สืบค้นงานวิจัย
การสร้างเครื่องผลิตและการพัฒนากระบวนการผลิตข้าวเม่าเพื่ออุตสาหกรรมขนาดเล็ก และขนาดย่อม
เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์ - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การสร้างเครื่องผลิตและการพัฒนากระบวนการผลิตข้าวเม่าเพื่ออุตสาหกรรมขนาดเล็ก และขนาดย่อม
ชื่อเรื่อง (EN): Fabrication of producing machine and process development of Khao Moa for Small and Medium Enterprises
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เชาว์ อินทร์ประสิทธิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ข้าวเป็นผลผลิตหลักของประเทศไทย โดยประเทศไทยมีการส่งออกข้าวมากที่สุดในตลาดค้าข้าวเป็นระยะเวลานาน แต่การส่งออกส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบข้าว ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวสาร และข้าวนึ่ง โดยประเทศไทยมีภูมิปัญญาท้องถิ่นแปรรูปข้าวสำหรับทุกระยะการเจริญเติบโตและทุกส่วนประกอบของข้าว ตัวอย่างเช่น การทำขนมข้าวยาคูจากต้นข้าวอ่อน ข้าวเม่า ข้าวตอก ข้าวตัง ข้าวแตน และข้าวคั่ว อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปดังกล่าว ผลิตและบริโภคในท้องถิ่นโดยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ และเทคโนโลยีขั้นต้นอย่างง่าย ทำให้สามารถผลิตได้ปริมาณน้อย การจำหน่ายและการบริโภคจึงไม่แพร่หลาย แต่หากเพิ่มกำลังการผลิต จะประสบปัญหาต้นทุนการขนส่งและต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้าวเม่า (Kaomao) เป็นผลิตภัณฑ์ข้าวแปรรูปพื้นเมืองที่มีความน่าสนใจ โดยทำจากเมล็ดข้าวเหนียว หรือเมล็ดข้าวเจ้า แต่ส่วนใหญ่มักทำจากเมล็ดข้าวเหนียวเพราะเมล็ดข้าวเจ้าแข็ง ตำยาก เมล็ดข้าวไม่สวย สำหรับการผลิตข้าวเม่า เริ่มจากเลือกรวงข้าวที่แก่จัด (สังเกตจากรวงข้าวเริ่มโค้งเนื่องจากมีน้ำหนักมากหรืออาจแกะเมล็ดข้าวมาตรวจพินิจ) นวดเมล็ดออกจากรวงข้าวนำกระด้งมาใส่เมล็ดข้าว ฝัดเมล็ดข้าวเพื่อคัดเอาเมล็ดที่ลีบออกให้หมด จากนั้นนำเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ใส่ภาชนะ แช่น้ำ ก่อนนำเมล็ดข้าวไปคั่วด้วยไฟความร้อนสูง พร้อมกับคนเมล็ดข้าวตลอดเวลาให้ได้รับความร้อนทั่วถึง ใช้เวลาคั่วประมาณ 15-20 นาที หรือสังเกตจากการที่เมล็ดข้าวเริ่มแตก จากนั้นนำเมล็ดข้าวคั่วมาใส่ครกและตำเอาเปลือกข้าวออก ประมาณ 15 นาที หรือจนกว่าเปลือกจะหลุดออกจากเมล็ด ซึ่งจะได้เมล็ดข้าวลักษณะแบน สำหรับขั้นตอนการตำข้าวจะใช้กำลังแรงมากและใช้เวลานาน จึงมักใช้แรงงานชาย หลังจากตำข้าวที่ผ่านการคั่ว นำเมล็ดข้าวมาใส่กระด้ง ฝัดเพื่อแยกเอาเปลือกออก จะได้ข้าวเม่าพร้อมบริโภค ถ้าทำเสร็จสุกใหม่ ข้าวเม่าจะนิ่มและหอมสามารถบริโภคทันที หรือนำไปคลุกเคล้ากับมะพร้าวและน้ำตาลทราย หรือ ทำข้าวเม่าทอด หรือ ข้าวเม่าหมี่ ทั้งนี้กระบวนการผลิตข้าวเม่าจากข้าวเปลือกแก่จัดแบบดั้งเดิม แสดงในภาพที่ 1 สำหรับกระบวนการผลิตข้าวเม่าอาจแตกต่างกันตามพื้นที่ ตัวอย่างเช่น การผลิตข้าวเม่าของเกษตรกรบ้านสว่าง ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี มีแนวคิดในการใส่ข้าวที่ผ่านการคั่วในถุงสีขาว และทุบเพื่อให้เปลือกข้าวแตกออก เนื่องจากในชุมชนไม่มีครกไม้ที่จะใช้ตำข้าวเม่า และขาดแคลนช่างที่ชำนาญในการทำเครื่องมือและเครื่องจักร ขาดแคลน จึงต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตข้าวเม่า โดยกระบวนการผลิตข้าวเม่าแบบใหม่นี้มีความสะดวกกว่าแบบเดิม และทำสืบทอดกันมากว่า 6 ปี แล้ว อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการทุบซึ่งชุมชนบ้านสว่างนำมาทดแทนการตำ จะแยกเป็น 1 ยกต่อการทุบประมาณ 100 ครั้ง โดยต้องทุบประมาณ 3 ยก จึงจะได้ข้าวเม่าที่พร้อมบริโภค แต่วิธีดังกล่าวมีข้อเสียคือ ไม่สามารถทำข้าวเม่าในปริมาณมากเพราะต้องใช้แรงงานคน โดยส่วนใหญ่ชุมชนจะทำข้าวเม่าเพื่องานบุญสังฆทานและเก็บไว้บริโภคในครัวเรือนเท่านั้น มิได้จำหน่ายเป็นธุรกิจ ชุมชนบ้านโพธิ์ศรี อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งผลิตข้าวเม่าที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุบลราชธานี และชุมชนสามารถผลิตข้าวเม่าจำหน่ายปริมาณมาก ทั้งจำหน่ายต่างอำเภอและต่างจังหวัดในช่วงเทศกาลออกพรรษา การผลิตข้าวเม่าในชุมชนนี้จะใช้ครกในการตำข้าวเม่า ซึ่งพบเห็นเกือบทุกครัวเรือน การผลิตข้าวเม่าของชาวชุมชนโพธิ์ศรี จะผลิตเป็นรายได้เสริมในช่วงก่อนถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว (ประมาณช่วงออกพรรษาของทุกปี) เนื่องจากการจำหน่ายข้าวเม่าจะทำรายได้ดีกว่าการขายข้าวสารเกือบเท่าตัว โดยข้าวเม่าแบบอ่อนจะจำหน่ายกิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนข้าวเม่าแบบแข็งจะจำหน่ายกิโลกรัมละ 60 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวสารซึ่งจำน่ายกิโลกรัมละ 16 - 20 บาท และปัจจุบัน ชุมชนมีการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทุ่นแรงในกระบวนการผลิตข้าวเม่าเกือบทุกขั้นตอน ยกเว้นขั้นตอนของการเก็บเกี่ยว เนื่องจากต้นข้าวจะล้มราบกับพื้น จึงจำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว สำหรับการตำข้าวเม่า ชุมชนโพธิ์ศรีจะใช้ครกในการตำข้าวเม่า หากครัวเรือนใดไม่มีครกก็จะเช่าครกบ้านอื่นราคากิโลกรัมละ 3 บาท การจำหน่ายข้าวเม่าของชุมชนบ้านโพธิ์ศรี จะจำหน่ายเกือบทุกอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี เช่น อำเภอเดชอุดม ตระการพืชผล ม่วงสาบสิบ และจำหน่ายตลาดพิบูลมังสาหาร นอกจากนี้ยังมีลูกค้ามารอรับซื้อในหมู่บ้านเพื่อนำไปทำบุญสังฆทานในช่วงเทศกาลใกล้ออกพรรษาด้วย โดยสามารถผลิตข้าวเม่าได้ ประมาณวันละ 50 - 80 กิโลกรัมทำให้มีรายได้ต่อครัวเรือนวันละประมาณ 1,500-2,000 บาท อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตข้าวเม่ามักไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะช่วงเทศกาลตักบาตรเทโว วันออกพรรษา
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การสร้างเครื่องผลิตและการพัฒนากระบวนการผลิตข้าวเม่าเพื่ออุตสาหกรรมขนาดเล็ก และขนาดย่อม
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
30 กันยายน 2557
การพัฒนากระบวนการผลิตและการออกแบบเครื่องผลิตข้าวเม่าเพื่ออุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดย่อม การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวของชุมชน ตำบลเบิกไพร จังหวัดราชบุรี การพัฒนากระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้ได้มาตรฐานสากล เครื่องย่อยเศษกิ่งไม้ขนาดเล็ก การขยายขนาดกำลังการผลิตและควบคุมคุณภาพการผลิตข้าวเม่าแห้ง การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบมีส่วนร่วม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การปรับปรุงกระบวนการผลิตปุ๋ยชีวภาพโรงงานขนาดเล็กในจังหวัดพัทลุง การพัฒนากระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้ข้าวเม่าเพื่อประโยชน์เชิงสุขภาพ การขยายขนาดกำลังการผลิตและควบคุมคุณภาพการผลิตข้าวเม่าแห้ง การศึกษาการผลิตอาหารสุนัข

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก