สืบค้นงานวิจัย
ผลของฮอร์โมนแบบออกฤทธิ์เนิ่นต่อความสมบูรณ์เพศของปลากดแก้ว รุ่นที่ 2 ในช่วงก่อนฤดูผสมพันธุ์
พลชาติ ผิวเณร, สุภัทรา อุไรวรรณ์, วิศณุพร รัตนตรัยวงศ์, ทองอยู่ อุดเลิศ, เบญจพร สัมฤทธิเวช - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ผลของฮอร์โมนแบบออกฤทธิ์เนิ่นต่อความสมบูรณ์เพศของปลากดแก้ว รุ่นที่ 2 ในช่วงก่อนฤดูผสมพันธุ์
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of Sustainable Release Hormone on Gonadal Maturity in 2nd Generation of Bagrid Catfish Hemibagrus wyckioides at Pre–Spawning Season
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ทดลองฉีดฮอร์โมน LHRHa [des–Gly10–(D–Ala6)–LH–RH] ในรูปออกฤทธิ์แบบเนิ่นนาน 2 ระบบ คือสาร ?–cyclodextrin และสาร ethylene–vinyl acetate copolymer (EVAc) เป็นระบบนำส่งในอัตรา 100 ?g/kg และฉีดฮอร์โมนในรูปปกติในปลากลุ่มควบคุม ในปลากดแก้วเพศเมียรุ่นที่ 2 น้ำหนัก 1.5–2.8 กิโลกรัม นำปลามาเก็บตัวอย่างไข่และฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมน LHRHa และ domperidone หลังจากฝังฮอร์โมนนาน 30 วัน นำไข่ไปตรวจสอบการพัฒนาโดยวัดเส้นผ่าศูนย์กลางหน่วยเป็นมิลลิเมตร และเก็บข้อมูลจำนวนแม่ปลาที่ตกไข่และความดกไข่ต่อน้ำหนักตัว หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์และฟอง/กิโลกรัม ตามลำดับ พบว่าปลากดแก้วชุดที่ฉีดฮอร์โมนในระบบนำส่งทั้ง 2 ระบบ มีไข่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 มิลลิเมตร หรือสูงกว่า 46.13?24.52 และ 43.50?23.10% ซึ่งมีค่าไม่แตกต่างกันและมีค่ามากกว่าปลากลุ่มควบคุม (20.38?17.89%) ส่วนไข่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7 มิลลิเมตร หรือต่ำกว่า 0.9 1.1 และ 1.3 มิลลิเมตร นั้น พบว่าปลาทั้ง 3 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และปลากดแก้วทั้ง 3 กลุ่มมีจำนวนปลาที่ตกไข่ 33.33–50.00% และมีความดกไข่ต่อน้ำหนักตัว 7,939.09–13,797.02 ฟอง/กิโลกรัม ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าสาร EVAc มีผลให้ฮอร์โมนออกฤทธิ์แบบเนิ่นนานไม่แตกต่างไปจากสาร ?–cyclodextrin จึงสามารถนำมาใช้ทดแทนกันได้ และปัจจัยจากความเครียดและขนาดน้ำหนักปลาส่งผลให้ปลาทั้ง 3 กลุ่มมีจำนวนปลาที่ตกไข่และความดกไข่ต่อน้ำหนักตัวไม่แตกต่างกัน
บทคัดย่อ (EN): Effect of sustainable released hormone LHRHa [des–Gly10–(D–Ala6)–LH–RH] on gonadal maturity was studied in 2nd generation of female Bagrid catfish (Hemibagrus wyckioides). Two sustainable release hormone systems were prepared by using ?–cyclodextrin and ethylene–vinyl acetate copolymer (EVAc) as carrier molecule, respectively. Two hormone systems were intramuscularly injected/implanted at 100 ?g/kg in each treatment group while control group was injected with normal hormone at same dose. Eggs were collected and egg’s diameter were measured and then fishes were induced spawning to measured fecundity and spawning rate. There were no different in the amount of eggs (p>0.05) between ?–cyclodextrin (46.13?24.52%) and EVAc (43.50?23.10%) group for egg’s diameter of ?1.5 mm., but higher than control group (20.38?17.89%). Besides there were no different in the amount of eggs (p>0.05) among three groups for >0.7, 0.9, 1.1 and 1.3 mm. of egg diameter. There were no different (p>0.05) among groups for spawning rate (33.33–50.00%) and fecundity (7,939.09–13,797.02 eggs/kg.BW/tail as well. The results indicated the efficiency of two sustainable release hormone systems for gonadal maturity improvement. Moreover, the results indicated that EVAc can be used instead of ?–cyclodextrin for economical propose.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2552-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของฮอร์โมนแบบออกฤทธิ์เนิ่นต่อความสมบูรณ์เพศของปลากดแก้ว รุ่นที่ 2 ในช่วงก่อนฤดูผสมพันธุ์
กรมประมง
30 กันยายน 2552
กรมประมง
ชีววิทยาการสืบพันธุ์และระดับฮอร์โมนเพศของแม่พันธุ์ปลาไหลนาที่พร้อม และไม่พร้อมผสมพันธุ์ในช่วงฤดูกาลผสมพันธุ์ เปรียบเทียบลักษณะสำคัญเชิงพัฒนาการของระบบสืบพันธุ์ของปลากดแก้วที่ผ่านการปรับปรุง 1 รุ่น การตอบสนองในด้านการเจริญเติบโตและการรอดตายของปลากดแก้วที่ผ่านการคัดเลือก การศึกษาระดับของฮอร์โมนที่ตกค้างในการผลิตลูกปลานิลแปลงเพศ ระบบน้ำหมุนเวียน (การศึกษาระดับของฮอร์โมน(17 alpha-methyltestosterone)ที่ตกค้างในการผลิตลูกปลานิลแปลงเพศ ระบบน้ำหมุนเวียน การพัฒนาเทคนิคที่เหมาะสมในการผลิตลูกปลาหมอไทย (Anabas testudineus) เพศเมียโดยการใช้ฮอร์โมน การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิตปลานิลเพศผู้โดยการใช้ฮอร์โมน Methytestosterone และกวาวเครือแดง(Pueraria mirifica) ปริมาณฮอร์โมนเมสทาโนโลนตกค้างในปลานิลหลังจากการกินฮอร์โมนในระยะเวลาสั้น การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เพื่อผลิตปลานิลเพศผู้โดยการใช้ฮอร์โมนMethytestosterone และกวาวเครือแดง (Puerarea mirifica) ปริมาณฮอร์โมนเมสทาโนโลนตกค้างในปลานิลหลังจากการกินฮอร์โมนในระยะเวลาสั้น : รายงานการวิจัย การเพาะพันธุ์ปลาหมอช้างเหยียบ โดยวิธีฉีดฮอร์โมน

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก