สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาผลของการถ่ายเชื้อราบิวเวอเรียต่อการเจริญเติบโตของราและความรุนแรงในการก่อโรคในแมลง
อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน - สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลของการถ่ายเชื้อราบิวเวอเรียต่อการเจริญเติบโตของราและความรุนแรงในการก่อโรคในแมลง
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of Beauveria bassiana subculturing on the fungal growth and development and its virulence to insect pests
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน
คำสำคัญ: ราบิวเวอเรีย ความรุนแรงในการก่อโรคในแมลง การถ่ายเชื้อ ความถดถอยของเชื้อรา เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง หนอนกะทู้หอม
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ความเปลี่ยนแปลงแบบถดถอยของคุณลักษณะของเชื้อราที่มีการถ่ายเชื้อบนอาหารเลี้ยงเชื้อหลายครั้ง (culture degeneration) เป็นปัญหาสำคัญของการรักษาคุณภาพของจุลินทรีย์เพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เช่น การผลิตสปอร์น้อยลง อัตราการงอกต่ำลง เป็นต้น ส่งผลให้ความรุนแรงในการก่อโรคในแมลง (insect virulence) ต่ำลง ในการศึกษานี้ คณะผู้วิจัยมุ่งเน้นที่จะตรวจสอบผลของการถ่ายเชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) ต่อความรุนแรงในการก่อโรค ของสายพันธุ์ BCC 2660 (ศูนย์พันธุวิศวกรรมฯ สวทช.) ที่มีการถ่ายทอดแก่เกษตรกร โดยคำนึงถึงปัจจัยของจำนวนครั้งของการถ่ายเชื้อต่อเนื่อง (2-12 ครั้ง) และวัสดุที่ใช้ถ่ายเชื้อ โดยจะแบ่งชุดการทดลองดังนี้ (1) ถ่ายเชื้อบน potato dextrose agar (PDA) จำนวน 2, 4, 6, 8, และ 12 ครั้ง (2) ถ่ายเชื้อบน PDA จำนวน 6 ครั้ง ตามด้วยบนซากของแมลงที่ตายและเจริญด้วยราบิวเวอเรีย (mycosed cadaver) จำนวน 2 ครั้ง และถ่ายเชื้อบน PDA จำนวน 10 ครั้ง ตามด้วยบน mycosed cadaver จำนวน 2 ครั้ง คณะผู้วิจัยจะทำการตรวจสอบคุณลักษณะของราบิวเวอเรีย 3 ด้าน ได้แก่ ความรุนแรงในการก่อโรคในเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังและหนอนกะทู้หอมในรูปแบบของ LT50 และ LC50 จำนวนสปอร์ราที่ผลิต อัตราการงอกของสปอร์รา ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครั้งของการถ่ายเชื้อราบิวเวอเรียและประสิทธิภาพการทำลายแมลงของชีวภัณฑ์นี้ และเผยแพร่เป็นองค์ความรู้เพื่อถ่ายทอดแก่หน่วยงานรัฐและเกษตรกรต่อไป</p>
บทคัดย่อ (EN): Culture degeneration is an important problem in frequent subculturing of most fungi and hampers the commercial production of entomopathogenic fungi for the use in insect pest control. These degenerations include, but not limited to, reduced conidiation and reduced germination rate, consequently resulting in marked reduction in insect virulence. In this study, we will determine the effect of fungal subculturing on insect virulence of Beauveria bassiana strains BCC 2660, which has been technologically transferred to growers. We will emphasize on the frequency of subculturing (2-12 times) and culturing material (potato dextrose agar (PDA) vs mycosed cadaver). The study will be divided into 2 treatments: (1) subculturing on PDA for 2, 4, 8, and 12 times. (2) subculturing on PDA for 6 times followed by on mycosed cadavers for twice and subculturing on PDA for 10 times followed by on mycosed cadavers for 2 times. Three characteristics of B. bassiana will be determined and include the insect virulence against cassava mealybug and beet armyworm, conidiation, germination rate, Importantly, the knowledge gained will be beneficial to find a relationship between the number of subculturing and insect virulence in this fungus and can be distributed to agricultural research centers and growers throughout Thailand.</p>
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาผลของการถ่ายเชื้อราบิวเวอเรียต่อการเจริญเติบโตของราและความรุนแรงในการก่อโรคในแมลง
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2559
ราที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมการย่อยสลายแป้งและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรจากระบบนิเวศวิทยาป่าอุทยานสัตว์ป่าอุบลราชธานี ความรุนแรงในการก่อโรคและพันธุกรรมในระดับโมเลกุลของเชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ท้องถิ่นที่เป็นผลมาจากอาหารเทียมและวัสดุเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณสำหรับใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชอย่างยั่งยืน ประสิทธิภาพของสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึมบางชนิดต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Phytophthora parasitica KK8 ซึ่งเป็นสาเหตุโรคโคนเน่าของพลู ความรุนแรงในการก่อโรคและพันธุกรรมในระดับโมเลกุลของเชื้อรา Beauveria bassiana สายพันธุ์ท้องถิ่นที่เป็นผลมาจากอาหารเทียมและวัสดุเพาะเลี้ยงเพิ่มปริมาณสำหรับใช้ประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชอย่างยั่งยืน Physiologic Races ของเชื้อรา Hemileia uastatrix B. & Br การควบคุมศัตรูสำคัญของพริกด้วยเชื้อราสาเหตุโรคและแมลง Beauvaria Bassiana ประสิทธิภาพของการป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทดูดซึมบางชนิดต่อเชื้อรา Phytophthora parasitica NK1 สาเหตุโรคโคนเน่าของพลู ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ผลของสารพิษที่ผลิตโดยเชื้อรา Cercospora canescens จากถั่วเขียว ผลของรา วี-เอ ไมโคไรซ่าต่อการเจริญเติบโตของหน่อไม้ฝรั่ง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก