สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาต้นทุนการผลิตยางชำถุง
สุธี อินทรสกุล - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาต้นทุนการผลิตยางชำถุง
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุธี อินทรสกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อทราบต้นทุนการผลิตยางชำถุงของเอกชนโดยการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ผลิตต้นตอตาและยางชำถุงในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำนวน 24 ราย และในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 15 ราย ผลการศึกษาสรุปได้ว่าการผลิตยางชำถุง เริ่มจากการติดตาต้นกล้ายางในแปลงกล้ายาง แล้วถอนในลักษณะเปลือยรากเรียกต้นตอตา นำต้นตอตามาชำถุงในเรือนเพาะชำ เมื่อตาที่ติดได้แตกออกมาจนกระทั่งใบแก่ ก็พร้อมที่จะนำไปปลูกในแปลง เรียก ยางชำถุง การผลิตต้นตอตาในภาคตะวันออกที่สำรวจมีประมาณ 60ไร่ มีต้นทุนการผลิตไร่ละ 27,478 บาท หรือ ต้นละ 2.15 บาท โดยมากผู้ผลิตต้นตอตาจะชำยางชำถุงเองด้วย ส่วนผู้ชำยางชำถุงในเรือนเพาะชำอย่างเดียวมักจะซื้อต้นตอตามาจากภาคใต้ มีกำลังการผลิตยางชำถุงทั้งสิ้นประมาณ 3 ล้านต้น การผลิตยางชำถุงในเรือนเพาะชำภาคตะวันออกมีต้นทุนไร่ละ 245,954 บาท หรือต้นละ 6.55 สำหรับการผลิตต้นตอตาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำรวจมีประมาณ 100 ไร่ หรือสามารถผลิตต้นตอตาได้ประมาณ 1 ล้านต้น มีต้นทุนการผลิตไร่ละ 29,310 บาท หรือต้นละ 2.29 บาท ส่วนการชำยางชำถุงในเรือนเพาะชำมีต้นทุนไร่ละ 239,950 บาท หรือคิดเป็นต้นทุนต้นละ 6.85 บาท
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2537
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2537
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาต้นทุนการผลิตยางชำถุง
การยางแห่งประเทศไทย
2537
สำรวจโรคและศัตรูสำคัญทางเศรษฐกิจของยางพาราในแปลงกิ่งตายาง แปลงกล้ายาง และแปลงผลิตยางชำถุง ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้เทคนิคการลดอัตราการคายน้ำและการให้น้ำเพื่อลดต้นทุนการผลิตยางพารา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราจากการจุ่มน้ำยาง-สูตรถุงมือยางต้นทุนต่ำและยางรัดผมแฟชั่น การพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตยาง ศึกษาต้นทุนการผลิตยางของประเทศไทย ปี 2536 การศึกษาวิจัยต้นทุนการผลิตเส้นไหมของโรงสาวไหมชุมชน บทปริทัศน์บทความเรื่อง การประกันภัยต้นทุนการผลิตพืชผล ประสิทธิภาพการผลิตและต้นทุนการผลิตในโคเนื้อโดยใช้อาหารหมักและอาหารสัตว์เส้นใย (WDGS) จากวัสดุเหลือทิ้งจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เปรียบเทียบกับการใช้กากเบียร์ การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกสตรอว์เบอร์รี ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2558A17002028 การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตผักเชียงดาและประเมินต้นทุนการผลิตเชียงดาในฟาร์มต้นแบบ  

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก