สืบค้นงานวิจัย
การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดเพชรบุรี
สาธิต ทยาพัชร - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Rice production potential zoning in Petchaburi province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สาธิต ทยาพัชร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Satit Tayapat
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวของจังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2555 มีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ เก็บตัวอย่างดินและข้าวจากแปลงนาเกษตรกรและจัดทำแปลงทดสอบเทคโนโลยี ผลการศึกษาพบว่า พันธุ์ข้าวที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย พันธุ์ชัยนาท 1 พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 60 และสุพรรณบุรี 1 ผลการทดสอบเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ย ดำเนินการ 2 ฤดู จำนวน 12 แปลง พบว่า พื้นที่ L1 ใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของทางราชการ (F1) ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,067 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (F2) ให้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 1,222 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร (F3) ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 1,124 กิโลกรัมต่อไร่ พื้นที่ L2 ใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธี F1 F2 และ F3 ให้ผลิตข้าวเฉลี่ย 1,058 990 และ 1,001 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ในขณะที่พื้นที่ L3 ได้ผลิตข้าวเฉลี่ย 969 885 และ 813 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธี F1 F2 และ F3 และผลิตข้าวเฉลี่ย 779 819 และ 716 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับพื้นที่ L4 ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าการใช้เทคโนโลยีการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวและลดต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย
บทคัดย่อ (EN): Rice production potential zoning of Petchaburi province had been conducted from 2010 to 2012. Research methodology composted of general rice production information collection, soil sampling and crop cutting from farmer field, and field experiment. The research found that there were 4 major rice varieties growing in the area Chainat1, Phitsanulok2, Suphanburi60 and Suphanburi1. The field experiments for comparing of fertilizer application were conducted 2 seasons at 12 locations. The results showed that L1 area, recommended fertilizer application (F1) gave the average yield of 1,067 kg/rai, while fertilizer application base on soil analysis (F2) gave the average yield of 1,222 kg/rai. Farmers’ practice of fertilizer application (F3) gave the average yield of 1,124 kg/rai. In the L2 area, average yield of F1, F2, and F3 were 1,058, 990, 1,001 kg/rai, respectively. While in the L3 area, were 969, 885, 813 kg/rai of F1, F2, and F3, and 779, 819, 716 kg/rai of F1, F2, and F3 for L4, respectively. These results showed that use of appropriated fertilizer application could increase rice yield and decreased cost dramatically.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/bitstream/001/5690/1/2555C-PCR-OP10-p.127-135.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดเพชรบุรี
กรมการข้าว
2556
เอกสารแนบ 1
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสุโขทัย การเพิ่มผลผลิตข้าวจากการจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวของภาคใต้ การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสิงห์บุรี การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดนครศรีธรรมราช การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวในเขตจังหวัดชัยนาท การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าว จังหวัดนครราชสีมา การจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ และสมุทรสงคราม

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก