สืบค้นงานวิจัย
การประมงหมึกกล้วยในอ่าวไทย
วราภรณ์ เดชบุญ, อนุชา ส่งจิตต์สวัสดิ์, นิภา กุลานุจารี, ศันสนีย์ ศรีจันทร์งาม, กฤษฎา ธงศิลา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การประมงหมึกกล้วยในอ่าวไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Squid Fisheries in Thai Waters
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ศึกษาการประมงหมึกกล้วยในอ่าวไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลอวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง อวนลากคู่ และอวนครอบหมึก บริเวณท่าเทียบเรือในเขตจังหวัดชายฝั่งอ่าวไทย จำนวน 10 จังหวัด ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2551 พบว่าเรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก มีแหล่งทำการประมงครอบคลุมพื้นที่ระดับความลึก 10-57 เมตร เรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดกลาง มีแหล่งทำการประมงครอบคลุมพื้นที่ระดับความลึก 12-76 เมตร สำหรับเรืออวนลากคู่มีแหล่งทำการประมงครอบคลุมพื้นที่ระดับความลึกตั้งแต่ 15-60 เมตร โดยมีการทำประมงหนาแน่นที่ระดับความลึก 40-50 เมตร และเรืออวนครอบหมึก มีแหล่งทำการประมงอยู่ทั่วอ่าวไทยในบริเวณน้ำลึกไม่เกิน 50 เมตร โดยที่เรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง อวนลากคู่ และอวนครอบหมึกมีอัตราการจับเฉลี่ยเท่ากับ 23.724 38.340 114.463 กก./ชม. และ 139.061 กิโลกรัม/ลำ/วัน ตามลำดับ โดยผลจับของเรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง อวนลากคู่ และอวนครอบหมึกประกอบด้วยหมึกกล้วย ร้อยละ 7.98 9.90 16.52 และ 89.16 ตามลำดับ ในองค์ประกอบของปลาเป็ดของเรืออวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และอวนลากคู่ มีหมึกกล้วย ร้อยละ 0.67 0.62 1.11 ตามลำดับ หมึกกล้วยในกลุ่มสัตว์น้ำเศรษฐกิจจากผลจับของเครื่องมือประมงแต่ละประเภทมีขนาดความยาวเฉลี่ยมากกว่าในกลุ่มปลาเป็ดอย่างชัดเจน และขนาดหมึกกล้วยในชนิดเดียวกันที่ถูกจับจากเครื่องมือประมงแตกต่างกัน และในแต่ละพื้นที่มีขนาดไม่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
บทคัดย่อ (EN): Study on squid fisheries caught by commercial trawlers in the Gulf of Thailand was conducted by collecting data from small otter board trawlers, medium otter board trawlers, paired trawlers and squid falling nets at fishing ports of 10 provinces along the Gulf of Thailand during January - December 2008. The results showed that the fishing ground of small otter board trawlers was 10-57 meters in depth. For medium otter board trawlers, the fishing ground was 12-76 meters in depth. The fishing ground of paired trawlers in the Gulf of Thailand was 15-60 meters in depth. For squid falling nets, the fishing ground was less than 50 meters in. The average catch per unit effort of small otter board trawlers, medium otter board trawlers, paired trawlers and squid falling nets was 23.724, 30.340, 114.463 kg/hr and 139.061 kg/boat/day, respectively. The compositions of squid were 7.98%, 9.90%, 16.52% and 89.16% of economic marine species, respectively. The squid compositions of trash fish of small otter board trawlers, medium otter board trawlers, paired trawlers were 0.67%, 0.62% and 1.11%, respectively. The size of squid in economic marine resource group of all type of gears was apparently bigger than the size of same species in trash fish group. The size of squid species caught by all type of gears and different zone were not clearly difference.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-05-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประมงหมึกกล้วยในอ่าวไทย
กรมประมง
31 พฤษภาคม 2552
กรมประมง
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร หมึกกล้วย ผลกระทบของการประมงลอบหมึกสายบริเวณอ่าวไทยตอนกลาง ทรัพยากรประมงจากการประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวไทยตอนใน สภาวะแวดล้อมเขตชายฝั่งในอ่าวไทย สภาวะการทำประมงลอบหมึกในน่านน้ำไทย การประมงหมึกกระดองจากเครื่องมืออวนลากพาณิชย์ในอ่าวไทย ชีววิทยาปลาข้างเหลืองชนิด Selaroides leptolepis (Cuvier, 1833) ในอ่าวไทย ชีววิทยาการสืบพันธุ์ของหมึกกล้วยชนิด Photololigo duvaucelii (d’Orbigny, 1835) และ P. chinensis (Gray, 1849) บริเวณอ่าวไทย การศึกษาการประมงบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ความสูญเสียทางการเงินและผลกระทบต่อการค้าในการทำการประมงอวนลากคู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก