สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาข้าวก่ำเพื่อการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง
กรวรรณ ศรีงาม - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาข้าวก่ำเพื่อการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง
ชื่อเรื่อง (EN): The development of purple rice for prevention and treatment of chronic diseases
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรวรรณ ศรีงาม
คำสำคัญ: สารออกฤทธิ์สำคัญ ก่ำดอยสะเก็ด ก่ำน่าน ก่ำพะเยา
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “การพัฒนาข้าวก่ำเพื่อการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง” แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี นางสาวกรวรรณ ศรีงาม เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทดสอบการปลูกและขยายพันธุ์ข้าวเหนียวก่ำ จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ ก่ำดอยสะเก็ด ก่ำน่าน และก่ำพะเยา 2) ศึกษาชนิดและปริมาณองค์ประกอบทางเคมีของสารออกฤทธิ์สำคัญของสารสกัด และ 3) ศึกษาความคงตัวของสารสำคัญของสารสกัดหยาบและสารกึ่งบริสุทธิ์ในผลิตภัณฑ์สุดท้ายเพื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ในการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง จากการศึกษาวิจัย พบว่า สารสกัดหยาบเมทานอลจากส่วนของข้าวกล้องจากข้าวก่ำ ทั้ง 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ก่ำดอยสะเก็ด ก่ำน่านและ ก่ำพะเยาะ ให้สารออกฤทธิ์ที่มีผลดี สารสกัดหยาบเมทานอลของข้าวก่ำ ซึ่งสกัดจากส่วนของข้าวกล้องทั้งสามพันธุ์มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากและเซลล์มะเร็งตับได้ดี และมีฤทธิ์ในการยับยั้งภาวะข้อเสื่อม การตายของเซลล์ประสาทที่เหนี่ยวนำโดยเบต้าอะไมลอยด์ และลดภาวะดื้ออินซูลินของเซลล์ไขมันที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนสารสกัดหยาบไดโครมีเทนจากข้าวก่ำน่าน มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพของเซลล์ไขมัน และมีผลต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการกระตุ้นการทำงานของเอ็นเคเซลล์ ในสารสกัดหยาบเมทานอลของข้าวก่ำทั้ง 3 สายพันธุ์ มีสารองค์ประกอบทางเคมีหลัก ได้แก่ สารกลุ่มฟีนอลโดยรวม และสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และพบปริมาณสารแอนโธไซยานิน ได้แก่ Cyanidin-3-o-glucoside  (C3G) และ Peonidin-3-o-glucoside (P3G) มีปริมาณสูงสุดในสารสกัดจากก่ำพะเยา 7.75 mg/g รองลงมา คือ ก่ำน่าน 5.79 mg/g ต่ำสุดคือ ก่ำดอยสะเก็ด 4.47 mg/g  เมื่อนำสารสกัดหยาบทั้งไดโครมีเทนและเมทานอลมาศึกษาความคงสภาพของสาร โดยมีสภาวะการเก็บรักษาที่ 4 15 30 45 oC ที่ระยะเวลา 1 3 6 12 เดือน พบว่า สารแอนโธไซยานินในสารสกัดหยาบที่สกัดจากรำข้าวภายใต้อุณหภูมิ 4oC ได้นาน 12 เดือน มีปริมาณเหลือ 3-5 % ส่วนอุณหภูมิที่ 45oC อายุการเก็บ 3 เดือน ไม่พบสารแอนโธไซยานิน ส่วนสารสกัดไดโครมีเทน พบว่าที่อุณหภูมิ 4 และ 15oC สามารถเก็บรักษาปริมาณสาร Tocopherols และ Gamma oryzanol ได้ถึง 12 เดือน เมื่อแยกส่วนประกอบของเมล็ดข้าวของข้าวก่ำทั้งสามสายพันธุ์ แยกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ รำ เมล็ดขัด เปลือกข้าว พบว่าในสารสกัดหยาบเมทานอลจากเปลือกข้าว เป็นแหล่งของสารกลุ่มฟีนอลรวม  และสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ แต่มีสารแอนโธไซยานินน้อยกว่า ส่วนข้าวกล้อง ซึ่งสามารถแยกได้เป็น รำและเมล็ดขัด ในเมล็ดขัดเป็นส่วนของแป้ง สารออกฤทธิ์จะพบในรำข้าว ซึ่งพบว่ามีทั้งสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ สารกลุ่มฟีนอลโดยรวม สารกลุ่มแอนโธไซยานินรวมทั้งวิตามินอี แกมม่าโอไรซานอลจะมีอยู่ในรำข้าวสูงที่สุด ดังนั้น มีแนวทางในการนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เป็นอาหารเสริม เพื่อผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบแคบซูลเพื่อง่ายในการบริโภค แต่ต้องหาขบวนการในการเก็บรักษาให้สารคงสภาพต่อไป           ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานวิจัยได้องค์ความรู้พื้นฐานที่ได้จากภาคการผลิตและการสกัดรวมถึงการศึกษาความสภาพคงตัวสารออกฤทธิ์สำคัญ เพื่อการพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เช่น น้ำมันรำข้าวก่ำ หรือแคบซูลสารสกัดข้าวก่ำ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-09-28
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-27
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาข้าวก่ำเพื่อการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
27 กันยายน 2557
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การพัฒนาข้าวก่ำเพื่อการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนาข้าวก่ำเพื่อการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง ผลของระยะปักดำต่อผลผลิตและการเป็นโรคจู๋ของข้าว การพัฒนาสารสนเทศเพื่อการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ การวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดอัตราการขัดสีข้าว โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโรคใบขาวของอ้อย คุณภาพข้าวสุกจากการผสมข้าว กข 23 และ ชัยนาท 1 ในขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก