สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพการผลิตแพะตามกิจกรรมศูนย์ผลิตและกระจายแพะพันธุ์ดี
สุวิทย์ อโนทัยสินทวี - กรมปศุสัตว์
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพการผลิตแพะตามกิจกรรมศูนย์ผลิตและกระจายแพะพันธุ์ดี
ชื่อเรื่อง (EN): Productive performance of goat raising in goat producing and extension project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุวิทย์ อโนทัยสินทวี
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะทั่วไปและประสิทธิภาพในการผลิตแพะของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ผลิตและกระจายแพะพันธุ์ดีในพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี สงขลา และสตูล สำรวจข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จำนวน 84 ราย พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 เพศชาย อายุเฉลี่ย 48 ปี นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 84.5 มีสถานภาพสมรสร้อยละ 90.4 การศึกษาร้อยละ 52 จบชั้นประถม ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 82.1 และร้อยละ 54.8 ไม่มีอาชีพรอง มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัว 360,384 บาทต่อปี เป็นรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 257,723.9 บาทต่อปี นอกภาคการเกษตร 226,934.2 บาทต่อปี มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 38.9 ไร่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.1 ไม่มีการกู้ยืม มีวัตถุประสงค์เลี้ยงแพะเพื่อจำหน่าย เพื่อบริโภค เพื่อใช้ในพิธีกรรม และเพื่อความเพลิดเพลินในอัตรา 97.6, 63.1, 58.3 และ25.0 ตามลำดับ จำนวนแพะที่เลี้ยงเฉลี่ย 74 ตัว ส่วนใหญ่ร้อยละ72.6 เลี้ยงแพะไม่เกิน 50 ตัว อัตราคุมฝูงแพะพ่อพันธุ์เฉลี่ย 2.8 ตัว แม่พันธุ์เฉลี่ย 35 ตัว (1 : 13) วิธีการเลี้ยงดูส่วนใหญ่ร้อยละ 59.5 เลี้ยงแบบยืนโรง เกษตรกรทุกรายมีโรงเรือนเลี้ยงแพะแบบยกพื้นสูงเฉลี่ย 155 เซนติเมตร มีพื้นที่โรงเรือนเฉลี่ย 100 ตารางเมตร เกษตรกรส่วนใหญ่จำหน่ายแพะให้กับผู้ซื้อเพื่อนำไปใช้ในพิธีกรรม บริโภค เลี้ยงต่อ และจำหน่ายต่อในอัตรา 91.7, 86.9, 63.1 และ 19.0 ตามลำดับ ร้อยละ 89.3 จำหน่ายแบบชั่งน้ำหนักที่มีชีวิต และร้อยละ 59.5 มีความพอใจกับราคาที่จำหน่ายแพะได้ในระดับปานกลาง เกษตรกร 3 ใน 4 ส่วน เห็นว่าแพะยังมีน้อยไม่พอกับความต้องการของตลาด ด้านประสิทธิภาพการเลี้ยง พบว่าแพะพันธุ์ลูกผสมแองโกลนูเบี้ยน ลูกผสมบอร์ และบอร์พันธุ์แท้ ส่วนใหญ่เกิดลูกเดี่ยวในอัตราร้อยละ 62.85, 53.9 และ48.87 ตามลำดับ ส่วนแพะซาเนนร้อยละ 54.22 ให้ลูกแฝดสอง แพะพันธุ์ลูกผสมบอร์มีอัตราการเลี้ยงรอดสูงร้อยละ 96.0 ส่วนแพะที่เลี้ยงยากอัตราการรอดต่ำคือแพะพันธุ์บอร์พันธุ์แท้ อัตราการรอดก่อนหย่านมร้อยละ 87.22 อัตราการตายก่อนหย่านมเฉลี่ยทุกสายพันธุ์ร้อยละ 7.62 น้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ยทั้ง 4 สายพันธุ์เรียงจากมากไปน้อยคือพันธุ์บอร์, ลูกผสมบอร์, ลูกผสมแองโกลนูเบี้ยน และลูกผสมซาเนน มีน้ำหนักแรกเกิด 2.90?0.92, 2.85?0.55, 2.40?0.35 และ 2.28?0.45 กิโลกรัม ตามลำดับ ลูกเดี่ยวมีน้ำหนักแรกเกิดสูงสุด 2.72?0.60 กิโลกรัม และลูกแฝดสี่ น้อยสุด 2.18?0.56 กิโลกรัม น้ำหนักหย่านม (90วัน) พบว่าบอร์, ลูกผสมบอร์, ลูกผสมซาเนน และลูกผสมแองโกลนูเบี้ยน มีน้ำหนักหย่านม 17.07?4.59, 15.74?4.25, 13.76?4.06 และ 13.65?3.75 กิโลกรัม ตามลำดับ อัตราการเจริญเติบโตระหว่างแรกเกิด – หย่านม แพะพันธุ์บอร์โตเร็วที่สุด 157.44 กรัม/วัน จำนวนลูกเกิดของแพะพันธุ์บอร์ และ ลูกผสมแองโกลนูเบี้ยนมีจำนวนใกล้เคียงกันคือ 1.18 และ1.17 ตัว/แม่/ปี จำนวนลูกหย่านม แพะพันธุ์ลูกผสมแองโกลนูเบี้ยนให้ลูกหย่านมสูงสุด 1.12 ตัว/แม่/ปี ในส่วนของปัญหาการเลี้ยงแพะของเกษตรกรจะมีปัญหาโดยเรียงจากน้ำหนักมากไปน้อยพบว่าเกษตรกรมีปัญหาด้าน 1) โรคและการดูแลรักษาโรค 2) ด้านอาหารและการให้อาหาร 3) ด้านพันธุ์แพะ 4) ปัญหาด้านการตลาด 5) ปัญหาขาดเงินทุน ซึ่งมีข้อเสนอแนะจากเกษตรกรว่า 1) ให้รัฐสนับสนุนด้านยาและเวชภัณฑ์ 2) ให้รัฐจัดฝึกอบรมให้ความรู้ด้านโรคและการดูแลรักษาโรค 3) ให้รัฐสนับสนุนหรือช่วยเหลือด้านอาหารสัตว์ 4) ให้รัฐสนับสนุนพันธุ์แพะ 5) ให้รัฐจัดตั้งตลาดกลาง และการประชาสัมพันธ์ 6) ให้หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือปลอดดอกเบี้ย
บทคัดย่อ (EN): The research was aimed to study general goat productive performance of Goat Breeder and Multiplier Project Farmer in the province of Yala, Narathiwas, Pattani and Satun. Questionnaire was used for interview and data collection. Eighty-four farmer were interviewed. It was found that, 85.7% of the farmer were male and the average age was 48 years old. Most of them were Muslim (84.5%) and 90.4% were married. Fifty-two percent of the farmer were educated at primary school. Most of goat keeper (82.1%) were farmer and 54.8% practice farming only. Their average income were 360,384 Baht per year, while 257,723.9 Baht come from agricultural sector. Average land holding was 38.9 Rai (15.38 acre) per farm. Fifty-seven (57.1) percent of the farmer were running their farm without loan. The purpose of keeping goat was for selling, home consumption, religion ceremony consumption and partly for entertainment or enjoyment (97.6, 63.1, 58.3 and 25.0, respectively). The average number of goat per farm was 74 goats. Seventy-two (72.6) percent of goat keeper kept less than 50 goats. The ratio between buck and does was 2.8 : 35 (or 1:13). Fifty-nine (59.5) percent of the goat keeper kept their goats as zero grassing. All goat farmer built goat barn with the average floor height of 155 cm. Average area of goat barn was 100 square meter. Customers bought goats from the farmer with the purpose of religion ceremony consumption, private consumption, farming and as a middle man (91.7, 86.9, 63.1 and 19%, respectively). Eighty-nine (89.3) percent of the farmer scaled their goat before calculate goat price. Fifty-nine (59.5) percent of goat farmer fell fair with the selling price. Three fourth of the farmer comment that, goat was not sufficient for demand of the market. Type of birth with single born in Anglonubian crossbred, Boer crossbred and Boer were 62.85%, 53.9% and 48.8%, respectively. Fifty-four (54.22) percent of Saanen gave twin birth. Boer crossbred had the highest survival rate (96%), while the lowest survival rate was Boer. Pre-weaning survival rate was 87.22%. Average pre-weaning mortality rate of all breed was 7.62%. Average birth weight of Boer, Boer crossbred, Anglonubian crossbred and Saanen crossbred were 2.90?0.92, 2.85?0.55, 2.40?0.35 and 2.28?0.45 kg, respectively. Average birth weight per kid from type of birth, single born had the highest weight of 2.72?0.60 kg while quad born had the weight of 2.18?0.56 kg. Ninety days old weaning weight of Boer, Boer crossbred, Saanen crossbred and Anglonubian crossbred were 17.07?4.59, 15.74?4.25, 13.76?4.06 and 13.65?3.75 kg, respectively. Boer goat had the highest average daily gain from birth to weaning of 157.44 gram per day. The average kidding rate per year between Boer and Anglonubian crossbred was similar (1.18 and 1.17 kid /does). Anglonubian crossbred had the highest survival rate at weaning per year of 1.12 kid /does. The ranking of problem for the farmer to run a goat farm were : 1) disease and treatment, 2) nutrition (Feed and Feeding), 3) breed for breeding, 4) marketing, 5) investment. While farmer suggestion were : 1) subsidize of chemical and injection for disease treatment from government sector, 2) education and training in disease control and treatment, 3) subsidize of animal feed from government sector, 4) subsidize of goat for breeding from government sector, 5) settlement of central goat market, 6) provide special soft loan for goat farmer.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมปศุสัตว์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพการผลิตแพะตามกิจกรรมศูนย์ผลิตและกระจายแพะพันธุ์ดี
กรมปศุสัตว์
30 กันยายน 2556
กรมปศุสัตว์
การใช้โปรไบโอติคกลุ่มแซคคาโรไมซีส (Saccharomyces cerevisiae) และน้ำหมักแบคทีเรียแลคติคร่วมกับแหล่งวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่นในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตแพะเนื้อ การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว จังหวัดชัยนาท การผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่ายข้าว โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพผลผลิตการเกษตรในความรับผิดชอบของศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ผลของชนิดและระดับของกรดไขมันในอาหาร ต่อจุลินทรีย์ในรูเมนความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะ การผลิตแก๊สมีเทน ประสิทธิภาพการให้ผลผลิต และคุณภาพเนื้อของแพะ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลือง 1.1 ประสิทธิภาพการผลิตของแม่สุกรพันธุ์แลนด์เรซสายพันธุ์นอร์เวย์ของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตากในสภาพฟาร์มเกษตรกร 1. ประสิทธิภาพการผลิตของแม่สุกรพันธุ์แลนด์เรชของกรมปศุสัตว์ในสภาพฟาร์มเกษตรกร (1.1 ประสิทธิภาพการผลิตของแม่สุกรพันธุ์แลนด์เรซสายพันธุ์นอร์เวย์ของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตากในสภาพฟาร์มเกษตรกร) การผลิตและประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตอ้อย ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัดขอนแก่น

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก