สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบจาก ผักหวานป่า
ธิดา ไชยวังศรี, กัลยา จำปาทอง, รักสกุล แก่นเรณู - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: การทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบจาก ผักหวานป่า
ชื่อเรื่อง (EN): Testing of Antioxidant Activities and Biological Activities of Crude Extracts from Pak-Wanpa (Melientha suavis Pierre.)
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบจากยอด และใบของผักหวานป่า (Melientha suavis Pierre) ซึ่งถูกสกัดด้วยตัวทำละลายที่ต่างชนิดกัน คือ เฮกเซน เอทิลอะซีเตท และ 85% เอทานอล โดยผักหวานป่าที่ทำการศึกษานำมาจากอำเภอเชียงม่วน และอำเภอปง จังหวัดพะเยา สารสกัดหยาบเหล่านี้ถูกนำมาทำการทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธี DPPH และ ABTS รวมทั้งการหาปริมาณฟีนอลิกรวม และนำมาทดสอบการต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคบางชนิด(Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus, Bacillus cereus) อีกทั้งได้ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งช่องปากของคน (KB-Oral cavity cancer) ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเต้านมของคน (MCR7-breast cancer) ฤทธิ์ต้านเชื้อรา Candida albicans ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Neuraminidase (NA) ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสเริมที่ปาก และความเป็นพิษต่อเซลล์ไตของลิง จากการทดลองพบว่า สารสกัดหยาบ ที่สกัดด้วย 85% เอทานอลมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด และพบว่าสารสกัดหยาบจากยอดของผักหวานป่าจากอำเภอปงมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงกับปริมาณฟีนอลิกรวม และพบว่าสารสกัดหยาบจากใบผักหวานป่าที่สกัดด้วยเอทิลอะซิเตทของอำเภอปงมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ Bacillus cereus โดยปริมาณที่ต่ำที่สุด(MIC) ที่สามารถยับยั้งได้ คือ 125 mg อีกทั้งพบว่าสารสกัดจากยอดผักหวานป่าที่สกัดด้วยเฮกเซนของอำเภอปงมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสเริมที่ปาก (anti-HSV-1) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 6.08
บทคัดย่อ (EN): This research aimed to study the antioxidant activities of the crude extracts from tips and leaves of Melientha suavis Pierre. collected from different sources, Chiang Muan and Pong districts, Phayao Province. These crude were extracted using different organic solvents such as hexane, ethyl acetate and 85% ethanol. The crude extracts were evaluated antioxidant properties by applying DPPH• and ABTS•+ radical scavenging assays. Total phenolic contents of these extracts were also determined. All extracts were examined anti-bacterial properties by testing with different types of bacteria including Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus, Bacillus cereus and tested the anti-cancer properties with various types of cancer such as KB-Oral cavity cancer, MCR7-breast cancer. Furthermore, anti-fungi activity against Candida albicans, anti-malaria, Neuraminidase (NA) enzyme inhibition and toxicity to monkey kidney were examined. The results show that crude extracts using 85% ethanol present the best antioxidant property and the extracts from tips of Melientha suavis Pierre. from Pong district illustrated the highest antioxidant activity with linear correlation to total phenolic content. Additionally, the ethyl acetate extracts of Melientha suavis Pierre. leaves from Pong district presented anti- Bacillus cereus and found the lowest dose(MIC) at 125 mg. Moreover, the hexane extracts of Melientha suavis Pierre. tips from Pong district could anti-Herpes simplex virus type I (anti-HSV-1) and found IC50 at 6.08.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหยาบจาก ผักหวานป่า
มหาวิทยาลัยพะเยา
30 กันยายน 2558
การตรวจสอบฤทธิ์กลายพันธุ์และต้านการกลายพันธุ์ของสารสกัดยาแผนโบราณไทย ผลของสารสกัดจากใบติ้วขาวต่อการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทเมื่อถูกกระตุ้นด้วยเบต้าอะไมลอยด์เปปไทด์ (โมเดลของโรคอัลไซเมอร์) การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การวิจัยคุณลักษณะจาเพาะต่อการแปรรูปของข้าว 84 พันธุ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ- การใช้เทคนิคโปรตีโอมิกส์ศึกษาวิถีการผลิตโปรตีนหลักในเมล็ดข้าวและการเตรียมเปปไทด์ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเมล็ดและรำข้าว ฤทธิ์ทางชีวภาพ คุณค่าทางโภชนาการและคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของถั่วเหลืองและถั่วขาวที่ผ่านการหมัก การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากการเพาะเลี้ยงจมูกข้าว การวิเคราะห์ลำดับเบสยีน ITS2 และ psbA-trnH ในผักหวานป่า การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากการเพาะเลี้ยงจมูกข้าว ฤทธิ์ของสารสกัดจากข้าวแดงต่อการเกิดนิ่วในไตด้วยการทดสอบแบบ In vitro สารสกัดและทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพจากผักเหมียง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก