สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นโรทาล่า
ถาวร ทันใจ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นโรทาล่า
ชื่อเรื่อง (EN): THE OPTIMUM CONDI1riON FOR GROWING DWARF ROTALA Rota/a rotun.difolia (Roxb.) Koehne, 1880
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ถาวร ทันใจ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Rotala, Rota/a rotundifolia, grov.rth, culture
บทคัดย่อ: การศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นโรทาล่า Rotala rotundifolia (Roxb.) Koehne, 1880 แบ่งออกเป็น 3 การทดลอง ได้แก่ ศึกษาชนิดวัสดุปลูก ชนิดปุ๋ย และ ระดับความเข้มข้นของปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นโรทาล่า พบว่า กรวดใหญ่ (ขนาด 4-6 มม.) เป็นวัสดุปลูกที่มีผลทำให้ต้นโรทาล่าเจริญเติบโตมากที่สุดแตกต่างจากวัสดุปลูกชนิดอื่นอย่างมีนัยสำกัญทางสถิติ รองลงมา ได้แก่ กรวดเล็ก (ขนาด 2-3 มม) ทรายละเอียด (ขนาด 0.1-0.5 มม) และ ปะการัง (ขนาด 5-10 มม) โดยมีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 100.0-0.00 กรัม และมีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 148.7±5.13, 131.0±3.46, 125.3±6.81 และ 119.0±3.46 กรัม ตามลำดับ เมื่อนำกรวดใหญ่มาเป็นวัสดุปลูกโดยใช้ปุ๋ย 3 ชนิด พบว่าปุ๋ยทั้ง 3 ชนิดไม่ให้ผลแตกต่างทางสถิติ แต่ปุ๋ย NPK สูตร 2535 ผสมธาตุเหล็ก มีผลทำให้ต้นโรทาล่าเจริญเติบโตมากที่สุด ลงมาได้แก่ ปุ๋ยสูตร 25-5-5 และ 30-20-10 ผสมธาตุอาหารรอง (กำมะถัน แเคลเซียม และธาตุอาหารเสริม (เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบนัม และ คลอรีน) โดยมีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 323.0±5.00, 301.3±7.37 และ 298.31 12.22 กรัม ตามลำดับ และชุดการทดลองน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 227.0±14.11 กรัม เมื่อนำกรวดใหญ่มาเป็นวัสดุปลูกโดยใช้ปุ๋ย NPK สูตร 25-5-5 ผสมธาตุเหล็ก ที่ระดับความเข้มข้นต่างกัน 3 ระดับ พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 15 มก./ล. ต้นโรทาล่า เจริญเติบโตมากที่สุดแตกต่างจากระดับความเข้มข้นอื่นและชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รองลงมาได้แก่ 10 มก./ล. และ 5 มก./ล. โดยมีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 377.0±5 .57, 354.0±8.19 และ 329.0±6.25 กรัม ตามลำลับ และชุดการทดลองที่ไม่ใส่ปุ๋ยมีน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย 234.7±2.52 กรัม
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: http://inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=261
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นโรทาล่า
ถาวร ทันใจ
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
สมรรถภาพการเจริญเติบโตและต้นทุนค่าอาหารจากการเลี้ยงขุนแกะ การปรับปรุงลักษณะการเจริญเติบโตปลานิลในระบบการเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียน (ระยะที่ 1) ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของการเลี้ยงปลาหมอไทยในกระชังในที่ดินพรุ จังหวัดนราธิวาส ผลของระดับโปรตีนและระบบการเลี้ยงต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและลักษณะซากของไก่พื้นเมืองลูกผสม การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพเนื้อและคุณภาพซาก ของปลาโมงและปลาโมงลูกผสม จากการเลี้ยงในกระชัง ผลของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแบบกึ่งปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ปริมาณคอเลสเตอรอล และองค์ประกอบของกรดไขมันในเนื้อ ระดับโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกุ้งแชบ๊วย (Penaeus merguiensis de man, 1888) ในระบบการเลี้ยงแบบน้ำหมุนเวียนในโรงเรือนและระบบกระชังในบ่อดิน ผลของการเสริมอาหารข้นต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต ของแพะลูกผสมบอร์ 50% ในสภาพการเลี้ยงแบบขังคอก น้ำหนักเริ่มขุนที่มีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตและลักษณะซากของโคพื้นเมืองเพศผู้ในสภาพการเลี้ยงแบบขังคอก ผลของการเสริมอาหารข้นต่อสมรรถภาพการการเจริญเติบโตของแพะลูกผสมบอร์ 50% ในสภาพการเลี้ยงแบบขังคอก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก