สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนากระบวนการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำพริกแกงชุมชนบ้านทอน – อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
สุทธิรักษ์ ผลเจริญ - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำพริกแกงชุมชนบ้านทอน – อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุทธิรักษ์ ผลเจริญ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การพัฒนากระบวนการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำพริกแกงชุมชนบ้านทอน-อม อำเภอ ทุ่งตะโก จงหวัดชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตน้ำพริกแกงให้ได้มาตรฐาน และ การศึกษาหลักการขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีระบบ โดยการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ การตลาด รวมถึงการพัฒนาและออกแบบเครื่องมือการผลิตที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จากการ ดำเนินการศึกษาพบว่า กลุ่มชุมชนบ้านทอน-อม ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ซึ่ง ดำเนินการผลิตพริกแกงเพื่อจำหน่ายในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง มีความต้องการปรับปรุงกระบวนการผลิต น้ำพริกแกงให้ได้มาตรฐาน และยืดอายุน้ำพริกแกงให้กับกลุ่ม โดยมีกลุ่มประชากรเป้าหมายคือ กลุ่มชุมชน บ้านทอน-อม ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายเลขที่ 68/1 บ้าน ทอน–อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ด้วยการฝึกอบรมและให้ทำการปฏิบัติจริงในท้องถิ่น ทำการ วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มมีความรู้เกี่ยวกับหลักการผลิต ที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะเป็นไปตามาตรฐาน GMP โดยประยุกต์ให้เข้ากับสภาวะ การทำงานจริง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ได้เข้าไปดำเนินการปรับรุงกระบวนการผลิตน้ำพริกแกงตาม หลักการผลิตตามวิธีการที่ดี และอบรมการยืดอายุน้ำพริกแกงโดยทำการบรรจุน้ำพริกแกงในกระปุกที่มีฝา ปิ ดสนิท และต้มในน้ำเดือดเป็นเวลา 30 นาที และนำไปเก็บที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส พบว่าน้ำพริกแกง สามารถมีอายุการเก็บได้นานถึง 80 วัน เป็นอย่างน้อย กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกงชุมชนบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร เป็นกลุ่มที่มีการผลิต ตามความถนัดของสมาชิกเป็นหลัก ทางกลุ่มมีความต้องการพัฒนาการผลิตสินค้าและการออกแบบบรรจุ ภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงการค้นหาที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้คุณภาพ ซึ่งส่งผลให้กลุ่มเกิดความรู้ มีอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่ม ซึ่งเป็นศักยภาพที่นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและการพัฒนา อย่างยั่งยืน โดยทำให้ได้เกิดการแลกเลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มจนได้แนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงบรรจุ ภัณฑ์ และตราสินค้าที่เป็นต้นแบบกับชุมชน การวิจัยเพื่อพัฒนาและออกแบบเครื่องมือการผลิตโดยการใช้พลังงานทดแทนผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกง ของชุมชนบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ใน กระบวนการผลิตน้ำพริกแกงโดยนำระบบพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้แก่กลุ่ม ผู้ผลิต เนื่องจากกระบวนการผลิตน้ำพริกของชุมชนเป็นระบบการผลิตแบบง่าย มีการนำเครื่องบดมาใช้เป็น เครื่องมือในการทำน้ำพริกแกง ซึ่งลักษณะการใช้งานในกระบวนการผลิตพบว่าใช้ระยะเวลาในการบด น้ำพริกแกง 2-3 รอบเพื่อให้น้ำพริกแกงมีความละเอียดตามความต้องการของตลาด ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการ วางแผน ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือในการผลิตน้ำพริกแกงให้มีความเหมาะสมโดยนำพลังงาน แสงอาทิตย์มาเป็นตัวช่วยในการผลิตกระแสไฟฟ้า สำหรับกระบวนการบดน้ำพริกแกง ซึ่งจะสามารถช่วยลด ขั้นตอนการผลิต และประหยัดค่าไฟฟ้าของผู้ผลิตแล้วยังสามารถนำพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าได้ไปใช้ใน ครัวเรือนได้อีกทางหนึ่งด้วย โครงการวิจัยนี้ จึงสามารถพัฒนายกระดับกระบวนการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำพริก แกงบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร โดยสามารถนำความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อ จัดทำกรอบแนวคิดผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์นำเสนอสู่ตลาดร่วมกับชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูป น้ำพริกแกงบ้านทอน-อม ในการผลิตน้ำพริกแกง เพื่อใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน ซึ่งเป็นการ ยกระดับกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำพริกแกงบ้านทอน-อมในอนาคต ทั้งนี้นอกจากจะยังผลให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ แปรรูปน้ำพริกแกงบ้านทอน-อม ได้รับองค์ความรู้ในการผลิตนี้ โดยจะช่วยให้มียอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สูงขึ้นแล้ว ยังสามารถนำไปขยายผลใช้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ได้ด้วย
บทคัดย่อ (EN): Production process development and marketing of safety style processed products Curry paste at Baan Thon- Om community, Thung Tako District, Chumphon province has a purpose to production process development to the Good Manufacturing Practice (GMP) process and study procedures of stemtic product development by the transfer knowledge about the systematic product development systematically, marketing and development solar power tool design. The study Baan Thon- Om community, Thung Tako District, Chumphon province is the community enterprise which produces traditional curry paste products. However, the products obtained have short shelf life due to lacking of knowledge in good manufacturing practice (GMP). This research aimed to improve the process and extend storage. As the target population were 20 farmers in 68/1 Baan Thon- Om community, Thung Tako District, Chumphon province. This project had provided the training and practicing, analysis is paste product within scientific method. So that group members had knowledge of the principles of hygienic products featured product comply with community standard. Maejo-Chumphon University offered suggestion and consultancy services on GMP guidelines. Techniques in extending shelf life introduced to member of the group was sterilization on curry paste which was packed and sealed in bottle plastics and storage at 20 ?C. The result showed that the shelf life could be extended to 80 days. The curry paste production group in Baan Thon-Om community, Thung Tako Ditrict, Chumphon Province is the group that produced the product according to the aptitude of is members. The group has a desire to develop product design and packaging design to meet consumer needs including a desire to improve the quality of production. This results in the group of knowledge, career, supplement, increase income. This potential leads to self-reliance and sustainable development. After being development, the group has a management systemResearch to develop and design production tools by using alternative energy products in Baan Thon-Om community, Thung Tako Ditrict, Chumphon. This research is to study and develop the tools used in curry paste production by using solar energy to produce electricity for the producers. Because the process of producing curry paste is a simple production system. The grinder is used as a tool to make curry paste. The process used in the production process is to use the time to grind 2-3 curry paste to the curry paste to meet the needs of the market. Researchers have the concept of planning. Design and development of tools to produce curry paste suitable for solar power generation. For grinding process curry paste. This can help reduce the production process. And the electricity cost of the manufacturer can also bring electric power to produce electricity to use the household again. This research project can improved the production process and marketing of processed curry paste in Baan Thon-Om community, Thung Tako Ditrict, Chumphon. They can apply knowledge about product development to conceptualize the product, to develop products to market with the community of processed curry paste products Baan Thon-Om community, to use to increase the capacity of the community. This is to upgrade the group of curry paste products Baan Thon-Om in the future. n addition to the result, the product group of curry paste has gained knowledge in this production. It will help to have higher sales. It can also be extended to other community enterprises.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-59-087
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2559
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559
เอกสารแนบ: http://researchex.rae.mju.ac.th/research60/library/ab/MJU1-59-087.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนากระบวนการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำพริกแกงชุมชนบ้านทอน – อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2559
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างมีระบบสำหรับน้ำพริกแกงชุมชนบ้านทอน-อมอำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร การพัฒนากลยุทธ์การตลาดวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านแคว ตำบลท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาวิธีการแปรรูปและการเก็บรักษามังคุด การพัฒนารูปแบบการจัดการการตลาดของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน การยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปพริกแกงเข้าสู่ระบบมาตรฐาน GMP ของชุมชนบ้านทอน – อม อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร การพัฒนาผู้ประกอบการท้องถิ่น และการตลาดท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอสันกำแพง จังหวัด เชียงใหม่ ปริมาณสารเภสัชกรรมของผลิตภัณฑ์น้ำตาลอ้อยและการศึกษาพัฒนากระบวนการผลิตน้ำตาลอ้อยแบบเกล็ด การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตเอทานอลคุณภาพสูงจากข้าวโพดเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน การพัฒนารูปแบบการตลาดเนื้อโคและผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการส่งเสริมการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาสินค้า OTOP ในภาคตะวันออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก