สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว
พากเพียร อรัญนารถ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว
ชื่อเรื่อง (EN): Effectiveness of Bioproduct of Bacillus subtilis to Control Rice Sheath Blight Disease
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พากเพียร อรัญนารถ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Parkpian Arunyanart
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ชีวภัณฑ์ของเชื้อ Bacillus subtilis ซึ่งได้รัลบการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สูตรเหลว (TRF สูตร A TRF สูตร B) ด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ และ กรมวิชาการเกษตร ภายใต้การสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) นำมาทดสอบเปรียบเทียบกับชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ชนิดอื่นๆ ที่ผลิตเป็นรูปการค้าและสารป้องกันกำจัดโรคพืช Validacin 3% LIq. ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว (Rhizoctonia solani Khun.) ในสภาพเรืองทดลอง วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 10 กรรมวิธี 7 ซ้ำ ใช้ข้าวพันธุ์ กข 23 พบว่ากรรมวิธีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช Validacin ให้ผลดีที่สุดคือมีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเพียง 35.13% รองลงมาได้แก่การใช้ TRF สูตร A, TRF สูตร B, Larminar WP, Agroguard Liq, Agroguard WP, BCA No.321+562, Subtilar WP และ BS 916 Liq. มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรค 50.61, 55.64, 58.73, 63.06, 64.89, 65.33, 66.79, 66.95 % ตามลำดับ ทุกกรรมวิธีดังกล่าวจะมีเปอร์เซ็นต์ ความรุนแรงของโรคต่ำกว่ากรรมวิธีเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคสูงถึง 73.25% ได้คัดเลือกชีวภัณฑ์ของเชื้อที่ให้ผลดีในการควบคุมโรคอันดับ 1-4 ไปทดสอบต่อในสภาพแปลงนาทดลอง ในฤดูนาปี 2542 และฤดูนาปรัง 2543 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 6 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ใช้ข้าวพันธุ์ กข 23 พบว่า กรรมวิธีการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช Validacin 3% Liq. ให้ผลดีที่สุดคือมีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคเพียง 28.69% รองลงมาได้แก่กรรมวิธีการใช้ TRF สูตร A, TRF สูตร B, Larminar WP, Agroguard Liq. มีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรค 50.48, 52.53, 54.59 และ 55.18 ตามลำดับ ซึ่งทุกกรรมวิธี จะมีระดับความรุนแรงของโรคต่ำกว่ากรรมวิธี เปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรคสูงถึง 64.46% การทดลองทั้งในเรือนทดลองและสภาพนาให้ผลยืนยันในทำนองเดียวกัน
บทคัดย่อ (EN): Bioproducts TRF A and TRF B liquid formulation of antagonistic Bacillus subtilis against rice sheath blight (Rhizoctonia solani Khun.) were developed by Prince of Songkla University, Kasetsart University and Department of Agriculture under the Thailand Research Fund (TRF). The efficacy of both formulation were tested among other bioproducts compared to the standard fungicide Validacin 3% Liq. under greenhouse conditions. CRD of 10 treatments with 7 replications were designed on RD 23 varity. Results indecated that fungicide, Validacin 3% Liq. showed the most effective in suppressing sheath blight disease development, followed by bioprocucts TRF A, TRF B, Larminar WP, Agroguard Liq., Agroguard WP, BCA No.321+562, Subtilar WP and BS 916 Liq. respectively. However, all treatment showed significantly defferent control plots (non application). The top four ranks of bioproducts and fungicide were chosen for further test in field trial, wet season1999 and dry season 2000 of RCB design containing 6 treatments with 4 replications, using RD 23 variety. Results indicated that fungicide, Validacin 3% Liq. showed the most effective followed by bioproducts TRF A, TRF b, Larminar WP. and Agrohuard Liq. respectively. All treatments showed significantly defferent from control plots. In conclusion, results from field trial confirm as those in greenhouse.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2544
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2544
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว
กรมวิชาการเกษตร
2544
เอกสารแนบ 1
ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์สารประกอบซิลิกอนในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว การพัฒนาชีวภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียปฎิปักษ์รูปแบบของเหลว เพื่อควบคุมโรคกาบใบแห้งข้าว การพัฒนาชีวภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียปฎิปักษ์รูปแบบของเหลว เพื่อควบคุมโรคกาบใบแห้งข้าว ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus siamensis RRK1–Rif สูตรผงเปียกน้ำในการควบคุมโรคกาบใบแห้งและโรคเมล็ดด่างและการเพิ่มผลผลิตของข้าว ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์จากแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ 20W1 ในการควบคุมโรคใบจุดคะน้าสาเหตุจากเชื้อรา Alternaria brassicicola ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6 การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ การพัฒนาชีวภัณฑ์ในการป้องกันและควบคุมโรคปากและเท้าเปื่อย การควบคุมเชื้อรา Pyricularia grisea สาเหตุโรคใบไหม้ข้าว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก