สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสารตกค้างจำพวกซัลฟาในเนื้อเยื่อสัตว์ที่ใช้บริโภค : รายงานการวิจัย
ประโยชน์ ตันติเจริญยศ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสารตกค้างจำพวกซัลฟาในเนื้อเยื่อสัตว์ที่ใช้บริโภค : รายงานการวิจัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ประโยชน์ ตันติเจริญยศ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ซัลโฟนาไมด์ใช้เป็นสารเคมีรักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรียอย่างกว้างขวางมานานกว่า 50 ปี ปัจจุบันยังใช้เป็นอาหารเสริมในสัตว์ด้วย ซัลฟาที่ใช้ในการรักษา ป้องกันหรือเป็นอาหารเสริม จะถูกขับออกจากร่างกายโดยทางไตเป็นส่วนใหญ่ ยาที่มีครึ่งชีวิตในพลาสมานานจะมีประสิทธิภาพสูงตามต้องการ จึงต้องมีการงดใช้ยาตามระยะเวลาที่กำหนดตามชนิดของยา ที่ใช้กับสัตว์แต่ละชนิด ก่อนที่จะนำสัตว์ไปฆ่าเพื่อเป็นอาหารของคนหรือบริโภคนม ไข่จากสัตว์ที่ได้รับยามาก่อนหน้านั้น ได้มีข้อกำหนดให้มีสารตกค้าง (acceptable level) ของซัลฟาทุกชนิดในเนื้อได้ 0.1 ppm (0.01 mg%) ในสัตว์ที่ใช้เป็นอาหารทุกชนิด จากการศึกษาตัวอย่างจากเลือดกระบือ 104 ตัว โค 434 ตัว สุกร 347 ตัว ไก่ 214 ตัว เป็น 145 ตัว และปลา 66 ตัวอย่าง ด้วยวิธีที่ดัดแปลงจาก Bratton-Marshall พบสารตกค้างตั้งแต่ 0.5-20.0 ppm รวมกันคิดเป็นร้อยละ 51.0, 59.7, 42.7, 6.1, 79.3 และ 63.6 ของตัวอย่างที่ตรวจตามลำดับ ที่น่าสนใจก็คือ จากการศึกษาเลือดคนที่ไม่เคยกินยาซัลฟา 54 คน ยังพบสารนี้ตกค้างตั้งแต่ 0.5 ppm ขึ้นไปรวมกันคิดเป็นร้อยละ 9.3 ของตัวอย่างที่ตรวจ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2527
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2527
เอกสารแนบ: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7297
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสารตกค้างจำพวกซัลฟาในเนื้อเยื่อสัตว์ที่ใช้บริโภค : รายงานการวิจัย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2527
เอกสารแนบ 1
สารตกค้างในลำไยอบแห้ง การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 การใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยเพื่อยืดอายุการเก็บของชิ้นส่วนตัดแต่งเนื้อสัตว์ การศึกษาหาปริมาณโลหะหนักในเนื้อสัตว์ที่ใช้เป็นอาหาร สาร 3-MCPD กับซอสถั่วเหลือง โครงการวิจัยและพัฒนาชีวภัณฑ์ลดความเป็นพิษของสารตกค้างในดิน ประสิทธิภาพและผลตกค้างของสารเคมีกำจัดวัชพืช simazine ในสวนกาแฟ การพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพเนื้อสัตว์โดยใช้เทคนิคการประมวลผลภาพ โครงการปรับปรุงพันธุ์หญ้าเจ้าชู้ยักษ์โดยใช้รังสีแกมมาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกรรมพันธุ์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก