RCP), cyclin C (PmCyC) and cell division cycle 25 (PmCdc25) and growth-related parameters (average body weight and average total length) of 3-month-old P. monodon juveniles was examined. Significant differences of growth-related parameters between shrimp carrying different SNP genotypes of these genes were observed (P &lt; 0.05). Association between the expression levels of PmCGRP-RCP, PmCyC and PmCdc25 in juveniles exhibiting different SNP genotypes were not significant mainly owing to large standard deviations between groups of samples. Nevertheless, significant differences in the expression level of these genes in hepatopancreas of large-sized juveniles (reflecting fast growing rates) and small-sized shrimp (reflecting slow growing rates) was found (P &lt; 0.05).<br />In this study, fluorescent multiplex microsatellite analysis platform will be developed for rapid genotyping of parents and progeny from different examined families. SNPs in PmCGRP-RCP, PmCyC and PmCdc25 previously genotyped in a limited number of families of the fifth generation (5 families) samples will be further analyzed in a larger sample size of the seventh generation (22 full-sib families) samples. In addition, the SNP detection method will be simplified to a more convenient method like polymerase chain reaction-restriction fragment length polymorphism (PCR-RFLP) and/or a high throughput method like bi-directional PCR allele-specific amplification (Bi-PASA). Expression profiles of PmCGRP-RCP, PmCyC and PmCdc25 in pleopods or hemocytes of juvenile shrimp possessing different sizes or different SNP genotypes will be examined for non-lethal sampling strategies of specimens.</p>
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาเทคนิคเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสนิปในยีนตัวแทนลักษณะการเจริญเติบโตสำหรับกุ้งกุลาดำที่ทำการปรับปรุงพันธุ์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2559
ยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของกุ้งกุลาดำ บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ การทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon Fabricius, 1798) ร่วมกับกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis De Man, 1888) และกุ้งขาวแปซิฟิค (Litopenaeus vannamei Boone, 1931) ในบ่อดิน ด้วยระบบน้ำหมุนเวียน เทคโนโลยีทางอณูชีววิทยาเพื่อพัฒนาศักยภาพในการเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน การปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกสายพันธุ์ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ในข้าวโพดหวานโดยวิธีการผสมกลับร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก ระยะที่ 4 การวิจัยรูปแบบโครงการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแชบ๊วยแบบพัฒนาโดยใช้ระบบรีไซเคิลผสมผสานกับระบบมีนเกษตร การพัฒนาเทคโนโลยีหลังการจับกุ้งกุลาดำ การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ปลาหมอไทยเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต การศึกษาลักษณะสมบัติและการแสดงออกของยีน asialoglycoprotein receptor จากกุ้งกุลาดำPenaeus monodon การศึกษาเปรียบเทียบระดับการแสดงออกของยีน IGF-1 และลักษณะการเจริญเติบโตไก่พื้นเมืองไทยพันธุ์ชีและไก่เนื้อสายพันธุ์ทางการค้า

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก