สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาเปรียบเทียบการปลูกกัญชงทดแทนข้าวโพดในเขตพื้นที่สูงของภาคเหนือตอนบน
จักรพงษ์ พวงงามชื่น - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบการปลูกกัญชงทดแทนข้าวโพดในเขตพื้นที่สูงของภาคเหนือตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Comparison of Hemp Growing to Substituti on Corn in High Land of Northern Thailand
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จักรพงษ์ พวงงามชื่น
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Jukkaphong Poungngamchuen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: พูนพัฒน์ พูนน้อย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ปัญหาหมอกควันภาคเหนือตอนบนของไทย ถือเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกฝ่ายกำลังพยายามแก้ไขปัญหานี้อยู่ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงด้านสุขภาพแก่ประชาชนทุกคน โดยผลที่ได้จากงานวิจัยนี้จะเป็นอีกทรงเลือกหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาถึงบริบทชุมชน ความพร้อมและความต้องการปลูกกัญชงทดแทนข้าวโพดของเกษตรกร รวมถึงเปรียบเทียบระบบการปลูกระหว่างกัญชงและข้าวโพด และสรุปความเป็นไปได้ในการปลูกกัญชงทดแทนข้าวโพด เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มอย่างไม่เป็นทางการกับเกษตรกรจำนวน 185 รายใน 42 อำเภอ 7 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ที่ได้รับการส่งเสริมการปลูกกัญชงจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรใน 7 จังหวัดภาคเหนือตอนบนเคยมีการปลูกกัญชงมาก่อนด้วยวิธีดั้งเดิม เพื่อใช้ในงานศพตามประเพณีของชาวม้ง โดยปัจจุบันเกษตรยกเลิกการปลูก เนื่องจากวิธีการปลูกและแปรรูปมีกระบวนการยุ่งยากซับซ้อน โดยปัจจุบันเกษตรกรประมาณสองในสาม (ร้อยละ 66.04) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกกัญชงในระดับปานกลาง มีความพร้อมด้านการจัดการศัตรูพืช (ร้อยละ 55.78) และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมากที่สุด (ร้อยละ 55.42) และมีความต้องการปลูกกัญชงทดแทนข้าวโพดในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.12) โดยปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการปลูกกัญชงบนพื้นที่สูงของเกษตกร ได้แก่ อาชีพหลัก และประสบการณ์ทางการเกษตร โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ เชิงกฎหมาย และมีความเป็นไปได้ในการปลูก กัญชงทดแทนข้าวโพดบนพื้นที่สูง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของปัญหาหมอกควันของภาคเหนือตอนบน
บทคัดย่อ (EN): Effect of smog from maize stover burning is severer impact to Thai population in Northern Thailand. Currently, Thai government is troubleshooting and takes it as a serious national agenda. Results from the study will be one of the elective solution. Thus, the study aimed to review community context, readiness, needs, comparison of cultivation system, and possibility of growing hemp for reducing effect of maize stover burning. A set of interview schedules and informal discussion technique were used for data collection administered with 185 farmers in 42 districts, 7 provinces of northern Thailand, who are in the extension area of growing hemp by Highland Research and Development Institute. Obtained quantitative data were analyzed by using descriptive statistics and content analysis for qualitative data. The results shown that, in the past, hemp has been cultivated in 7 provinces of northern Thailand among Hmong people by primitive way for cremation ceremony. Because of the trouble and difficulty, hemp cultivation has been cancelled. Recently, two-third of farmers (66.04%) had moderate level in knowledge and understanding of growing hemp. Farmers had high level of pest prevention management (55.78%) and post-harvest (55.42%) in terms of readiness of growing hemp and had high level (x ? = 4.12) in need of growing hemp for reducing effect of smog from maize stover burning. The following factors having an effect on needs of growing hemp: main career, and agricultural experiences. As a whole, there were commercial and law possibility supporting growing hemp for reducing effect of smog from maize stover burning in Thailand
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะผลิตกรรมการเกษตร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-60-003
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 297,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560
เอกสารแนบ: http://mdc.library.mju.ac.th/research/2564/jukkaphong_poungngamchuen_2561/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2560
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาเปรียบเทียบการปลูกกัญชงทดแทนข้าวโพดในเขตพื้นที่สูงของภาคเหนือตอนบน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2560
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลกระทบของการปลูกกาแฟต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อมของเกษตรกรบนที่สูงในภาคเหนือตอนบน การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเพื่อเพิ่มผลผลิตในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย สมดุลธาตุอาหารในระบบการปลูกปลูกหมุนเวียนข้าว - ถั่ว บนพื้นที่สูงใน ภาคเหนือของประเทศไทย ประสิทธิภาพการผลิตลำไยของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน ประสิทธิผลการผลิตข้าวเพื่อสุขภาพเปรียบเทียบกับข้าวพันธุ์อื่นในเขตภาคเหนือตอนบน การศึกษาศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมในเขตภาคเหนือตอนบน การพัฒนาระบบเกษตรนาแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การศึกษาระบบการผลิตและความยั่งยืนของกลุ่มเกษตรอินทรีย์ในเขตภาคเหนือตอนบน การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน ประสิทธิผลการผลิตข้าวแปลงใหญ่ของเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก