สืบค้นงานวิจัย
ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของไผ่ตงลืมแล้ง (ปีที่ 1)
เสกสม พัฒนพิชัย - กรมชลประทาน
ชื่อเรื่อง: ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของไผ่ตงลืมแล้ง (ปีที่ 1)
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Water Irrigation on Growth and Yield of Bamboo (Dendrocalamus asper) (1st year)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เสกสม พัฒนพิชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Seksom Patanapichai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาผลการให้น้ำซลประทานต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของไผ่ลืมแล้ง ในช่วงการ เจริญเติบโตทางลำต้น ตั้งแต่เริ่มปลูกถึง 8 เดือน ณ สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 7 (ปัตตานี) อ.เมือง จ.ยะลา ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 กันยายน 2556 โดยวางแผนการทดลองแบบ Split Plot in Randomized Complete Block มี 4 ซ้ำ ปัจจัยหลักประกอบด้วย ความถี่ในการให้น้ำชลประทาน 3 ระดับ คือ ให้น้ำ 7,14 และ 21 วัน/ครั้ง ปัจจัยรองประกอบด้วย ปริมาณการให้น้ำชลประทาน 4 ระดับ ของปริมาณการระเหยของน้ำ (%E) คือ ให้น้ำ 80%E, 100%E, 120%E และ 140%E ทำการบันทึกการเจริญเติบโตในด้านความสูงทรงพุ่ม ความกว้างทรงพุ่ม ขนาด ลำ และจำนวนลำ ทุกๆ 2 เดือน ผลการทดลองพบว่า ปริมาณน้ำฝนตลอดการทดลองเท่ากับ 992.90 มิลลิเมตร การให้น้ำชลประทานที่ ปริมาณน้ำทั้ง 4 ระดับ ที่ความถี่ 7 วัน/ครั้ง เท่ากับ 402.32, 552.69, 719.54 และ 891.21 มิลลิเมตร ตามลำดับ ที่ ความถี่ 14 วัน/ครั้ง เท่ากับ 289.07, 443.35, 612.87 และ 788.47 มิลลิเมตร ตามลำดับ และที่ความถี่ 21 วัน/ครั้ง เท่ากับ 214.33 , 341.24 482.46 และ 657.57 มิลลิเมตร ตามลำดับ การให้น้ำชลประทานแก่ไผ่ลืมแล้งมีผลต่อการ เจริญเติบโต โดยเฉพาะในด้านปริมาณการให้น้ำชลประทานให้ความสูง และความกว้างทรงพุ่ม แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ การให้น้ำชลประทานในปริมาณ 140%E ให้ความสูงทรงพุ่มที่ระยะ 2 เดือนหลังปลูกสูง ที่สุด ไม่แตกต่างกับ 120%E และ 100%E ความกว้างทรงพุ่มที่ระยะ 2 และ 8 เดือนหลังปลูก มีคำาสูงที่สุดที่ระดับการให้น้ำในปริมาณ 100%E และ 120%E ตามลำดับ แต่ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างขนาดและจำนวนลำ ส่วนในด้าน ความถี่การให้น้ำชลประทาน ไม่พบความแตกต่างกันของการเจริญเติบโตในด้านความสูงทรงพุ่ม ความกว้างทรงพุ่ม และขนาดลำ แต่พบว่ามีผลทำให้จำนวนลำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการให้น้ำชลประทานที่ความถี่ 7 วันครั้ง ให้จำนวนลำที่ระยะ 8 เดือนหลังปลูกสูงที่สุด ไม่แตกต่างกับการให้น้ำที่ความถี่ 14 วันครั้ง และพบปฏิสัมพันธ์ ระหว่างปริมาณและความถี่ในการให้น้ำชลประทานที่มีผลต่อจำนวนลำ โดยการให้น้ำชลประทานที่ความถี่ 14 วัน/ครั้ง ในปริมาณน้ำ 140%E ให้จำนวนลำที่อายุ 6 เดือนหลังปลูกสูงที่สุด ดังนั้นการให้น้ำชลประทานแก่ไผ่ลืมแล้งที่สามารถ ประหยัดน้ำชลประทานและไม่กระทบต่อเจริญเติบโต คือการให้น้ำที่ความถี่ 14 วัน/ครั้ง ในปริมาณน้ำซลประทาน 100 %E ในช่วงหลังปลูกถึง 4 เดือน และ 120%E ในช่วงอายุหลังปลูก 4 ถึง 8 เดือน
บทคัดย่อ (EN): Abstract is in the attached file.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: -
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกรม: การพัฒนาบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน
เลขทะเบียนวิจัยกรม: 5630017
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 81122
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการเอง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: สถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานที่ 7 (ปัตตานี) อ.เมือง จ.ยะลา
ช่วงเวลาที่รวบรวมข้อมูล: ตุลาคม 2555 ถึงเดือนกันยายน 2558
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กรมชลประทาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของไผ่ตงลืมแล้ง (ปีที่ 1)
กรมชลประทาน
2558
เอกสารแนบ 1
กรมชลประทาน
ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา ปีที่1 ผลของการใช้น้ำชลประทานเพิ่มเติมต่อการเจริญเติบโตผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูแล้ง (ปีที่ 3) ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของไผ่ตงลืมแล้ง (ปีที่ 3) ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของยางพารา (ปีที่ 3) ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา (ปีที่ 2) อิทธิพลของการให้น้ำและปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7 ผลของการให้น้ำชลประทานเพิ่มเติมต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูแล้ง ปีที่ 2 ผลของการให้น้ำชลประทานเพิ่มเติมต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูแล้ง ปีที่ 2 ผลของการให้น้ำชลประทานเพิ่มเติมต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูแล้ง ปีที่ 3 การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตมะขาม 19 พันธุ์ อายุ 4 ปี ในสถานีวิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก