สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของมะม่วงพันธุ์ต่างๆ
อุบลวรรณ หงษ์อินทร์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของมะม่วงพันธุ์ต่างๆ
ชื่อเรื่อง (EN): Morphological characteristics of mango cultivars
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อุบลวรรณ หงษ์อินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Ubonwan Hong-in
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: อรพินธุ์ สฤษดิ์นำ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Orapin Saritnum
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เครื่องหมายทางสัณฐานวิทยา เป็นเครื่องหมายที่สามารถมองเห็นได้ทันที คือลักษณะภายนอกที่แตกต่างกัน ของสิ่งมีชีวิต ในการศึกษานี้ได้นำเครื่องหมายทางสัณฐานวิทยามาใช้ในการจำแนกความแตกต่างระหว่างพันธุ์มะม่วง 20 สายพันธุ์ ที่ปลูกรวบรวมในฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษา พบว่า เครื่องหมายทางสัณฐานวิทยา สามารถจำแนกพันธุ์มะม่วงออกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มแก้ว 2) กลุ่มน้ำดอกไม้ 3) กลุ่มหนังกลางวัน 4) กลุ่มอกร่อง และ 5) กลุ่มผลกลม ซึ่งพบว่าลักษณะผลของกลุ่มน้ำดอกไม้ และกลุ่มอกร่อง มีลักษณะผลเชิงคุณภาพที่ดีได้แก่ จินหวง 2 มีน้ำหนักผลเท่ากับ 736.64 กรัม ความยาวผลเท่ากับ 20 1.85 เซนติเมตร และโซคอนันต์มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำ ได้ทั้งหมดเท่ากับ 18.60 องศาบริกซ์ ส่วนน้ำดอกไม้สีทอง 2 มีปริมาณกรดทั้งหมดที่ไตเตรทได้ต่ำสุดเท่ากับ 0.24 มิลลิลิตร และมีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด/ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไตเตรทได้สูงสุดเท่ากับ 74.64 โดยมีความแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น LSD -=0.05 ผลจากการจำแนกกลุ่มสามารถจำแนกสายพันธุ์ของมะม่วงที่มีความ คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีความสอดคล้องกับการจัดกลุ่มของสำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ (2544) ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยซน์ในการจัดกลุ่มและคัดเลือกสายพันธุ์มะม่วง ในการปรับปรุงพันธุ์ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): Morphological marker is visible which shows the different external appearance of organism. This study used morphological markers to identify the differences between 20 mango cultivars grown at Maejo University Farm, Chiang Mai. In the result, it was found that morphological characters can be classified into 5 groups such as 1) Kaeo group 2) Namdokmai group 3) Nangklangwan group 4) Okrong group and 5) Round fruit group. Namdokmai group and Okrong group were good quality in fruit such as Jin Huang 2 has the highest fruit weight in 736.64 g and fruit length in 201.85 cm. Chok Anan has the highest total soluble solids in 18.60 oBrix. Namdokmai Sithong 2 has the lowest total titratable acidity in 0.24 ml. and the highest total soluble solids/total titratable acidity in 74.64. There are significantly different at LSD=0.05 level. The result of the classification can be classified as mango cultivars clearly were similar refer to National of Plant Varieties Protection (2544). This data will be useful for classifying and selecting mango cultivars in breeding program further.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O56 Hor29.pdf&id=3032&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของมะม่วงพันธุ์ต่างๆ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ชนิดพันธุ์และลักษณะสัณฐานวิทยาที่คลุมเครือนำไปสู่การประเมินความหลากหลายโมเลกุลของเชื้อราแมลง (ทุนวิจัยเพื่อจัดทำวิทยานิพนธ์ นายสิรภพ ภูมิภูติกุล) ผลของแคลเซียมซิลิเกตต่อการเจริญเติบโตและลักษณะสัณฐานวิทยาของใบของมะเขือเทศ ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยา ลักษณะนิเวศวิทยาของโสนในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และผลผลิตของโสนในพื้นที่ปลูก ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของเชื้อรา Colletotrichum spp. โดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาและเทคนิค ISSR การรวบรวมและศึกษาลักษณะของเยอร์บีร่าเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ การรวบรวมพันธุ์ และการศึกษาลักษณะประจำพันธุ์,การตอบสนองต่อช่วงแสงในการออกดอกและการผสมเกสรของเบญจมาศเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ผลของตำแหน่งและพันธุ์ของต้นตอกลางต่อการต่อกิ่งมะม่วง การศึกษาลักษณะประจำพันธุ์และระบบการผลิตกล้วยน้ำว้าบางสายพันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้าในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาลักษณะทางสรีระวิทยาประจำพันธุ์ ของข้าวสาลีที่ปลูกภายใต้สภาพแวดล้อมภาคเหนือตอนบน ความสามารถในการรวมตัวของสายพันธุ์แท้ข้าวโพดหวานที่มีขนาดฝักแตกต่างกันใน ลักษณะผลผลิต และลักษณะทางการเกษตร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก