สืบค้นงานวิจัย
สมรรถนะในการผสมและการปรับปรุงประชากรสวีทเมล่อนจากการผสมข้ามแบบพบกันหมด
พรทิพย์ พรสุริยา, ปราโมทย์ พรสุริยา, ปฏิยุทธ์ ขวัญอ่อน - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ชื่อเรื่อง: สมรรถนะในการผสมและการปรับปรุงประชากรสวีทเมล่อนจากการผสมข้ามแบบพบกันหมด
ชื่อเรื่อง (EN): Combining Ability and Population Improvement of Oriental Sweet Melon from Variety Cross Diallel
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าความดีเด่นของลูกผสมระหว่างพันธุ์ สมรรถนะในการผสมทั่วไป (GCA) และสมรรถนะในการผสมเฉพาะ (SCA) ของสวีทเมล่อน 5 พันธุ์ (Jianghuai honey #1, Fragrance princess, Blue fragrance, Golden fragrance และ Golden jade) โดยการผสมแบบพบกันหมดและไม่มีการผสมสลับ ปลูกทดสอบพันธุ์พ่อแม่ 5 พันธุ์ และลูกผสมข้ามระหว่างพันธุ์จำนวน 10 ลูกผสม ในแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design: RCBD) จำนวน 3 ซ้ำ วิเคราะห์ผลตามวิธีการ Gardner-Eberhart Analysis-II และ III ทำการทดลองที่แปลงทดลองสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก จังหวัดชลบุรี ระยะเวลาการทดลองจากการปลูกเพื่อผสมข้ามและการปลูกในแผนการทดลอง ตั้งแต่ ตุลาคม 2556 – มิถุนายน 2559 ผลการทดลองพบว่าอิทธิพลของพันธุ์ (variety effect) มีนัยสำคัญในทุกลักษณะ ส่วนความดีเด่นของลูกผสม (heterosis effect) มีนัยสำคัญในลักษณะ ดัชนีรูปร่างผล น้ำหนักผล และผลผลิต และเมื่อพิจารณาแยกส่วนของอิทธิพลของความดีเด่นของลูกผสมพบว่าความดีเด่นเฉลี่ยของลูกผสม (average heterosis) และความดีเด่นของพันธุ์ (variety heterosis) มีนัยสำคัญในลักษณะดัชนีรูปร่างผล ความดีเด่นจำเพาะของลูกผสม (specific heterosis) มีนัยสำคัญในลักษณะดัชนีรูปร่างผล น้ำหนักผล และผลผลิต โดยที่คู่ผสม Jianghuai honey #1 x Blue fragrance มีค่าความดีเด่นจำเพาะของลูกผสมของผลผลิตมากที่สุดและมีนัยสำคัญในทางบวก ผลการประเมินสมรรถนะการผสมพบว่า สมรรถนะการผสมทั่วไป (GCA) มีนัยสำคัญในทุกลักษณะยกเว้นลักษณะจำนวนแขนงต่อต้น ส่วนสมรรถนะการผสมเฉพาะ (SCA) มีนัยสำคัญในลักษณะดัชนีรูปร่างผล น้ำหนักผล และผลผลิต พันธุ์ Fragrance princess นอกจากจะให้ค่า GCA ของผลผลิตที่เป็นบวกและมีนัยสำคัญแล้ว ยังให้ผลผลิตสูง (33.72 ตันต่อเฮกตาร์) ส่วนพันธุ์ Blue fragrance มีสมรรถนะการผสมทั่วไปที่มีนัยสำคัญในทางบวกในลักษณะความหวานของเนื้อผล แต่ให้ผลผลิตต่า (13.96 ตันต่อเฮกตาร์) ส่วนค่า SCA ของคู่ผสม 10 คู่ผสม พบว่าคู่ผสม Jianghuai honey #1 x Blue fragrance มีสมรรถนะการผสมเฉพาะที่มีนัยสำคัญในทางบวกในลักษณะผลผลิต (6.608 ตัน/เฮกตาร์) และให้ผลผลิตสูง (36.56 ตันต่อเฮกตาร์) ดังนั้นในการคัดเลือกประชากร พันธุ์ Fragrance princess และคู่ผสม Jianghuai honey #1 x Blue fragrance จึงเป็นประชากรที่เหมาะสมและมีศักยภาพในการนำไปพัฒนาต่อไป
บทคัดย่อ (EN): The research aimed to evaluate the heterosis, general combining ability (GCA) and specific combining ability (SCA) in the inter-varietal hybrids of oriental sweet melon. Five oriental sweet melon varieties (Jianghuai honey #1, Fragrance princess, Blue fragrance, Golden fragrance and Golden jade) were crossed in a diallel fashion excluding reciprocals. The five parental varieties and 10 inter-varietal hybrids were arranged in a randomized complete block design with three replications. The statistical and genetical analyses were determined according to Gardner-Eberhart Analysis II and III. The experiment and hand pollination were conducted in the experimental field of Department of plant production technology, Rajamangala University of Technology Tawan-Ok, Chonburi province, from October, 2013 to June, 2016. The results revealed that significant variety effect was observed for all characters. Heterosis effect was significant for fruit shape index, fruit weight and yield. Overall heterosis partitioned into components showed that average heterosis and variety heterosis were significant for fruit shape index. Specific heterosis was significant for fruit shape index, fruit weight and yield. The cross of Jianghuai honey #1 x Blue fragrance had the highest and significantly positive value of specific heterosis for yield. The contribution of general combining ability (GCA) to genotypic variation in the diallel cross of the oriental sweet melon varieties was significant for all traits except for lateral branches per plant. Specific combining ability (SCA) was significant for fruit shape index, fruit weight and yield. Fragrance princess had the significantly positive value of GCA for yield, and also gave the high yield (33.72 ton/hectare). Blue fragrance had significantly positive GCA for fruit flesh sweetness, but gave low yield (13.96 ton/hectare). The cross Jianghuai honey #1 x Blue fragrance had significantly positive SCA for yield (6.068 ton/hectare), and also gave the high yield (36.56 ton/hectare). Thus, Fragrance princess, and the cross Jianghuai honey #1 x Blue fragrance were suitable and potential for population improvement in the breeding program.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สมรรถนะในการผสมและการปรับปรุงประชากรสวีทเมล่อนจากการผสมข้ามแบบพบกันหมด
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
30 กันยายน 2558
ความดีเด่นของลูกผสมในลักษณะผลและผลผลิตของสวีทเมล่อน การศึกษาแมลงศัตรูเมล่อนในพื้นที่ควบคุม เชื้อก่อโรคกับเมล่อนนำเข้า เชื้อก่อโรคกับเมล่อนสด เกษร เมล่อนฟาร์ม หอม หวาน กรอบอร่อย ชื่นใจ การประเมินสมรรถนะการผสมของข้าวโพดข้าวเหนียวผสมตัวเองชั่วที่ 3 การเปลี่ยนแปลงประชากรตามฤดูกาลของแมลงศัตรูเมล่อน ผลิตภัณฑ์เมล่อนอบกรอบเสริมเชื้อโปรไบโอติก การพัฒนาสายพันธุ์เพศผู้เป็นหมันของข้าวโดยวิธีการผสมกลับและทดสอบสมรรถนะการผสม ศึกษาจำนวนครั้งในการผสมของผีเสื้อตัวผู้ซึ่งมีผลให้ไข่ไหมที่ได้รับการผสมสูงสุด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก