สืบค้นงานวิจัย
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ระยะที่ 2
สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล - มหาวิทยาลัยพะเยา
ชื่อเรื่อง: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ระยะที่ 2
ชื่อเรื่อง (EN): Plant Genetic Conservation Project under the Royal Initiative of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn at Bhumibol Dam plant genetic conservation area, Tak Province : Phase II
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นโครงการในแผนงานวิจัยโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปัก พันธุกรรมพืชเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ระยะที่ 2เพื่อศึกษาต่อยอดด้านการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรชีวภาพและด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้มีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานไว้แล้ว และศึกษาภูมิปัญญา และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนบริเวณฟื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ทำการศึกษาใน 8 ประเด็น มีผลการศึกษาดังนี้ การศึกษาความหลายหลากของเห็ด โดยการเก็บรวบรวมตัวอย่างเห็ดในพื้นที่อนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2555 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายของเห็ด จากนั้นบ่งบอกชนิดของเห็ดโดย ศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา พบเห็ดทั้งหมด 22 ชนิด ประกอบด้วยเห็ดรับประทานได้ จำนวน 6 ชนิด และเห็ดที่รับประทานไม่ได้จำนวน 16 ชนิด สำหรับเห็ดที่สำรวจพบทั้งหมด สามารถแบ่งตามบทบาทและหน้าที่ในระบบนิเวศออกเป็น 4 กลุ่ม คือ เห็ดผู้ย่อยสลายอินทรีย์ สาร 15 ชนิด เห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา 1 ชนิด เห็ดที่มีความสัมพันธ์กับปลวกหรือเห็ดโคน 1 ชนิด เห็ดที่เป็นสาเหตุของโรคพืช 1 ชนิด เห็ดที่พบเด่นได้แก่ Bjerkandera adusta และ Schizophyllum commune การศึกษาผลของสารเคมีต่อเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดมะขามป้อมและเมล็ดเสี้ยวปำ โดยนำ มะขามป้อมและเมล็ดเสี้ยวป่า มาแช่ในสารเคมีชนิดต่างๆ คือ น้ำกลั่น (ชุดควบคุม) โพแทสเซียมไนเตรท 1, 2 และ 4 เปอร์เซ็นต์ เอทธิฟอน 15, 30 และ 60 มิลลิกรัมต่อลิตร กรด แอสคอร์บิก 100 , 200 และ 400 มิลลิกรัมต่อลิตร โซเดียมฮโปคลอไรต์ 0.5, 1 และ 2 เปอร์เซ็นต์ กรดจิบเบอเรลลิก 0.05, 0.1 และ 0.2 เปอร์เซ็นต์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.025, 0.05 และ 0.1 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำมาเพาะในวัสดุปลูก พบว่าสารเคมี ทุกชนิดช่วยเพิ่มอัตราการงอกของเมล็ดมะขามป้อมและผักเสี้ยวป่าได้ โดยที่สารละลายสาร โพแทสเซียมไนเตรท 1 เปอร์เซ็นต์และสารละลายฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.05 และ 0.1 เปอร์เซ็นต์ทำให้มะขามป้อมมีเปอร์เซ็นต์การงอกมากกว่ากรรมวิธีอื่นๆ (86.67, 86.67 และ 80 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) และสารละลายกรดจิบเบอเรลลิก 0.1 และ 0.2 เปอร์เซ็นต์และ สารละลายโพแทสเชียมไนเตรท 1 เปอร์เซ็นต์ทำให้เมล็ดผักเสี้ยวป่ามีเปอร์เซ็นต์การงอก มากกว่ากรรมวิธีอื่นๆ (90, 86.67 และ 83.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ) ในขณะที่เมล็ดผักเสี้ยวป่า และมะขามป้อมในชุดควบคุมมีอัตราการงอก 6.67 และ 16.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากมะขามป้อม มะกอกป่า ยอดข้าวแก้ว และลูกหว้า โดยใช้เอทานอล (Ethanol) ในการสกัดสารและใช้เทคนิค ABTS (2,2/-Azino-bis (3-ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid)ในการตรวจวัดปริมาณฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่ง เทคนิค ABTS อาศัยหลักการยับยั้งการเกิดสีของ ABTS ในปฏิกิริยาของ Peroxidase activity ของ Metmyoglobin และ Hydrogen peroxide (H:02) ภายในเวลา 20 นาที และตรวจวัดค่าการ ดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 734 นาโนเมตร เปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน Trolox ซึ่งแสดงใน ค่าของ TEAC (Trolox Equivalent Antioxidant Capacity) จากการศึกษาพบว่าชนิดของพืชที่ แตกต่างกันทำให้ปริมาณฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้พบปริมาณฤทธิ์ ด้านอนุมูลอิสระ (TEAC) ตั้งแต่ 2.53-10.63 mmole Trolox 1 g พืชสด โดยสารสกัดมะข้าม ป้อมมีปริมาณฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด (10.63 mmole Trolox(g พืชสด) รองลงมาได้แก่ ลูก หว้า (8.90 mmole Troloxg พืชสด) ยอดข้าวแก้ว (5.27 mmole Troloxg พืชสด) ตามลำดับ ขณะที่สารสกัดจากมะกอกป่ามีปริมาณฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระต่ำที่สุด (2.53 mmole Troloxg พืชสด) และจากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากพืช ตัวอย่างทั้ง 4 ชนิด ด้วยเครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC) โดยใช้ คอลัมม์ชนิด C18 และตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 280 นาโนเมตร ที่อัตราการไหลเท่ากับ 0.50 มิลลิสิตรต่อนาที พบว่าลูกหว้ามีปริมาณ Catechin Tannic acid และ Trolox สูงที่สุด โดยมี ปริมาณ 20, 27,614 และ 29,779 mmole Troloxg พืชสด ตามลำดับ และมะข้ามป้อมพบ Tannic acid และ Trolox โดยมีปริมาณ 21,127 และ 131 mmole Trolox/g พืชสด ตามลำดับ ขณะที่มะกอกป่าจะพบเฉพาะ Tannic acid (3,703 mmole Trolox/g พืชสด) และยอดข้าวแก้ว พบเฉพาะ Trolox (1,282 mmole Trolox/g พืชสด) การศึกษาเพื่อสำรวจคุณสมบัติของดินและธาตุอาหารพืชในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช ของเขื่อนภูมิพลในเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นที่ 1 3 แล: 4 โดยเก็บตัวอย่างดินและพืชในแต่ ละเส้นทาง ๆ ละ 9 จุดๆ ละ 5 ซ้ำ พบว่า ความหนาแน่นรวมของดิน ปฏิกิริยาของดิน ปริมาณ อินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ธาตุฟอสฟอรัสที่สกัดได้ ธาตุโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยน ได้ ธาตุแคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ธาตุแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ อยู่ระหว่าง 4.1-5.3 g/cm , 5.9-6.6, 12.53-15.54%, 3.08-3.93%, 4.54-5.82 ppm, 70.56-100.72 ppm, 2,6106- 3,123 ppm และ 280-450 pm, ตามลำดับ และการวิเคราะห์พืช พบว่า มีปริมาณในโตรเจน ทั้งหมด ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด และปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมด อยู่ระหว่าง 1.26-1.78%. 0.17-0.22% และ 1.71-1.98%, ตามลำดับ ดังนั้นดินในพื้นที่จึงมีระดับความอุดมสมบูรณ์อยู่ใน ระดับปานกลาง การประเมินความเสี่ยงของระบบนิเวศทางน้ำบริเวณพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนภูมิ พล จังหวัดตาก โดยการประยุกต์ใช้โครงข่ายเบย์เซียน โดยการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ข้อมูล ปัจจัยคุณภาพน้ำที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำและใช้ข้อมูลทุติยภูมิกับความคิดเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเสี่ยงของแหล่งน้ำ ผลการศึกษาพบว่คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ ของพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนภูมิพลอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังคือปรึมาณ ออกซิเจนที่ละลายในน้ำโดยเฉพาะในฤดูแล้ง ปริมาณฟอสเฟต แอมโมเนีย และบีโอดี โดย แหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงต่อการเสื่อมโทรมมากคือแหล่งน้ำในเส้นทางสำรวจที่ 1 อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงของระบบนิเวศยังอยู่ในระดับต่ำแต่ควรมีการจัดการเช่นการรักษาระดับน้ำในช่วงฤดู แล้ง โดยการสร้างฝายชะลอน้ำ ส่วนในแหล่งน้ำนิ่งควรมีแผนการจัดการคุณภาพน้ำเช่นการ เพิ่มปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำเพื่อเร่งการย่อยสลายสารอินทรีย์และเป็นออกซิเจน สำหรับใช้ในการหายใจของสัตว์น้ำ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ชุมชนที่อยู่บริเวณท้ายเขื่อนแม่ปิง ตอนล่าง ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของเขื่อน เป็นตัน การศึกษาศักยภาพที่ทางานอาหารและพลังงานของสาหร่ายที่พบในเขตพื้นที่ตอนบน ของประเทศไทย ซึ่งได้ทำการศึกษาแหล่งน้ำที่มีการเจริญของสาหร่าย 6 แหล่ง ในเขตพื้นที่ จังหวัดพะเยา จังหวัดเชียงราย และจังหวัดน่าน พบว่าสาหร่ายไก Cladophora sp. ที่พบในเขต พื้นที่ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย มีศักยภาพที่ทางด้านคุณค่าทางโภชนาการ ด้านรงค วัตถุและศักยภาพที่ทางด้านพลังงานสูงที่สุด โดยพบว่มีปริมาณโปรตีนสูง 32.33+0.4 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก และเส้นใยมากถึง 14.93+0.1 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักในต้านศักยภาพที่ ทางต้านรงควัตถุพบว่ามีปริมาณคลอโรฟิลส์ เอ และ บี สูงที่สุด 2.42t0.0 และ 8.18#0.0 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับส่วนศักยภาพที่ทางด้านพลังงานของสาหร่าย พบว่ามีปริมาณ น้ำมันชีวภาพที่มากถึง 6.70+0.14 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสาหร่ายเตา Spirogyro sp. ที่พบในเขตพื้นที่ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยามีศักยภาพที่ทางค้านการยับยั้งอนุมูลอิสระสูงที่สุด โดยพบว่มีค่า C., ในการยับยั้งอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS 1.91 ไมโครกรัมต่อมิลสิสิตร และการยับยั้งอนุมูล อิสระด้วยวิธี DPPH ที่ 4.95 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร อย่างไรก็ตามสาหร่าย Microcystis ceruginosa ถึงแม้ว่าไม่เหมาะสมในการนำมารับประทาน แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ทางต้านพลังงาน เนื่องจากพบว่ามีปริมาณน้ำมันชีวภาพที่มาก
บทคัดย่อ (EN): Mushroom were collected in Bhumibol Dam plant genetic conservation area, Tak Province during January to November 2012. The objectives of this research were to studied the bio-diversity of mushrooms and identified edible and inedible mushrooms. These fungi were identified by using morphological characteristics. Twenty two species were reported comprising six edible and 16 inedible. All of them were divided into four groups according to their roles and functions in the forest ecosystem, namely, saprophytic mushrooms 15 species, ectomycorrhizal mushrooms one species, termite mushrooms one species, plant parasitic mushrooms one species. Bjerkandera adusta and Schizophyllum commune were the dominant species in this area.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ระยะที่ 2
มหาวิทยาลัยพะเยา
30 กันยายน 2555
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ฐานข้อมูลจีโนไทป์ของเชื้อพันธุกรรมพืชตระกูลแตง โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ การทดลองปลูกขยายพันธุ์พืชบางชนิด ที่สำรวจพบในพื้นที่ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา อ.เมือง จ.พะเยา การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : ความหลากหลายทางพันธุกรรม โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยา : กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช แนวโน้มตลาดอาหารเสริมสุขภาพจากพืช

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก