สืบค้นงานวิจัย
การแพร่กระจายและอัตราการสะสมของโลหะหนักในสัตว์น้ำ บริเวณแม่น้ำเพชรบุรี
พัชรา เพ็ชร์พิรุณ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การแพร่กระจายและอัตราการสะสมของโลหะหนักในสัตว์น้ำ บริเวณแม่น้ำเพชรบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Heavy metals in water, sediments and aquatic fauna in the Phetburi River
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พัชรา เพ็ชร์พิรุณ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การแพร่กระจายของโลหะหนักในน้ำ บริเวณแม่น้ำเพชรบุรี (จำนวน 15 สถานี) จากการสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์ เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม 2551 โดยวิธีอะตอมมิก แอบซอฟชั่น สเปกโตรโฟโตรเมตรี พบว่า โลหะหนักทุกชนิดในน้ำยังมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีค่าความเข้มข้นของแคดเมียม ทองแดง เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว และสังกะสี ในน้ำเฉลี่ยเท่ากับ 0.75, 2.32, 32.08, 3.54, 3.36 และ 47.37 g/l ตามลำดับ โลหะหนักทุกชนิดมีการแพร่กระจายในทุกสถานีสำรวจทั้งในบริเวณที่เป็นแหล่งชุมชน แหล่งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม โดยพบว่า โลหะหนักหลายชนิด ได้แก่ เหล็ก แคดเมียม ทองแดง ตะกั่ว และสังกะสี มีปริมาณสูงสุดในช่วงตอนล่างของแม่น้ำซึ่งเป็นแหล่งชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรม ส่วนแมงกานีส มีการแพร่กระจายสูงสุดในแหล่งท่องเที่ยวซึ่งอยู่ในช่วงตอนบนของแม่น้ำ การแพร่กระจายของโลหะหนักแต่ละชนิดเปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปตามช่วงเวลา ไม่พบว่ามีนัยสำคัญในทางสถิติ ยกเว้น ค่าเฉลี่ยของเหล็กและตะกั่วในแต่ละช่วงเดือนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของโลหะตะกั่วในน้ำ พบว่า มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับค่าความเค็ม ความกระด้าง ความนำไฟฟ้า ของแข็งละลายน้ำรวม และความเป็นด่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และ 99% ผลการวิเคราะห์โลหะแคดเมียม ทองแดง เหล็ก แมงกานีส ตะกั่ว สังกะสี และปรอทในตัวอย่างสัตว์น้ำจากแม่น้ำเพชรบุรี พบว่า แคดเมียมและปรอท มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในปลา ทองแดงและตะกั่ว มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในกุ้ง (กุ้งก้ามกราม) เหล็ก แมงกานีส และสังกะสี มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในหอย (หอยตลับ) และจากผลการศึกษาอัตราการสะสมของโลหะในสัตว์น้ำ โดยพิจารณาจากค่า Bioconcentration Factors (BCF) พบว่า เหล็ก แมงกานีส และสังกะสี จะมีอัตราการสะสมในหอยสูงกว่าในกุ้งและในปลา ทองแดงและตะกั่วจะมีอัตราการสะสมในกุ้งสูงกว่าในหอยและในปลา ส่วนแคดเมียม จะมีอัตราการสะสมในปลาสูงกว่าในกุ้งและในหอย อย่างไรก็ดี ปริมาณโลหะหนักที่พบในสัตว์น้ำ ยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและปลอดภัยต่อการบริโภค ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 98) พ.ศ. 2529 คำสำคัญ : แม่น้ำเพชรบุรี โลหะหนัก การแพร่กระจาย สัตว์น้ำ อัตราการสะสม
บทคัดย่อ (EN): The distribution of heavy metals in the Phetchburi River (15 stations) were studied in February, April, July and October 2008 by Atomic Absorption Spectrophotometry. Average concentrations of all metals in the water are well within Standard criteria being 0.75, 2.32, 32.08, 3.54, 3.36 and 47.37 g/l for Cd, Cu, Fe, Mn, Pb and Zn respectively. They were found at all sampling stations with the highest concentrations of Fe, Cd, Cu, Pb and Zn being observed at domestic and industrial areas of the lower river, while Mn had the highest concentration in the tourist area of the upper river. The distribution of heavy metals varied with sampling sites and time of the year; but except for Pb and Cu, monthly variations of other metals are not significantly different (P<0.05). It was found that variation of Pb in water show positive correlation with salinity, water hardness, conductivity, total dissolved solids and alkalinity at statistically significant level of 95 and 99% Heavy metals analyses of freshwater organisms from the Phetchburi River showed that average concentrations of Cd and Hg were highest in fishes, whereas Cu and Pb were highest in prawns (Macrobracium rosenbergii), and Fe, Mn and Zn were highest in molluscs (Meritrix meritrix), Results on Bioconcentration Factors (BCF) revealed that Fe, Mn and Zn had higher BCF in molluscs than in prawns and fishes whereas Cu and Pb had higher BCF in prawns than in molluscs and fishes, and Cd had higher BCF in fishes than in prawns and molluscs. However, the concentrations of all heavy metals in freshwater organisms are within standard levels according to notification of the Ministry of Public Health (No.98) B.E. 2529, as such they are safe for consumptio
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การแพร่กระจายและอัตราการสะสมของโลหะหนักในสัตว์น้ำ บริเวณแม่น้ำเพชรบุรี
กรมประมง
30 กันยายน 2552
กรมประมง
คุณภาพน้ำ องค์ประกอบชนิด และการแพร่กระจายของแพลงก์ตอน ในแม่น้ำเพชรบุรี การศึกษาอิทธิพลการรุกของน้ำเค็มในแม่น้ำเพชรบุรี เพื่อการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานอย่างเป็นระบบ การเปลี่ยนแปลงวิถีชุมชนจากการรุกล้ำของน้ำเค็ม ในพื้นที่ชลประทานเพชรบุรี การศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชุมชนจากการรุกล้ำของน้ำเค็ม ในพื้นที่ชลประทานเพชรบุรี ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับการกระจายผลผลิตสับปะรดของเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับการกระจายผลผลิตสับปะรดของเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี ปริมาณโลหะหนักในสัตว์น้ำ และแหล่งประมงบริเวณชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ปี 2554 ปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการยอมรับการปลูกพืชสามครั้งต่อปีในเขตชลประทานเพชรบุรี ปริมาณโลหะหนักในน้ำ ตะกอนดิน และสัตว์น้ำ บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนนอก จังหวัดสงขลา ปี 2556 วว SMEsที่รัก นวัตกรรมทำเงิน ขนมผิง แม่สมาน จ เพชรบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก