สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546
นายสมคิด เฉลิมเกียรติ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นายสมคิด เฉลิมเกียรติ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอ ของเกษตรกร จังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546 นี้เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสังคม ซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และการเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตร, ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ขนาดพื้นที่ปลูกส้มโอ การใช้แรงงานในการปลูกส้มโอ และรายได้, ความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา, ปัจจัยด้านทัศนคติ ได้แก่ ทัศนคติต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาและทัศนคติต่อเจ้าหน้าที่ทางการเกษตร และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา กับการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา จากการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 49.66 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา และเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตร โดยเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือการเป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. มีขนาดพื้นที่ปลูกส้มโอเฉลี่ย 4.99 ไร่ และมีรายได้เฉลี่ย 21,112.50 บาท มีความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ในระดับมาก, มีทัศนคติต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ในระดับดี มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาอยู่ในระดับถูกต้อง และมีทัศนคติต่อเจ้าหน้าที่ทางการเกษตรอยู่ในระดับค่อนข้างดี โดยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรกลุ่มนี้ ได้แก่ การเป็นสมาชิกสถาบันการเกษตร รายได้ ความรู้เกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ทัศนคติต่อเจ้าหน้าที่ทางการเกษตร และการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ส่วนด้านปัญหา-อุปสรรค เกษตรกรมีความเห็นว่าต้องใช้เวลาในการหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์มาแต่ละครั้งมากกว่าการใช้สารเคมี และหาซื้อเชื้อราไตรโคเดอร์มายาก นอกจากนี้เกษตรกรได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีการอบรมพร้อมจัดทำแปลงสาธิต
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547-10-08
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546
กรมส่งเสริมการเกษตร
8 ตุลาคม 2547
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546 ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าส้มโอของเกษตรกรในจังหวัดพิจิตร ปี 2547 ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่า ทุเรียนในภาคตะวันออก ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าทุเรียนในภาคใต้ ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาข้าราชการกรมประมง ผลของการใช้เชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับไคโตซานในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าของยางพาราและการควบคุม ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศซึ่งเกิดจากเชื้อราเมล็ดผักกาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในปี 2540-2541 การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชผักของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก