สืบค้นงานวิจัย
การประเมินอัตราการกินอาหาร และการรอดตายของปูม้า (Portunus pelagicus) ที่เลี้ยงในบ่อดิน
วุฒิชัย อ่อนเอี่ยม, วาสนา อากรรัตน์, เทพบุตร เวชกามา - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การประเมินอัตราการกินอาหาร และการรอดตายของปูม้า (Portunus pelagicus) ที่เลี้ยงในบ่อดิน
ชื่อเรื่อง (EN): Feed Intake and Survival Rate Assessment of Blue Swimming Crab (Portunus pelagicus) Raised in Earthen Pond
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
คำสำคัญ: ปูม้า(Portunus pelagicus) การเลี้ยงในบ่อดิน(raising in earthen pond) อัตราการกินอาหาร(feed intake) การประเมินอัตรารอดตาย(survival assessment) ลอบดักปู(crab trap)
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ศึกษาอัตราการกินอาหารของปูม้า และการประเมินอัตรารอดตายของ  ปูม้าในบ่อดินด้วยลอบพับดักปู โดยปล่อยปูม้าขนาดความกว้างกระดองประมาณ 1 – 1.5 เซนติเมตร หรืออายุประมาณ     30 – 40 วันที่ได้จากโรงเพาะฟัก ลงในบ่อดินขนาด 400 ตารางเมตร 2 บ่อ ในอัตรา 3ตัว/ตารางเมตร เลี้ยงเป็นระยะเวลา 30, 60, 90 และ 120 วันตามลำดับ เมื่อครบกำหนดแล้วสุ่มปูเพศผู้และเมีย เพศละ 15 ตัวมาเลี้ยงในถังทดลองจำนวน        6 ถัง แต่ละถังมีตาข่ายกั้นแบ่งเป็น 5 คอก ใส่ปูเพศเดียวกันคอกละ 1 ตัว ผลการศึกษาพบว่า ปูที่มีระยะเวลาการเลี้ยงในบ่อดิน 30 วัน จะมีอัตราการกินอาหารเฉลี่ยสูงสุด คือ 31.30 ±6.96% นน.ตัว/วัน ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) รองลงมา ได้แก่ ปูที่มีระยะเวลาการเลี้ยง 60 วัน (4.76 ±1.97% นน.ตัว/วัน) ส่วนปูที่เลี้ยง 90 และ 120 วัน มีอัตราการกินอาหารเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน คือ 2.94 ±1.21 และ 2.55 ±1.00% นน.ตัว/วัน ตามลำดับ (P > 0.05) สำหรับผลการประเมินอัตรารอดตายของปูม้าด้วยลอบพับดักปูหลังการวางลอบ 1 และ 2 ชั่วโมง พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน โดยจำนวนปูอยู่ที่ร้อยละ 43.53 - 54.78, 46.58 - 51.38, 13.11 - 24.92 และ 8.89 - 13.33 ของปูทั้งหมดที่มีอยู่ในบ่อที่ระยะเวลาการเลี้ยง 30, 60, 90 และ 120 วัน ตามลำดับ (P > 0.05)
บทคัดย่อ (EN): This study aimed to estimate feed intake of blue swimming crab (Portunus pelagicus) raised in earthen pond. The 30-40 days old crab with carapas width 1-1.5 cm from the incubation plant were placed in two 400 sqm earthen ponds at the density of 3 crabs/sqm. They were raised for 4 different periods at 30, 60, 90 and 120 days, respectively. Then 15 male and 15 female crabs per experimental period were randomly sampled to be raised in 6 fiber tanks. Each tank divided by a net to 5 units of single crabs of the same sex. The results showed that the crab raised for 30 days had significantly higher feed intake compared to those crab raised for 60 days (31.30 ±6.96% vs 4.76 ±1.97% body weight/day) as well as the other groups (P < 0.05). Feed intake of the crab raised for 90 and 120 days (2.94 ±1.21 and 2.55 ±1.00% body weight/day, respectively) were not significantly different (P > 0.05). The results of survival assessment using collapsible crab traps showed that the average numbers of crab calculated at 1 hr. and 2 hr. of soaking time were not significantly different (P > 0.05). The percentage of crab were 43.53 - 54.78, 46.58 - 51.38, 13.11 - 24.92 and 8.89 - 13.33% of all crab raised in the earthen pond for 30, 60, 90 and 120 days, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินอัตราการกินอาหาร และการรอดตายของปูม้า (Portunus pelagicus) ที่เลี้ยงในบ่อดิน
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2555
ผลของพื้นที่หลบซ่อนต่ออัตราการรอดตาย อัตราการเจริญเติบโต การเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และต้นทุนการผลิตในการเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758)ในบ่อดิน อัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายของปลิงทะเล (Holothuria scabra Jaeger, 1833 และ H. atra Jaeger, 1833) ที่เลี้ยงด้วยอาหารต่างชนิดกัน ผลของวิตามินซีต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตายและการลอกคราบของปูม้า (Portunus pelagicus, Linnaeus 1758) เมตาบอลิซึมของรงควัตถุชนิดต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโต อัตรารอดตาย การลอกคราบและเมตาบอลิซึมของปูม้า(Portunus pelagicus, Linnaeus 1758) อาหารบำรุงสมอง อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ผลของการเสริม Schizochytrium limacinum(D.Honda & Yokochi, 1998) 4 ระดับ ในการอนุบาลลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) การพัฒนาอาหารนกกระจอกเทศ ผลของอาหารต่อการเลี้ยงปูม้า (Portunus pelagicus) ในบ่อดิน อนาคตของอาหารโลกอยู่ในมือของคุณ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก