สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาชุดตรวจ strip test ต่อโปรตีน ICP11 ของไวรัสตัวแดงดวงขาว
ศิวาพร ลงยันต์ - มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดตรวจ strip test ต่อโปรตีน ICP11 ของไวรัสตัวแดงดวงขาว
ชื่อเรื่อง (EN): Development of immunochromatographic strip test against ICP11 protein of white spot syndrome virus
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิวาพร ลงยันต์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ได้คัดเลือกโมโนโคลนอลแอนติบอดี (MAb) 2 ชนิดคือ W11 และ W16 ที่จำเพาะต่อโปรตีน ICP11 ของไวรัสตัวแดงดวงขาว (WSSV) เพื่อนำมาพัฒนาเป็นชุดตรวจสะดวกใช้ โดยใช้ MAb WI11 เชื่อมต่อ กับคอลลอยด์ทองคำเป็นตัวตรวจสอบและแผ่น nitrocellulose membrane ขีดด้วย MAb WI16 เป็นตัวจับ แอนติเจนและแอนติบอดีที่รวมกันบริเวณเส้นแสดงผล (T) และขีดที่เส้นควบคุม (C) ด้วย goat anti-mouse IgG antibody (GAM) สำหรับจับ MAb W11 ที่ไม่จับแนติเจน ชุดตรวจสะดวกใช้นี้วางในกรอบพลาสติก ห่อในถุงปราศจากความชื้น การใช้ชุดตรวจทำโดยหยดเนื้อเยื่อยดละเอียดจากขาว่ายน้ำละลายในบัฟเฟอร์ ปริมาตร 100 มl ลงในช่องรับตัวอย่าง โปรตีน ICP11 จากกุ้งที่ติดเชื้อ WSSV จะจับกับ MAb W11 เชื่อม ต่อกับคอลลอยด์ทองคำและไหลไปบน nitrocellulose membrane แล้วถูกจับโดย MAb W16 จับและ สะสมบริเวณ T ปรากฏเป็นแถบสีม่วงแดงขึ้น ส่วน MAb WI11 ที่ไม่จับแอนติเจนจะไหลผ่านเส้น T และถูก จับโดย GAM บริเวณ C ในตัวอย่างที่ไม่มีไวรัส WSSV หรือติดเชื้อต่ำกว่ความไวของชุดตรวจจะเกิดแถบสี เฉพาะบริเวณ C เท่านั้น ชุดตรวจใหม่นี้มีความไวสูงกว่าชุดตรวจเดิมที่ใช้ MAb จำเพาะต่อโปรตีน VP28 ประมาณ 40 เท่า แต่มีความไวต่ำกว่า one step PCR ประมาณ 50 เท่า ชุดตรวจนี้มีข้อได้เปรียบหลาย ประการคือ นอกจากจะมีความจำเพาะสูง ให้ผลตรวจรวดเร็ว ราคาต่อตัวอย่างต่ำแล้วยังใช้ง่ายไม่ต้องใช้ เครื่องมือชับซ้อนเพิ่มและเกษตรกรสามารถใช้ตรวจได้เอง ณ ที่บ่อเลี้ยง ชุดตรวจนี้สามารถเก็บไว้ที่ อุณหภูมิห้องได้อย่างน้อย 2 ปี
บทคัดย่อ (EN): Two monoclonal antibodies (MAbs) namely WI11 and WI16 specific to ICP11 protein of white spot syndrome virus (WSSV) were selected for development of a new strip test kit. MAb W11 was conjugated to colloidal gold and used as detector antibody. On nitrocellulose membrane, MAb WI16 was used to capture the antibody-antigen complex at the test line (T) and goat anti-mouse IgG antibody (GAM) was used to capture the unbound WI11 antibody at the control line (C). The ready used strip test was kept individually in a plastic case and stored in desiccated plastic bag. For WSSV detection, shrimp homogenate sample volume of 100 ?l in application buffer was applied to the sample chamber. The icp11 protein from WSSV infected shrimp bound to WI11 colloidal gold conjugate. The resulting complex flew chromatographically through the nitrocellulose membrane and was captured by MAb WI16 on the T-line which appeared as reddish purple band. Any unbound MAb WI11 colloidal gold conjugate moved across T-line and was captured by GAM revealed as a band at the C-line. In sample without WSSV or with WSSV below the limit of detection of the kit, only the band at C was observed. Detection sensitivity of the new strip test kit was approximately 40 times higher than the strip test using MAbs specific to VP28, and 50 times less sensitive than one-step PCR. The advantageous features of the this new kit besides highly specific, fast result, low cost per sample, are its simplicity without requiring sophisticate equipment and it can be performed by the farmer at the pond side. This new strip can be stored at room temperature at least 2 year without deterioration.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาชุดตรวจ strip test ต่อโปรตีน ICP11 ของไวรัสตัวแดงดวงขาว
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
30 กันยายน 2557
การสร้างแผนที่ปฏิสัมพันธ์ของโปรตีนทั้งหมดของไวรัสตัวแดงดวงขาว การทดสอบเพื่อยืนยันการนำโปรตีนวัคซีน PmRab7 ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว ในกุ้งในระดับอุตสาหกรรม การศึกษาการผลิตโปรตีน VP35, viral-IAP ของไวรัสโรคตัวแดงดวงขาว โปรตีน PPAF และ shrimp-IAP ของกุ้งโดยใช้ E.coli (ระยะที่ 1) การทดสอบประสิทธิภาพของ multimeric VP28 รีคอมบิแนนท์โปรตีนสำหรับเป็นวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตัวแดงดวงขาวโดยการให้กิน การศึกษาการถ่ายทอดชิ้นส่วนของยีนของไวรัสตัวแดงดวงขาวที่แทรกอยู่ใน genome ของกุ้งกุลาดำโดยการสืบพันธุและบทบาทชิ้นส่วนของยีนของไวรัสดังกล่าวต่อภูมิคุ้มกันของลูกกุ้งต่อไวรัสตัวแดงดวงขาว การศึกษาการผลิตโปรตีน VP35, viral-IAP ของไวรัสโรคตัวแดงดวงขาว โปรตีน PPAF และ shrimp-IAP ของกุ้งโดยใช้ E.coli (ระยะที่ 2) การศึกษายีนของไวรัสตัวแดงดวงขาวและกุ้งกุลาดำที่เกี่ยวข้องกับกลไกการตายของเซลล์ บทบาทของ HtrA2 serine protease ต่อการติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาวในกุ้ง (ระยะที่ 2) การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในกุ้งที่ติดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว (WSSV) ด้วยเทคนิค RNA Interference (ระยะที่ 2) การศึกษาปฏิสัมพันธ์ของโปรตีนทั้งหมดของไวรัสตัวแดงดวงขาว

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก