สืบค้นงานวิจัย
การเลี้ยงปลาเทโพด้วยอาหารสำเร็จรูปที่มีระดับโปรตีนต่ำสลับกับอาหาร ที่มี่ระดับโปรตีนสูง
ธีระชัย พงศ์จรรยากุล - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การเลี้ยงปลาเทโพด้วยอาหารสำเร็จรูปที่มีระดับโปรตีนต่ำสลับกับอาหาร ที่มี่ระดับโปรตีนสูง
ชื่อเรื่อง (EN): Alternation Feeding of Low Protein and High Dietary Protein Levels for Rearing of Black ear Catfish (Pangasius larnaudii Bocourt ,1866)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ธีระชัย พงศ์จรรยากุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศีกษาการเลี้ยงปลาเทโพด้วยอาหารโปรตีนต่ำ (25%) สลับกับอาหารที่มีโปรตีนสูง (35%) โดยมีชุดการทดลองจำนวัน 6 ชุดการทดลอง คือ ให้อาหารโปรตีนต่ำ ให้อาหารโปรตีนสูง ให้อาหารโปรตีน ต่ำ 1, 3, 5 และ 7 วัน สลับกับการให้โปรตีนสูง 1 วัน อาหารทดลองมีค่าพลังงานรวม (gross energy, GE) 445 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 กรัม ปลามีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 178.30±19.78 กรัม ความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย 27.15±1.02 เซนติเมตร เลี้ยงในกระชังขนาด 1X2X1.5 เมตร ระดับน้ำลึก 1.90 เมตร ให้อาหารปลากินจนอิ่ม วันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 7 เดือน ผลการทดลองพบว่าปลาทุกชุดการทดลองมีค่าการเจริญเติบโต ได้แก่ น้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย น้ำหนักเพิ่มต่อวัน เปอร์เซ็นต์น้ำหนักเพิ่ม มีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ค่า ประสิทธิภาพของโปรตีนพบว่าชุดการทดลองที่ให้อาหารโปรตีนต่ำและชุดการทดลองที่ให้อาหารโปรตีนต่ำ 3, 5 และ 7 วัน สลับกับโปรตีนสูง 1 วัน มีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และมีค่า มากกว่าชุดการทลองที่ให้อาหารโปรตีนสูงและชุดการทดลองที่ให้อาหารโปรตีนต่ำ 1 วันสลับกับโปรตีนสูง 1 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปริมาณอาหารที่ปลากินพบว่าชุดทดลองที่ให้อาหารโปรตีนต่ำ 7 วัน สลับกับโปรตีนสูง 1 วัน มีค่าปริมาณอาหารที่ปลากินแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) กับชุดการทดลองที่ให้อาหารโปรตีนต่ำ โปรตีนสูง และให้โปรตีนอาหารต่ำ 1 และ 3 วัน สลับกับโปรตีนสูง 1 วัน แต่มีค่ามากกว่าชุดการทดลองที่ให้อาหารโปรตีนต่ำ 5 วัน สลับกับโปรตีนสูง 1 วัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) ส่วนค่าอัตราแลกเนื้อ อัตรารอด และผลผลิตปลา พบว่ามีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มี นัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการทดลองแสดงว่าการเลี้ยงปลาเทโพด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีนต่ำสลับกับ อาหารที่มีระดับโปรตีนสูง ให้ผลที่ไม่แตกต่างกับชุดการทดลองที่ให้อาหารโปรตีนต่ำและโปรตีนสูงเพียง อย่างเดียว
บทคัดย่อ (EN): The 6 alternation feeding programs were designed to Black Ear Catfish: T1 feeding with low protein (25%), T2 with high protein (35%), T3 feeding with low protein 1 day alternate with high protein 1 day, T4 low protein 3 days alternate with high protein 1 day, T5 low protein 5 days alternate with high protein 1 day and T6: low protein 7 days alternate with high protein 1 day. All experimented diets were formulated to be having isocaloric gross energy at 445 kcal per 100 g feed. The average initial weight and length were 178.30±19.78 g and 27.15±1.02 cm expectively. Catfish were stocked at 35 fish/cage in 1X2X1.5 m floating net cage and had been fed satiation twice a day for 7 months. The results showed that average body weight, daily weight gain and percentage weight gain of fish from all treatments were not significantly different (p>0.05). The protein efficiency ratio of fish in treatment 1, 4, 5 and 6 were significant higher than treatment 2 and 3. The total fed intake of treatment 5 was not different from 6 treatment 1, 2, 3 and 4 (p>0.05) but higher (p<0.05) than treatment 5. There were not different (p>0.05) among treatments on with feed conversion ratio, survival rate and production. Conclusion, the feeding Black Ear Catfish with low protein 1, 3, 5 and 7 days alternate with high protein 1 day were not different from feeding with low and high protein
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเลี้ยงปลาเทโพด้วยอาหารสำเร็จรูปที่มีระดับโปรตีนต่ำสลับกับอาหาร ที่มี่ระดับโปรตีนสูง
กรมประมง
30 กันยายน 2553
เอกสารแนบ 1
กรมประมง
การศึกษาระดับโปรตีนและไขมันที่เหมาะสมในอาหารปลาแรด ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ชี การหาระดับโปรตีนที่เหมาะสมในอาหารสำหรับแม่ไก่หลังบังคับผลัดขน ผลของระดับโปรตีนในอาหารผสมครบส่วนต่อสมรรถภาพการผลิตของแพะนมเพศผู้ ผลของปุ๋ยไนโตรเจนต่อผลผลิตและระดับโปรตีนของหญ้าขนในจังหวัดจันทบุรี ผลของระดับโปรตีนต่อการเจริญเติบโตของกั้งตั๊กแตน Harpiosquilla raphidea(Fabricius,1798) ผลของการใช้ยูเรียทดแทนโปรตีนในอาหารเป็ดเนื้อ พันธุกรรมกับอาหารโคนม ผลของระดับเมทไธโอนีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ชี การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus)

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก