สืบค้นงานวิจัย
ผลการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ปี 2550 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน
อิทธิพล เชียงพรหม - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ผลการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ปี 2550 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อิทธิพล เชียงพรหม
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงจังหวัดลำพูน ปี 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ 2) ศึกษาผลการดำเนินงานการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรผู้ร่วมโครงการ และ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการในประเด็นการนำความรู้ไปปฏิบัติ ความพึงพอใจของเกษตรกร และผลที่เกิดขึ้นจากการนำความรู้ไปปฏิบัติ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเกษตรกรเข้าร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง จังหวัดลำพูน ปี 2550 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน จำนวน 286 คน ประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 41.98 ปี ร้อยละ 51.9 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 42.4 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 5 คน โดยมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.62 คน มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 45,156.49 บาท มีพื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 14.85 ไร่ ร้อยละ 44.3 ลักษณะการถือครองเป็นของตนเอง ร้อยละ 52.7 แหล่งเงินทุนด้านการเกษตรมาจากเงินออมในครอบครัว การดำเนินงานถ่ายทอดความรู้ พบว่า เกษตรกรร้อยละ 100.0 เข้าร่วมดำเนินกิจกรรมแปลงเรียนรู้ ร้อยละ 36.6 ได้รับการถ่ายทอดความรู้ 3 ครั้ง ร้อยละ 82.1 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และวางแผนฟาร์ม เกษตรกรมีความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.78) ร้อยละ 89.3 นำความรู้เกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตรเพื่อบริโภคในครัวเรือนไปปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการ พบว่า ร้อยละ 93.1 กินดีอยู่ดี มีอาหารบริโภคเพียงพอ ร้อยละ 100 หรือเกษตรกรผู้ร่วมโครงการทุกคน อยากให้มีการดำเนินการโครงการต่อ เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการถ่ายทอดความรู้ และความรู้ที่ได้รับภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.98) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการพบว่า ร้อยละ 22.1 ประสบปัญหาในเรื่องเกษตรกรบางรายไม่ให้ความสำคัญกับโครงการ รองลงมาร้อยละ 16.0 มีประสบปัญหาในเรื่อง เกษตรกรบางรายไม่กล้ากลัวทำไปแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ สำหรับข้อเสนอแนะพบว่า เกษตรกร ร้อยละ 21.8 ได้เสนอว่า ควรจัดให้มีการดูงานศูนย์อื่นที่ประสบผลสำเร็จ รองลงมาร้อยละ 16.8 ควรสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อใช้ในการสาธิตให้เกษตรกรผู้ร่วมโครงการ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลการดำเนินงานโครงการศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง ปี 2550 ของสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน
กรมส่งเสริมการเกษตร
2551
การดำเนินงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ปี 2550 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินงานจัดฝึกอบรมวิชาชีพการเกษตรของศูนย์ส่งสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานสหกรณ์การเกษตรประตูป่า จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและสนับสนุนการปฏิบัติงานของนักวิชาการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัด การดำเนินงานและการใช้ประโยชน์ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในพื้นที่ 4 อำเภอชายแดนภาคใต้ จังหวัดสงขลา ปี 2550 ผลการดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร ระยะที่ 1 ของภาคใต้ ความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการแปรรูปสินค้าเกษตร ปี 2546 จังหวัดพิษณุโลก บทบาทของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในการดำเนินงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดแพร่ปี 2547 บทบาทการบริหารโครงการของนักวิชาการเกษตรประจำสำนักงานเกษตรจังหวัดในภาคใต้ การศึกษาและติดตามการดำเนินงานโครงการนิคมการเกษตร (ข้าว) จังหวัดฉะเชิงเทรา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก