สืบค้นงานวิจัย
ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
สหัส ราชเมืองขวาง - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
ชื่อเรื่อง (EN): Species Diversity and Abundance of Fishes in Kampuan Mangrove and Coastal area, Suksamran District, Ranong Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สหัส ราชเมืองขวาง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สหัส Sahat
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ทำการศึกษาความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง จำนวน 5 สถานี ตั้งแต่เดือน เมษายน 2553 - กันยายน 2553 โดยเก็บตัวอย่างปลาด้วยอวนลากขนาดช่องตา 1 X 1 มิลลิเมตร กว้าง 8 เมตร ลึก 1 เมตร และเก็บตัวอย่างจากชาวประมงที่ทำการประมงในพื้นที่ พร้อมทั้งตรวจวัดคุณภาพน้ำ จากการศึกษา พบปลาทั้งสิ้น 1,356 ตัวอย่าง จำแนกได้ 11 อันดับ 39 วงศ์ 83 ชนิด โดยวงศ์ที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดคือ วงศ์ Gobiidae (13 ชนิด) รองลงมาคือ วงศ์ Tetraodontidae (6 ชนิด) และ วงศ์ Leiognathidae (5 ชนิด) ประชากรปลาที่พบว่ามีความชุกชุมมากที่สุด คือ ปลาซิวข้าวสารชวา Oryzias javanicus รองลงมาคือ ปลาข้าวเม่า Ambassis vachellii และปลากระบอกท่อนใต้ Ellochelon vaigiensis ความหลากชนิดของปลาในสถานีที่มีป่าโกงกางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นมีมากกว่าบริเวณที่ไม่มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ และจากผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเป็น 3.3500 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าป่าชายเลนคลองกำพวนยังคงมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของปลาเป็นอย่างมาก ผลจากการศึกษาคุณภาพน้ำซึ่งได้แก่ ความเค็ม ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และอุณหภูมิของน้ำ พบว่า มีค่าผันแปรขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่างและลักษณะทางภูมิประเทศของสถานีที่ทำการเก็บตัวอย่าง แต่ยังคงมีค่าเฉลี่ยเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวน ทำการศึกษาความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง จำนวน 5 สถานี ตั้งแต่เดือน เมษายน 2553 - กันยายน 2553 โดยเก็บตัวอย่างปลาด้วยอวนลากขนาดช่องตา 1 X 1 มิลลิเมตร กว้าง 8 เมตร ลึก 1 เมตร และเก็บตัวอย่างจากชาวประมงที่ทำการประมงในพื้นที่ พร้อมทั้งตรวจวัดคุณภาพน้ำ จากการศึกษา พบปลาทั้งสิ้น 1,356 ตัวอย่าง จำแนกได้ 11 อันดับ 39 วงศ์ 83 ชนิด โดยวงศ์ที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดคือ วงศ์ Gobiidae (13 ชนิด) รองลงมาคือ วงศ์ Tetraodontidae (6 ชนิด) และ วงศ์ Leiognathidae (5 ชนิด) ประชากรปลาที่พบว่ามีความชุกชุมมากที่สุด คือ ปลาซิวข้าวสารชวา Oryzias javanicus รองลงมาคือ ปลาข้าวเม่า Ambassis vachellii และปลากระบอกท่อนใต้ Ellochelon vaigiensis ความหลากชนิดของปลาในสถานีที่มีป่าโกงกางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นมีมากกว่าบริเวณที่ไม่มีป่าชายเลนขึ้นอยู่ และจากผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ พบว่ามีค่าเฉลี่ยเป็น 3.3500 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าป่าชายเลนคลองกำพวนยังคงมีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของปลาเป็นอย่างมาก ผลจากการศึกษาคุณภาพน้ำซึ่งได้แก่ ความเค็ม ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และอุณหภูมิของน้ำ พบว่า มีค่าผันแปรขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เก็บตัวอย่างและลักษณะทางภูมิประเทศของสถานีที่ทำการเก็บตัวอย่าง แต่ยังคงมีค่าเฉลี่ยเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2553
ความหลากชนิดและความชุกชุมของปลาในบริเวณป่าชายเลนคลองกำพวนและพื้นที่ชายฝั่ง อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง การสำรวจความหลากชนิดของปลาและคุณภาพน้ำในแม่น้ำกอน (แม่น้ำสาขาของลุ่มแม่น้ำน่านตอนบน) การสำรวจความหลากชนิดปลาในลุ่มน้ำว้า (แม่น้ำสาขาของลุ่มน้ำน่านตอนบน) ในเขตอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน 2554A17002224 การสำรวจความหลากชนิดของปลาและคุณภาพน้ำในแม่น้ำกอน (แม่น้ำสาขาของลุ่มแม่น้ำน่านตอนบน) การสำรวจความหลากชนิดของปลาในแม่น้ำสา(แม่น้ำสาขาของลุ่ม แม่น้ำน่านตอนบน)จังหวัดน่าน ความหลากชนิดของปลาในลุ่มน้ำยม ความหลากชนิดลูกปลาในบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ความชุกชุมของปลาบริเวณปะการังเทียม จังหวัดนราธิวาส ความชุกชุมและการแพร่กระจายของปลาวัยอ่อนบริเวณชายฝั่งตั้งแต่ เกาะสาหร่ายถึง ต.ปูยู จังหวัดสตูล การศึกษาความเหมาะสมของความถี่การให้อาหารปลาเก๋าที่เลี้ยงในกระชัง บริเวณคลองกำพวน อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก