สืบค้นงานวิจัย
การผลิตดอกเบญจมาศของเกษตรกร
เสวก สายสูง - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การผลิตดอกเบญจมาศของเกษตรกร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เสวก สายสูง
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกดอกเบญจมาศจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาสภาพการผลิต และการใช้เทคโนโลยีการผลิตดอกเบญจมาศของเกษตรกรผู้ปลูกดอกเบญจมาศจังหวัดเชียงราย 3) เพื่อศึกษาการตลาดดอกเบญจมาศของเกษตรกร ผู้ปลูกดอกเบญจมาศจังหวัดเชียงราย 4) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการผลิตดอกเบญจมาศของเกษตรกรผู้ปลูกดอกเบญจมาศจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกเบญจมาศทั้งหมดของจังหวัดเชียงราย จำนวนทั้งสิ้น 39 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าการแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าเปอร์เซ็นต์ (Percentage) ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมพบว่า เพศของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย 39 คน คิดเป็นร้อยละ 94.87 ระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถามจะอยู่ที่ระดับ มศ.1-3 (ม.1-3) มากที่สุด คือ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 38.47 ในครอบครัวหนึ่ง ๆ จะมีผู้ที่ทำงาน 2 คนมากที่สุด คือ 15 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 38.47 คนที่ทำงานเกี่ยวกับการปลูกดอกเบญจมาศครอบครัวละ 1 คนมีมากที่สุดคือ 12 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 30.77 ส่วนในด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจเกษตรกรผู้ปลูกดอกเบญจมาศ พบว่าส่วนใหญ่จะทำอาชีพทำสวนไม้ดอกไม้ประดับมากที่สุด 33 คน คิดเป็นร้อยละ 84.62 เกษตรกรประกอบอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศเป็นอาชีพหลักเป็นส่วนใหญ่ และปลูกดอกเบญจมาศตลอดทั้งปี เกษตรกรทุกคนใช้กระแสไฟฟ้าจากทางราชการและไม่มีปัญหาในการใช้ไฟฟ้า ในด้านข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรพบว่าพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรทุกคนได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน และปลูกโดยใช้พันธุ์เบญจมาศแบบดอกช่อเพียงพันธุ์เดียว สิ่งที่เกษตรกรใช้ในการปรับสภาพดินมากที่สุดคือ โดโลไมด์ เกษตรกรจำนวน 38 คน ใช้อินทรีย์วัตถุผสมดินในการปลูก ระยะปลูกของการปลูกแบบไม่เด็ดยอด (ดอกเดียว) เกษตรกรจะใช้ระยะปลูก 15 X 15 ตารางเซนติเมตร ระยะปลูกของการปลูกแบบเด็ดยอด (ดอกเดียว) เกษตรกรจะใช้ระยะปลูก 10 X 20 ตารางเซนติเมตร หลังจากปลูก เกษตรกรใช้ตาข่ายเหลืองในการพยุงลำต้น และจะรดน้ำแปลงปลูกดอกเบญจมาศในช่วงเช้า ก่อนที่จะปลูกเบญจมาศ เกษตรกรจะใช้ปุ๋ยรองก้นหลุม มีการให้แสงไฟเพื่อป้องกันดอกเบญจมาศสร้างตาดอกในช่วงวันสั้น คือ เดือนกันยายน-มีนาคม ในการตัดดอกเพื่อจำหน่าย เกษตรกรทำการตัดในช่วงที่กลีบดอกชั้นนอกบานเต็มที่ หรือประมาณร้อยละ 75 และก่อนที่เกสรตัว ผู้หรือกลีบดอกชั้นในจะบานในการตัดดอกเพื่อจำหน่าย เกษตรกร 36 คน ทำการตัดใน ช่วงที่กลีบดอกชั้นนอกบานเต็มที่ ในการตัดดอกเกษตรกร จะตัดดอกให้ช่อดอกยาว 70-75 เซนติเมตร และให้เหลือตอไว้สูง 10 เซนติเมตร และหลังตัดจะแช่ในน้ำสะอาดให้เร็วที่สุด เก็บไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ในด้านข้อมูลเกี่ยวกับการตลาดพบว่า เกษตรกรเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกและจำหน่ายดอกเบญจมาศ การคัดขนาดเข้ากำของดอกเบญจมาศ จะคัดที่ขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 75 เซนติเมตร และน้ำหนักโดยเฉลี่ย 1,000 กรัม ช่องทางการจัดจำหน่ายโดยมีผู้ซื้อมารับเองที่สวนตลาดที่เกษตรกรนำผลผลิตไปจำหน่ายมากที่สุดได้แก่ ในจังหวัด ต้นทุนการผลิตดอกเบญจมาศโดยเฉลี่ยราคา 30 บาทต่อราคาจำหน่ายดอกเบญจมาศโดยเฉลี่ยราคา 40-45 บาทต่อกำ เกษตรกร ส่วนใหญ่ไม่พอใจกับราคาขาย ต้นทุน และกำไร ของดอกเบญจมาศ ปัญหาและอุปสรรคในการผลิตเบญจมาศ พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่า ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น วัสดุในการเพาะปลูกมีราคาแพงขึ้นทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น แมลงมีมากขึ้น แรงงานไม่เพียงพอ ส่วนข้อเสนอแนะเกษตรกรให้ช่วยในเรื่องค่าไฟฟ้า และหาพันธุ์ใหม่ ๆ มา ให้ปลูก ข้อเสนอแนะจากการวิจัย จากการสนทนากับประชากรทีทำการศึกษาพบว่าเกษตรกรต้องการความช่วยเหลือจากทางราชการหลายด้านเช่น นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตโดยลดค่ากระแสไฟฟ้าในกรณีพิเศษ ซึ่งทางราชการเคยสนับสนุนแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไป ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรจะมีการวิจัย เรื่องต้นทุนการผลิตของการปลูกดอกเบญจมาศในปัจจุบัน เพราะงานวิจัยที่แล้วมาอาจจะทำไว้นานแล้ว แต่จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปย่อมทำให้ต้นทุนเปลี่ยนแปลงได้ ควรจะมีการวิจัยในเรื่องช่องทางการตลาด ของดอกเบญจมาศเพื่อจะได้เพิ่มโอกาสทางการตลาดของเกษตรกรให้มากขึ้น และควรจะมีการปรับปรุงพันธุ์เบญจมาศและหาวิธีการลดต้นทุนจากเรื่องใช้ไฟฟ้าในการผลิต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดเชียงราย
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การผลิตดอกเบญจมาศของเกษตรกร
เสวก สายสูง
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ความต้องการของเกษตรกรต่อการผลิตและการตลาดเบญจมาศในจังหวัดนครราชสีมา วิธีการผลิตและปัญหาการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตและพัฒนาคุณภาพดอกเบญจมาศเพื่อการค้า ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดดอกเบญจมาศ โครงการย่อยที่ 3 การศึกษาตลาดคู่แข่ง วิเคราะห์ศักยภาพในการผลิตเบญจมาศ สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ชุดโครงการศึกษาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดดอกเบญจมาศ โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาการจัดการธาตุอาหารเบญจมาศ ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตเบญจมาศบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การศึกษาวิธีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวดอกเบญจมาศเพื่อลดการสูญเสีย 2 การเพิ่มประสิทธิผลของดอกเบญจมาศโดยการใช้แสงประดิษฐ์ สภาพการผลิตเบญจมาศของเกษตรกรในจังหวัดหนองคาย : กรณีศึกษาเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเบญจมาศตัดดอก ปี 2546

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก