สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาราไมคอร์ไรซากล้วยไม้เป็นชีวภัณฑ์เพื่อการปลูกและขยายพันธุ์กล้วยไม้เชิงพาณิชย์
ดร.สุรีย์พร นนทชัยภูมิ - มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาราไมคอร์ไรซากล้วยไม้เป็นชีวภัณฑ์เพื่อการปลูกและขยายพันธุ์กล้วยไม้เชิงพาณิชย์
ชื่อเรื่อง (EN): Development of orchid mycorrhizal fungi as bioproducts for commercial cultivation and propagation of orchids
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดร.สุรีย์พร นนทชัยภูมิ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ: ราไมคอร์ไรซากล้วยไม้
คำสำคัญ (EN): Orchid mycorrhizal fungi
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาราไมคอร์ไรซากล้วยไม้เป็นชีวภัณฑ์เพื่อการปลูกและขยายพันธุ์กล้วยไม้เชิงพาณิชย์” แก่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  โดยมี ดร.สุรีย์พร นนทชัยภูมิ เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาราไมคอร์ไรซากล้วยไม้เป็นชีวภัณฑ์สำหรับการปลูกกล้วยไม้ และการพัฒนาชีวภัณฑ์สำหรับการเพาะเมล็ดกล้วยไม้แบบสมชีพนอกหลอดทดลอง จากการศึกษาวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาราไมคอร์ไรซากล้วยไม้เป็นชีวภัณฑ์สำหรับการปลูกกล้วยไม้ ผู้วิจัยได้พัฒนาและทดสอบหัวเชื้อราไมคอร์ไรซากล้วยไม้โดยใช้ราชนิด Tulasnella deliquescens (Juel) พบว่า การใช้หัวเชื้อราปลูกไอโซเลตของราไมคอร์ไรซากล้วยไม้ T. deliquescens ที่เหมาะสมสามารถช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตหลังการย้ายออกปลูก และ/หรือช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ 3 ชนิด ได้แก่ Phalaenopsis Newberry Parfait รองเท้านารีอินทนนท์ลาว (Paphiopedilum gratrixianum Rolfe) และรองเท้านารีเอื้องคางกบ (Paphiopedilum callosum (Rchb.f.) สำหรับการทดลองกับกล้วยไม้อื่นอีก 2 ชนิด พบปัญหาการปนเปื้อนของราชนิดอื่นในวัสดุปลูกเพราะการดูแลกล้วยไม้ไม่เหมาะสม และการที่ราไมคอร์ไรซาไม่สร้างขดเส้นใยในรากกล้วยไม้ซึ่งอาจเนื่องจากการเตรียมวัสดุปลูกไม่เหมาะสม และ 2) การพัฒนาชีวภัณฑ์สำหรับการเพาะเมล็ดกล้วยไม้แบบสมชีพนอกหลอดทดลอง ผู้วิจัยได้พัฒนากล่องเพาะเมล็ดกล้วยไม้สำหรับการเพาะเมล็ดโดยวิธีสมชีพ และได้ทดสอบกล่องเพาะเมล็ดกล้วยไม้กับกล้วยไม้จำนวน 10 ชนิด พบว่า เมล็ดของพวงหยก (Dendrobium findlayanum Parish & Rchb.f.) รองเท้านารีอินทนนท์ลาว และเอื้องโมกกุหลาบ (Papilionanthe teres (Roxb.) Schltr.) สามารถงอกและโพรโทคอร์ม (protocorm) ของกล้วยไม้เหล่านี้สามารถพัฒนาไปเป็นต้นที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม การทดลองกับกล้วยไม้ชนิดอื่น ๆ พบปัญหาการปนเปื้อนด้วยราชนิดอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุดควบคุม เนื่องจากความชื้นในกล่องเพาะเมล็ดสูงเกินไปหรือ พบว่าเมล็ดกล้วยไม้หลายชนิดไม่งอก ทั้งนี้เมล็ดที่ได้มาไม่สมบูรณ์หรือสูญเสียความมีชีวิตเพราะวิธีการเก็บรักษาเมล็ดยังไม่เหมาะสม หรือเก็บเมล็ดนานเกินไป           ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยได้องค์ความรู้ในการพัฒนาราไมคอร์ไรซากล้วยไม้เป็นชีวภัณฑ์สำหรับการปลูกกล้วยไม้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-02-26
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561-02-25
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2557
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
ข้อมูลทรัพยสินทางปัญญา
ประเภทIP อนุสิทธิบัตร
รายชื่อสิ่งประดิษฐ์ หัวเชื้อราไมคอร์ไรซา กระบวนการผลิตและการใช้ของสิ่งนั้น
เลขที่คำขอ 1603000862
วันที่ยื่นคำขอ 2015-04-10 12:00:00
เลขที่ประกาศ
วันที่จดทะเบียน
เลขที่จดทะเบียน
วันที่ประกาศ
สถานะปัจจุบัน เชิงพาณิชย์
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาราไมคอร์ไรซากล้วยไม้เป็นชีวภัณฑ์เพื่อการปลูกและขยายพันธุ์กล้วยไม้เชิงพาณิชย์
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
25 กุมภาพันธ์ 2561
การพัฒนาราไมคอร์ไรซากล้วยไม้เป็นชีวภัณฑ์เพื่อการปลูกและขยายพันธุ์กล้วยไม้เชิงพาณิชย์ การส่งถ่ายยีนเข้ากล้วยไม้ โดยใช้ Agrobacterium tumefaciens โครงการการเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีในสภาพปลอดเชื้อ การศึกษาความหลากหลายของกล้วยไม้ที่พบในมหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยาด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอโดยใช้เทคนิค AFLP (Amplified Fragment Length Polymorphism) การวิเคราะห์ชนิดของเม็ดสีแอนโทไซยานิน ในกล้วยไม้ป่า และกล้วยไม้ตัดดอกของไทย เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ โครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้ การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพิ่มศักยภาพพื้นที่สวนปาล์นำมันเพื่อปลูกกล้วยไม้เชิงพานิชย์ การขยายพันธุ์กล้วยไม้ช้างผสมโขลงในสภาพปลอดเชื้อ ศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์กล้วยไม้สมุนไพรในสภาพปลอดเชื้อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก