สืบค้นงานวิจัย
การทดสอบผลผลิตของพันธุ์ข้าวตามระดับความเหมาะสมของดิน ในเขตจังหวัดราชบุรี
มลิสา ยกถาวร, กรวรรณ ม่วงศรี, นิตยา รื่นสุข, พิชามญชุ์ อินต๊ะโม, เบญจมาส รสโสภา, สุมิตรา จันเนียม, นพดล ประยูรสุข, เยาวลักษณ์ เนตรสิงห์, นลินพร ยิ้มน้อย, กฤษณ์กมล เปาทอง, ขวัญชนก ปฏิสนธิ์, อมรรัตน์ อินทร์มั่น, เฉลิมชาติ ฤาไชยคาม - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: การทดสอบผลผลิตของพันธุ์ข้าวตามระดับความเหมาะสมของดิน ในเขตจังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Production Testing of Rice Varieties According to Soil Suitability Level in Ratchaburi Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ชุดเอกสาร: การประชุมวิชาการกรมการข้าว ประจำปี 2562 บูรณาการเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาข้าว
บทคัดย่อ: การทดสอบผลผลิตของพันธุ์ข้าวตามระดับความเหมาะสมของดินในเขตจังหวัดราชบุรีโดยเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวมาก (S1) และพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวน้อย (S3) เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตของพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงจำนวน 10 พันธุ์ ซึ่งดำเนินการในฤดูนาปีและนาปรังปี 2561 ผลการทดลองพบว่าในนาปรังพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวมาก (S1) ข้าวพันธุ์ กข57 ให้ผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 1,014 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาเป็นพันธุ์ข้าว ชัยนาท 1 และ กข49 ให้ผลผลิตเท่ากับ 983 และ 965 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวน้อย (S3) ข้าวพันธุ์ กข49 ให้ผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 999 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาเป็นพันธุ์ข้าวชัยนาท1 และพิษณุโลก 2 ให้ผลผลิตเท่ากับ 851 และ 845 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูนาปี 2561/2562 บนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวมาก (S1) ข้าวพันธุ์ กข31 ให้ผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 983 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาเป็นพันธุ์ข้าว กข57 และ กข49 ให้ผลผลิตเท่ากับ 981 และ 976 กิโลกรัมต่อไร่ตามลำดับ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกข้าวน้อย (S3) ข้าวพันธุ์ กข57 ให้ผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 828 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาเป็นพันธุ์ข้าวสุพรรณบุรี 1 และ กข31 ให้ผลผลิตเท่ากับ 811 และ 803 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้นศักยภาพในการให้ผลผลิตของพันธุ์ข้าวแต่ละพันธุ์ขึ้นอยู่กับคำแนะนำในการจัดการน้ำ ธาตุอาหาร และภูมิอากาศของกรมการข้าว
บทคัดย่อ (EN): Yield comparison of rice varieties under difference soil suitability levels in Ratchaburi province. Highly suitable (S1) and marginally suitable (S3) area were used in order to compare yield of 10 photoperiod insensitive rice varieties during dry season and wet season of 2018. In dry season and in the highly suitable (S1) area, a rice variety RD57 showed the highest yield 1,014 kg/rai while Chainat 1 and RD49 which yield 983 and 965 kg/rai, respectively. In marginally suitable (S3) area, RD49 showed the highest yield of 999 kg/rai whereas Chainat 1 and Phitsanulok 2 yield 851 and 845 kg/rai, respectively. In wet season 2018/2019 and in the highly suitable (S1) area, RD31 showed the highest yield of 983 kg/rai while RD57 and RD49 yield 981 and 976 kg/rai, respectively. In marginally suitable (S3) area, a rice variety of RD57 showed the highest yield of 828 kg/rai whereas Suphanburi 1 and RD31 yield 811 and 803 kg/rai, respectively. From these results, the yield potential of each rice variety investigated here was correspondent to the recommendation practices in water, nutrient and weather management of the Rice Department.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
จำนวนหน้า: 2
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่ AGRIS:
เจ้าของลิขสิทธิ์: กรมการข้าว
รายละเอียด: Submitted by Ton Admin (ton@local) on 2019-05-16T05:18:14Z No. of bitstreams: 2 20 PP-13.pdf: 149226 bytes, checksum: 6cd0768e6568ea1ad64d8279bab514ef (MD5) license_rdf: 811 bytes, checksum: 53b05846eb6eeb1c33891ab08e36a383 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การทดสอบผลผลิตของพันธุ์ข้าวตามระดับความเหมาะสมของดิน ในเขตจังหวัดราชบุรี
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กรมการข้าว
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การศึกษาความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีต่อผลผลิต การใช้ปุ๋ยหมักฟางข้าวปรับปรุงดินและผลผลิตข้าว การทดสอบเสถียรภาพผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ดีเด่นในสภาพแวดล้อมต่างกัน l. ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี การเพิ่มผลผลิตข้าวจากการจัดเขตศักยภาพการผลิตข้าวของภาคใต้ การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์และการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิตการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2) การประเมินศักยภาพการให้ผลผลิต การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมและการเพาะปลูกข้าวลูกผสมระบบ 2 สายพันธุ์ (โครงการต่อเนื่องปีที่ 2) การเพิ่มผลผลิตข้าวตามเขตศักยภาพการให้ผลผลิตของพื้นที่ปลูกข้าวของไทย
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก