สืบค้นงานวิจัย
การใช้น้ำมันการพูล และ Quinaldine ในการลำเลียงลูกปลากะรังจุดฟ้า (Plectropomus leopardus Lacepede, 1802)
สุภาพร ตั้งสิทธิวัฒน์ - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การใช้น้ำมันการพูล และ Quinaldine ในการลำเลียงลูกปลากะรังจุดฟ้า (Plectropomus leopardus Lacepede, 1802)
ชื่อเรื่อง (EN): Transportation of Blue Spotted Grouper (Plectropomus leopardus Lacepede, 1802) Juvenile by Using of Clove Oil and Quinaldine
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุภาพร ตั้งสิทธิวัฒน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ธวัช ศรีวีระชัย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การใช้น้ำมันกานพลู และ Quinaldine ในการลำเลียงลูกปลากะรังจุดฟ้า (Plectropomus leopardus Lacepede, 1802) แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1 ศึกษาความเข้มข้นของน้ำมันกานพลู และ Quinaldine ในการสลบลูกปลากะรังจุดฟ้าขนาด 4 – 5 นิ้ว ความหนาแน่น 3 ตัว/ลิตร ที่ระดับความเข้มข้น 11 ระดับ คือ 0, 2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18 และ 20 ppm ระยะเวลา 12 ชั่วโมง พบว่า น้ำมันกานพลูที่ความเข้มข้น 0 – 6 ppm ไม่มีผลต่อการสลบของลูกปลา ที่ความเข้มข้น 8, 10 และ 12 ppm ทำให้ลูกปลาสลบ และเฉื่อย ความเข้มข้นตั้งแต่ 14 ppm ขึ้นไป มีผลทำให้ลูกปลาสูญเสียสมดุล อัตราการหายใจลดลง และตาย ส่วน Quinaldine ที่ความเข้มข้น 0 – 4 ppm ไม่มีผลต่อการสลบของลูกปลา ที่ความเข้มข้น 6, 8 และ 10 ppm ทำให้ลูกปลาสลบ และเฉื่อย และความเข้มข้นตั้งแต่ 12 ppm ขึ้นไป ลูกปลาสูญเสียการทรงตัว หงายท้อง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น และการทดลองที่ 2 การศึกษาอัตรารอดในการลำเลียงลูกปลากะรังจุดฟ้าขนาด 4 – 5 นิ้ว ความหนาแน่น 7 ตัว/ลิตร ด้วยน้ำมันกานพลูความเข้มข้น 8, 10 และ 12 ppm และ Quinaldine ความเข้มข้น 6, 8 และ 10 ppm ระยะเวลา 12 ชั่วโมง พบว่า การลำเลียงด้วยน้ำมันกานพลู 8, 10, 12 และ Quinaldine 8 ppm ลูกปลามีอัตรารอด 76.19 ± 8.24, 71.43 ± 0.00, 80.95 ± 16.49 และ 95.24 ± 8.25 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) แต่แตกต่างกันทางสถิติ (P < 0.05) กับชุดควบคุม (ไม่ใช้ยาสลบ) Quinaldine 6 และ 10 ppm ลูกปลามีอัตรารอด 38.09 ± 32.99, 52.38 ± 27.73 และ 4.76 ± 8.25 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลของยาสลบทั้ง 2 ชนิด ที่ให้อัตรารอดสูงสุด คือ น้ำมันกานพลูความเข้มข้น 12 ppm และ Quinaldine ความเข้มข้น 8 ppm โดยลูกปลาฟื้นจากการสลบในระยะเวลา 6.31 และ 6.08 นาที ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Application of Clove oil and Quinaldine for transportation of juvenile Coral trout (Plectropomus leopardus Lacepede, 1802) divided into 2 experiments which test for oncentration and survival rate of both anesthetics agents. Experiment 1 Study on concentration of Clove oil and Quinaldine as anesthetic or tranquilizer for juvenile Coral trout size 4 – 5 inches, stocked at density of 3 individual/ liter in 11 levels of concentration: 0, 2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18 and 20 ppm during 12 hours. Results showed that Clove oil at concentration of 0 – 6 ppm had no effect to juveniles but at concentration of 8, 10 and 12 ppm, juveniles were anesthetized and tranquilized, level above of 14 ppm, juveniles lost balance, respiratory rate was decreased and die. Quinaldine at concentration of 0 – 4 ppm had no effect to juveniles while at 6, 8 and 10 ppm can make juveniles anesthetized and tranquilized, level above 12 ppm juveniles lost balance, belly up (up side down) and did not response to stimulants. Experiment 2, Study on survival rate for transportation of juveniles Coral trout size 4 – 5 inches, stocked at density of 7 individual/ liter using Clove oil 8, 10 and 12 ppm; and using Quinaldine 6, 8 and 10 ppm for 12 hours. Transportation using Clove oil 8, 10, and 12 ppm, and Quinaldine 8 ppm, juveniles had survival rates of 76.19 ± 8.24%, 71.43 ± 0.00%, 80.95 ± 16.49% and 95.24 ± 8.25%, respectively, which had not significantly difference (P > 0.05) but significant different (P < 0.05) from group without anesthetics. Control (no anesthesia) Quinaldine at 6 and 10 ppm juveniles had survival rate of 38.09 ± 32.99%, 52.38 ± 27.73% and 4.76 ± 8.25%, respectively. Results from both anesthetics agents showed highest survival can obtained by using 12 ppm of Clove oil and 8 ppm of Quinaldine with recovery times of 6.31 and 6.08 minutes, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-
เอกสารแนบ: https://elibonline.fisheries.go.th/elib/cgi-bin/opacexe.exe?op=dsp&wa=E32CEAA&bid=3080&qst=%4061934%2C%4068103%2C%5E&lang=1&db=Main&pat=%B9%E9%D3%C1%D1%B9%A1%D2%B9%BE%C5%D9&cat=gen&skin=s&lpp=20&catop=&scid=zzz
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้น้ำมันการพูล และ Quinaldine ในการลำเลียงลูกปลากะรังจุดฟ้า (Plectropomus leopardus Lacepede, 1802)
กรมประมง
2556-
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
กรมประมง
ผลผลิตปลากะรังจุดฟ้าในระบบน้ำหมุนเวียน การเลี้ยงปลากะรังจุดฟ้า Plectropomus leopardus (Lacepede, 1802) ขนาด 200 กรัม ในกระชังด้วยความหนาแน่นต่างกัน 2 ระดับ การอนุบาลปลากะรังจุดฟ้า Plectropomus leopardus (Lacepede, 1802) ในกระชังด้วยปลาสดและอาหารเม็ดปลาทะเล ความจำเพาะของปรสิตจากปลากะรังสกุล Epinephelus spp. จากอ่าวไทยตอนล่าง ผลของน้ำมันกานพลูในการสลบและการลำเลียงปลาตะเพียนขาว ผลของขมิ้นชันที่มีต่อโรคจุดขาวในปลาสวาย การใช้ประโยชน์จากน้ำมันเหลือใช้จากอุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว ผลของการใช้หอยเชอรี่ทดแทนปลาข้างเหลืองในการเลี้ยงปลากะพงขาว เทคนิคการให้อาหารในการอนุบาลลูกปลากะรังเสือ, Epinephelus fuscoguttatus (Forsskal, 1775) ด้วยอาหาสำเร็จรูป การศึกษาการใช้กากสลัดปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบอาหารปลานิลทนเค็มสายพันธุ์ปทุมธานี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก