สืบค้นงานวิจัย
การใช้ยิปซั่ม ซิลิคอน และปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งฟาร์มสุกรร่วมกับผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดอำนาจเจริญ
ยุทธสงค์ นามสาย, สุวรรณภา บุญจงรักษ์, ยุทธสงค์ นามสาย, สุวรรณภา บุญจงรักษ์ - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: การใช้ยิปซั่ม ซิลิคอน และปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งฟาร์มสุกรร่วมกับผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดอำนาจเจริญ
ชื่อเรื่อง (EN): The use of Gypsum, Silicon and organic fertilizer pellets of Sludge cake from pig farm and product development to Rice yield in saline areas in Amnatchareon province.
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ระหว่างปี 2558-2560 กลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน สพข.4 ได้ดำเนินการศึกษาการใช้ยิปซัม ซิลิคอน และปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งฟาร์มสุกร ร่วมกับผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดอำนาจเจริญ พื้นที่บ้านโพนเมืองน้อย ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ วางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) มี 4 ซ้ำ 5 ตำรับทดลอง ประกอบด้วย 1.) วิธีเกษตรกร (ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว) 2.) ยิปซัมอัตรา 200กก./ไร่+ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง 3.) ซิลิคอนอัตรา 100กก./ไร่+ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง 4.) ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำเสียฟาร์มสุกร อัตรา 500 กก./ไร่ และ 5.) ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำเสียฟาร์มสุกร อัตรา500 กก./ไร่ +ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง ผลการทดลองพบว่าการใช้วัสดุปรับปรุงดิน เช่น ยิปซัม ซิลิคอน และปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำเสียฟาร์มสุกร โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน โดยตำรับที่มีการใส่ยิปซัม ซิลิคอน มีค่า pH เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น โดยมีค่า pH 5.8 ทั้งสองตำรับ แต่การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร ค่า pH ไม่เปลี่ยนแปลงจากก่อนการทดลอง ซึ่งมีค่า 5.3 สำหรับปริมาณอินทรียวัตถุ (%OM) พบว่า เพิ่มขึ้นทุกตำรับทดลอง โดยมีค่าระหว่าง 0.47-0.74% โดยตำรับที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร มีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นมากที่สุด เท่ากับ 0.74%ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มีค่าเพิ่มขึ้นทุกตำรับทดลอง โดยมีค่าระหว่าง 4-9mg/kg ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ พบว่ามีค่าเพิ่มขึ้นในตำรับที่ใช้ยิปซัม และซิลิคอน โดยมีค่าระหว่าง 23.0- 46.0mg/kg แต่มีค่าลดลงในตำรับที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งจากฟาร์มสุกร โดยมีค่าระหว่าง 18.0- 19.0mg/kg ผลผลิตข้าว พบว่า ตำรับที่ให้ผลผลิตดีที่สุดคือ ตำรับที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากกากตะกอนบ่อน้ำเสียฟาร์มสุกร อัตรา500 กก./ไร่ +ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 3 ปี 483 กิโลกรัม/ไร่ และเป็นผลผลิตที่แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับตำรับที่การใช้ซิลิคอน ยิปซัม และวิธีเกษตรกร โดยการใช้ซิลิคอน อัตรา 100 กก./ไร่+ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 448 กิโลกรัม/ไร่ และการใช้ยิปซัม ให้ผลผลิตเฉลี่ย 450 กิโลกรัม/ไร่ ขณะที่วิธีเกษตรกร (ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว) ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำสุด คือ 404 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่า ด้านต้นทุน พบว่า การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งฟาร์มสุกร อัตรา500 กก./ไร่+ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง มีค่าต้นทุนผันแปรสูงกว่าตำรับอื่น เฉลี่ย 3,678 บาท/ไร่ ส่วนวิธีเกษตรกร มีต้นทุนผันแปรต่ำสุด คือ 2,590บาท/ไร่ ด้านรายได้ พบว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งฟาร์มสุกร อัตรา500 กก./ไร่+ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง มีรายได้สูงที่สุด คือ 5,796 บาท/ไร่ ส่วนวิธีเกษตรกร มีรายได้ต่ำสุด คือ 4,848 บาท/ไร่ ด้านกำไรสุทธิ พบว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งฟาร์มสุกร อัตรา 500 กก./ไร่ มีกำไรสุทธิสูงที่สุด คือ 2,522 บาท/ไร่ ส่วนวิธีเกษตรกร มีกำไรสุทธิ 2,250 บาท/ไร่ ขณะที่การใช้ซิลิคอนอัตรา 100กก./ไร่+ปุ๋ยเคมีตามโปรแกรมปุ๋ยรายแปลงที่ต่ำกว่า มีกำไรสุทธิต่ำสุด 1,926 บาท/ไร่
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2560-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้ยิปซั่ม ซิลิคอน และปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดที่ผลิตจากกากตะกอนบ่อน้ำทิ้งฟาร์มสุกรร่วมกับผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวหอมมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดอำนาจเจริญ
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2560
ศึกษาการเจริญเติบโตของไม้ยืนต้นทนเค็มภายหลังการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำลำสะแทด การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ การเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายคราบเกลือบนผิวดินหลังจากการพัฒนา ดินเค็มแบบบูรณาการในพื้นที่ ตำบลด่านช้าง ตำบลขุนทอง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ดินเค็ม การศึกษาอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ผลของการจัดการดินในหลุมปลูกต่อการเจริญเติบโตของฝรั่งในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดร้อยเอ็ด ผลการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ต่างชนิดต่อผลผลิตข้าวนอกนา ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์สารเร่งพด.11 ต่อการเจริญเติบโต เพิ่มมวลชีวภาพโสนอัฟริกันที่มีต่อผลผลิตของข้าวที่ปลูกในพื้นที่ดินเค็ม อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์เคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวขาวดอกมะลิ 105

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก