สืบค้นงานวิจัย
ความแปรปรวนทางพันธุกรรมของ กข15 โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ
พิกุล ลีลากุด, ศักดา คงสีลา, จิรพงศ์ ใจรินทร์, พัณณ์ชิตา เวชสาร, กฤษณา สุดทะสาร, ชนันต์ธร ดนัยสิริชัยชล, วราพงษ์ ชมาฤกษ์ - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: ความแปรปรวนทางพันธุกรรมของ กข15 โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ
ชื่อเรื่อง (EN): Genetic variability of RD15 using DNA markers
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ชุดเอกสาร: การประชุมวิชาการกรมการข้าว ประจำปี 2562 บูรณาการเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาข้าว
บทคัดย่อ: กข15 จัดอยู่ในกลุ่มข้าวหอมมะลิไทย เกิดจากการกลายพันธุ์ของขาวดอกมะลิ 105 ที่ผ่านการฉายรังสีแกมมา ได้รับการรับรองพันธุ์เมื่อ พ.ศ. 2521 เป็นพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรนิยมปลูกในเขตนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ การรักษาพันธุ์ให้บริสุทธิ์มีความสำคัญมากสำหรับงานผลิตเมล็ดพันธุ์ การเกิดความแปรปรวนทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวอาจส่งผลต่อคุณภาพและความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ในอนาคตได้ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความแปรปรวนทางพันธุกรรมของพันธุ์ กข15 ชั้นพันธุ์คัด ที่เก็บรวบรวมจากศูนย์วิจัยข้าวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ รวม 4 แห่ง ปลูกประเมินลักษณะในแปลงที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ฤดูนาปี 2561 ผลการทดลองพบว่าไม่มีความแตกต่างของลักษณะทางสัณฐานวิทยา และไม่พบความแตกต่างของอัลลีลเมื่อตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอในตำแหน่งยีนที่เกี่ยวข้องกับความหอมและคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ Simple Sequence Repeat (SSR) พบความหลากหลายของอัลลีลในตำแหน่ง RM8101 RM3691 และ RM252 นอกจากนั้น เมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องหมาย Single Nucleotide Polymorphism (SNP) 3,061 ตำแหน่งทั่วทั้งจีโนม พบความหลากหลายทางพันธุกรรมทั้งภายในและระหว่างแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ แสดงให้เห็นว่ามีความแปรปรวนทางพันธุกรรมของ กข15 ซึ่งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่การคัดเลือกเมื่อ พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาและคัดเลือกให้ได้พันธุ์ กข15 ที่มีความบริสุทธิ์มากขึ้น รวมถึงการศึกษาผลกระทบของความแปรปรวนดังกล่าวต่อลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจต่อไป
บทคัดย่อ (EN): RD15 is classified as a group of Thai Hom Mali Rice. It was derived from KDML105 by gamma radiation and was registered in 1978 as a Rice Department rice variety. It is a favorable variety, which mostly cultivated in rainfed lowland areas in northeastern and northern regions. Seed purity is very important for rice seed production. Genetic variability of rice variety may affect the quality and purity of seeds. The objective of this study is to investigate the genetic variability of breeder seeds of RD15 collected from four Rice Research Centers in the northeast and north of Thailand. The agronomic characteristics of RD15 were observed in the rice field at Ubon Ratchathani Rice Research Center in wet season 2018. The results showed no significant difference in the agronomic traits. Moreover, no different alleles among the breeder seeds were observed by DNA markers linked to cooking and eating quality traits. However, the diversity of alleles of all breeder seed sources was observed using three simple sequence repeat (SSR) markers (RM8101, RM3691 and RM252). Furthermore, when examined with 3,061 single nucleotide polymorphism (SNP) located throughout the rice genome, the diversity of alleles within and among breeder seed sources were observed. This diversity might have occurred during the selection procedure since 1965. Consequently, improving the purity and further studying the effect of the genetic diversity on the economic traits of RD15 breeder seeds is necessary.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
จำนวนหน้า: 2
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่ AGRIS:
เจ้าของลิขสิทธิ์: กรมการข้าว
รายละเอียด: Submitted by Ton Admin (ton@local) on 2019-05-15T09:18:34Z No. of bitstreams: 2 20 PP-08.pdf: 144640 bytes, checksum: 86f75cd264f5d16516e77e7fd631f075 (MD5) license_rdf: 811 bytes, checksum: 53b05846eb6eeb1c33891ab08e36a383 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความแปรปรวนทางพันธุกรรมของ กข15 โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กรมการข้าว
การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของถั่วลิสงนาโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอสำหรับศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ข้าว การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของผักคาวตองในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทยโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของกล้วยไม้สกุลกุหลาบและลูกผสมด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ การวิเคราะห์พันธุกรรมและการเข้ากันได้ระหว่างตายางพาราพันธุ์ดีและต้นตอพันธุ์พื้นเมืองโดยใช้ไอโซไซม์และเครื่องหมายดีเอ็นเอ การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของตัวอย่างข้าวหอมมะลิไทยจากตลาดค้าปลีกและค้าส่งในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ ความแปรผันทางพันธุกรรมและการคัดเลือกเครื่องหมายดีเอ็นเอบ่งชี้การเจริญเติบโตของกุ้งขาว การประเมินยีนต้านทานโรคตายพรายในสายพันธุ์กล้วยไทย โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ การศึกษาจีโนมิกของข้าวป่าชนิด Oryza rufipogon โดยใช้เครื่องหมายทางพันธุกรรมไมโครแซทเทลไลท์ การจำแนกเพศอินทผลัมไทย (แม่โจ้36) โดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก