สืบค้นงานวิจัย
สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 ในจังหวัดสุรินทร์
นางอรทัย สมใส - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 ในจังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นางอรทัย สมใส
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษา สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร ผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 จังหวัดสุรินทร์ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน และ 2) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ เกษตรกรที่ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 3,065 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จำนวนตัวอย่าง 354 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ (Interview Schedule) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฉิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลเป็นเพศชาย ร้อยละ 53.39 มีอายุเฉลี่ย 45.34 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.96 คน มีพื้นที่ทำการเกษตร และพื้นที่ในการทำนาใกล้เคียงกันเฉลี่ย 23.19 ไร่ และ 23.38 ไร่ ลักษณะการครอบครองที่ดินเป็นของตนเอง ชนิดดินนาส่วนใหญ่ มีที่นาเป็นดินร่วนปนทราย พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกคือ ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 348.86 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับวิธีการปลูกข้าว เกษตรกรใช้วิธีทั้งหว่านและดำ, หว่านอย่างเดียวและดำอย่างเดียวใกล้เคียงกัน การใช้ปุ๋ยเคมีเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนา ร้อยละ 95.48 โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ปุ๋ยเคมี 2 ครั้งต่อฤดู ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ที่เกษตรกรใช้ส่วนใหญ่เป็นปุ๋ยพืชสด ร้อยละ 87.85 แหล่งที่มาของปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ได้จากหน่วยงานราชการสนับสนุน สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยพืชสด โดยทำการหว่านก่อนข้าว ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ในอัตราเฉลี่ย 7.85 กิโลกรัมต่อไร่ การใช้ปุ๋ยคอก โดยวิธีหว่านปุ๋ยคอกทิ้งไว้ในนาโดยไม่มีการไถกลบ อัตราเฉลี่ย 237.99 กิโลกรัมต่อไร่ ความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ ขาดความรู้ ในเรื่องปุ๋ยพืชสดเมื่อไถกลบแล้วสามารถปลูกข้าวได้เลยสำหรับปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว ปรากฏว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว ในส่วนของเกษตรกรที่มีปัญหาในการใช้ส่วนใหญ่ จะตอบว่าต้องใช้ในปริมาณมากร้อยละ 14.68 ความต้องการในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร้อยละ 94.91 มีความต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวต่อไป เหตุผลที่มีการใช้เกษตรกร ช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้นร้อยละ 70.33 สำหรับเกษตรกรที่ไม่ต้องการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่อไปตอบว่า ต้องใช้ในปริมาณมาก ร้อยละ 12.42 และความต้องการให้ทางราชการช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.96 ต้องการให้ทางราชการจัดอบรมให้คำแนะนำการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้ถูกต้องต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2543
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2545
เอกสารแนบ: https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/152070
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดสุรินทร์
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 ในจังหวัดสุรินทร์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2545
เอกสารแนบ 1
การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตและปัญหาความต้องการพัฒนาการผลิตข้าวหอมมะลิของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 จังหวัดสกลนคร ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 - 2545 ต่อโรงเรียนเกษตรกร ในอำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวพันธุ์ดีของเกษตรกร : กรณีศึกษาโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543-2546 จังหวัดสกลนคร การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริม และผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 ในตำบลหัวงัว อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่อการดำเนินงานโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 - 2546 ในตำบลดงแดง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด การใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรผู้ร่วมโครงการ ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ สภาพการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวของเกษตรกรตามแนวทางเกษตรดีที่เหมาะสม (GOOD AGRICULTURAL PRACTICE) ภายใต้โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2543 ในจังหวัดหนองคาย

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก